มาสายประจำ ระวังโดนเลิกจ้าง !!!

          ถึงแม้ว่าพนักงานจะมาทำงานสายตลอด แต่ตามกฎหมายแรงงานมาตรา 76 ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ,ค่าล่วงเวลา ,ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ถ้าจะมีการหักเงินหลักเกณฑ์จะมีอยู่ว่า

1. ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

2. ต้องทำหนังสือแจงรายละเอียดอย่างชัดเจน

3. การหักนั้นต้องเป็นไปเพื่อ …

  • ชำระภาษีเงิน
  • ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงาน
  • ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือหนี้สวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว
  • เป็นเงินประกัน หรือชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างตามมาตรา 10 กรณีลูกจ้างจงใจทำให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงฯ
  • เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม


          ปัญหามาสายเป็นปัญหาที่มีแทบทุกบริษัท นายจ้างบางรายเตือนลูกจ้างสองครั้ง เพราะเหตุมาสาย แล้วไล่ออกเลยก็มี ซึ่งอันนี้ทำได้แต่เสี่ยง  แต่ ถ้ามาสาย “เป็นประจำ” แม้จะเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงแต่ก็เข้าข่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 และเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 17 วรรคท้าย ที่ทำให้บริษัท หรือนายจ้างไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไปยังลูกจ้างก่อนที่จะมีหนังสือเลิกจ้างได้


          ถ้ามาสาย “เป็นประจำ” ฝ่ายบุคคลอาจจะเรียกมาคุยเพื่อสอบถามปัญหา ว่าเกิดจากอะไร ถ้าเป็นเหตุอันจำเป็นจริงๆ อาจจะทำบันทึกเปลี่นแปลงเวลาเข้างานเพื่อให้โอกาสในการทำงานต่อไป แต่ถ้าว่าดูทรงแล้ว การมาสายเกิดจากการประทำที่เกิดจากความไม่รู้จักรับผิดชอบตัวเอง เช่นนอนดึกเพราะดูซีรีย์ หรือเมาแล้วแฮงค์ แบบนี้ก็ควรออกหนังสือเตือนรอบแรกก่อนและระบุให้ครบว่า การมาสายนั้นส่งผลกระทบยังไงบ้าง  ทำให้การทำงานขัดข้องยังไง และเสียหายอย่างไร และถ้ายังประจำอยู่เรื่อยๆ ก็ออกหนังสือเลิกจ้างได้เลย

 

ที่มา คลินิกกฎหมายแรงงาน