การปรับตัวเพื่อรับมือกับการพนันภายในองค์กรเป็นอีกหนึ่ง ในหลายเรื่องที่ HR ต้องให้ความสำคัญ การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่วาจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติงานหรือนอกเวลาก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม ทำลายความสามัคคีในระหว่างหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลงและอาจทำให้บริษัท จำเลยได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง
พนักงานที่ติดพนันส่งผลเสียต่อองค์กร
- ลดทอนประสิทธิภาพการทำงาน
- เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล
- สร้างบรรยากาศที่ไม่เป็นมืออาชีพ
- ทำให้เกิดขโมยในออฟฟิศ
- ทำให้เกิดการลาออกแบบไม่ทันตั้งตัว
การเล่นการพนักในองค์กร เป็นการผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับการทำงาน และเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) การกระทำของพนักงานมิใช่เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยที่ทำให้เสียหายด้านชื่อเสียงต่อนายจ้างเพียงอย่างเดียว อันจะลงโทษได้โดยการตักเตือนเท่านั้น
เมื่อเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุที่ลุกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลสมควร การเลิกจ้างจึงไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ที่มา sanook.com