3 พฤติกรรมผิดกฎหมายที่ "ลูกจ้าง" ห้ามทำ

          โลกการทำงานมีปัญหาอยู่แบบไม่จบสิ้น ไม่ใช่แค่กับตัวงานเท่านั้น แต่การบริหารบุคลากร “พนักงาน” ก็เป็นปัจจัยหลักที่สามารถชี้วัดว่าองค์นี้มีประสิทธิภาพขนาดไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กร หรือบริษัทยุคใหม่ที่มีลักษณะขนาดเล็กลง เป็นโฮมออฟฟิศ หรือที่เรียกว่าการทำงานแบบพี่น้อง ดังนั้นกฎเกณฑ์บางอย่างก็ถูกลดความสำคัญลง หรือแม้แต่ตำแหน่งลำดับงานก็มีความใกล้ชิดกันกว่าแต่ก่อน แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาก็ใช่ว่าจะเป็นช่องทางให้พนักงานหรือลูกจ้างหาช่องโหว่เอาเปรียบบริษัทจากความใกล้ชิดเหล่านี้ 

          น้องบีพลัสมี พฤติกรรมที่ลูกจ้างไม่ควรทำ ซึ่งเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย และมีสิทธิถูกไล่ออกได้โดยไม่รู้ตัวมาฝากกัน

1. เอาข้อมูลบริษัทไปให้คนภายนอก

การกระทำบางอย่างของลูกจ้าง หรือพนักงานอาจจะคิดว่าไม่ได้เสียหายอะไรมากนัก แต่ถ้าการแชร์ บอกต่อ บอกเล่าบางอย่างโดยเฉพาะส่วนที่เป็นความลับเฉพาะ หรือส่วนสำคัญที่ส่งผลกับบริษัทโดยตรง อาจจะเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย

มาตรา 322 ผู้ใดเปิดผนึกหรือเอาจดหมาย โทรเลข หรือเอกสารใด ๆ ซึ่งปิดผนึกของผู้อื่นไป เพื่อล่วงรู้ข้อความก็ดี เพื่อนำข้อความในจดหมายโทรเลขหรือเอกสารเช่นว่านั้นออกเปิดเผยก็ดี ถ้าการกระทำนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังสามารถถูกฟ้องทางแพ่ง ข้อหาละเมิดจากการกระทำที่ส่งผลให้บริษัทเสียหายได้

 

2. นินทานายจ้าง (แม้กระทั่งในไลน์)

การบ่น ด่า เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานในสถานประกอบนั้น ไม่เว้นแต่ในโซเชียลมีเดีย อาจเป็นได้ทั้งความผิดทางแพ่งและหรือทางอาญา รวมทั้งอาจถือเป็นความผิดทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างด้วย

มาตรา 326 ระบุไว้ดังนี้ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

3.ลักทรัพย์นายจ้าง

ข้อนี้ไม่ว่าใครก็ไม่ควรทำทั้งนั้น สำหรับการลักทรัพย์ของผู้อื่น 

มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

 

ข้อกฎหมายเสี่ยงถูกเลิกจ้าง แบบไม่ได้ค่าชดเชย

นอกจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายแล้ว ยังมีในส่วนของข้อจำกัดตามกฎหมายที่ลูกจ้างสามารถเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชยได้ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ระบุไว้ในกรณีใดกรณีหนึ่งตามนี้

1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

6. ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกคามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณีนี้ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

 

ที่มา bangkokbiznews