ระหว่างทำงานอยู่ก่อความเสียหายแก่นายจ้าง พอจะออกจากงานนายจ้างหักค่าจ้างได้หรือไม่ ?

 

ระหว่างทำงานอยู่ก่อความเสียหายแก่นายจ้าง พอจะออกจากงานนายจ้างหักค่าจ้างได้หรือไม่ ?

หลักการคือ กฎหมายห้ามมิให้หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และค่าทำงานในวันหยุด

ต่อมาลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างยังค้างจ่ายค่าจ้าง 1 เดือน เป็นเงิน 22,400 บาท ไปทวงแก่นายจ้าง นายจ้างอ้างว่าได้หักเป็นค่าความเสียหายที่ลูกจ้างได้ก่อขึ้นระหว่างการทำงาน นายจ้างจึงไม่จ่ายค่าจ้างจำนวนดังกล่าว

ศาลวินิจฉัยว่า ค่าจ้างตามกฎหมายนายจ้างไม่สามารถนำไปหักกลบลบหนี้อย่างใดได้ โดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม และแม้ระหว่างที่ลูกจ้างทำงานอยู่จะทำผิดระเบียบทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างก็ไม่สามารถอ้างเหตุดังกล่าวเพื่อไม่จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างได้

ข้อสังเกต

โดยปกตินายจ้างสามารถหักค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย (มาตรา ๗๖(๔)) โดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและให้ลกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมไว้ให้ชัดเจน (มาตรา ๗๗)

แต่คดีนี้เมื่อลูกจ้างออกจากงานไปแล้ว และไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยเป็นหนังสืออย่างชัดแจ้ง

ที่มา คำพิพากษาฎีกาที่ 5108/2561 และ เพจกฎหมายแรงงาน