ทำสัญญา “ลาออกไม่ครบ 30 วัน ยอมให้หักเงิน” จริงๆแล้ว นายจ้างจะ หักเงิน ได้หรือไม่

           ในการทำสัญญาจ้างแรงงานอาจมีการตกลงกันหลายข้อ และหากพนักงานหรือลูกจ้างผิดสัญญาก็ยินยอมให้บริษัทนายจ้างหักค่าจ้างได้ เช่น ยินยอมในการหัก ค่าจ้างได้หากมีการละทิ้งหน้าที่ทำให้บริษัทเสียหายหรือ พนักงานลางานไม่แจ้ง หรือลาออกโดยไม่ยื่นใบลาออกก่อน 1 เดือน หรือ 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง

ถึงจะเขียนสัญญาว่า หากผิดสัญญาลูกจ้างยินยอมตกลงให้หักค่าจ้างได้ ก็ไม่สามารถหักได้ 
         พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 "ห้ามมิให้หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด"
การทำความตกลงที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายเท่ากับว่าเป็นการทำข้อตกลงให้ "ขัด" หรือ "แย้ง" กับกฎหมาย ข้อตกลงหักค่าจ้างจึงเป็นโมฆะ และมีความผิดอาญา
         เมื่อพนักงานมาทำงานมีสิทธิได้ค่าจ้าง เพราะสัญญาจ้างแรงงานเมื่อฝ่ายหนึ่งเอาแรงงานมาให้ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องจ่ายเงินตอบแทนแรงงาน การลาออกไม่เป็นไปตามสัญญา หากบริษัทนายจ้างเสียหาย ก็ฟ้องร้องได้ แต่สำคัญคือ "ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเสียหายอะไร"  จะคาดการณ์ หรือคิดเอาเองไม่ได้ เช่น ความเสียหายที่ว่าผลการดำเนินทางธุรกิจจะลดลง หรือการขาดพนักงานจึงทำให้คนจ้างน้อยลงเช่นนี้ไม่ใช่ความเสียหายที่แจ้งจริง ที่มองเห็นและพิสูจน์อันเป็นผลจากการลาออก

 

ที่มา กฎหมายแรงงาน