ธุรกิจ Fashion/PC BA หมดห่วง...Business Plus HRM ช่วยให้การคำนวณค่าจ้างเป็นเรื่องง่าย

พนักงานผ่านทดลองงาน คำนวณคอมมิชชั่น หรือค่าเชียร์

  • ไม่ผิดพลาด ไม่ลืม วันครบทดลองงานพนักงานแต่ละคน โปรแกรมคำนวณวันอัตโนมัติ 
  • คำนวณคอมมิชชั่น หรือ ค่าเชียร์ จากยอดขายทันทีหลังโปรแกรมคำนวณว่าผ่านทดลองงาน  
  • ถ้ายังไม่ผ่านทดลองงาน บันทึกยอดขายเพื่อเก็บสถิติผลงานเพื่อลดงานฝ่ายบุคคล
  • คอมมิชชั่น หรือ ค่าเชียร์ สามารถกำหนดเป็นขั้นบันไดได้ เช่น 0-99,999 บาท  0% ,100,000-200,000 บาท 5%  เป็นต้น
Let's get started

 

รองรับวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่คงที่และตายตัวได้ เช่น

  • บันทึกเวลาเข้าออกที่บัตรตอก ส่งบัตรตอกเวลาทำงานเข้าสำนักงาน  โปรแกรมรองรับทั้งการบันทึกเข้าโปรแกรมตรง หรือบันทึกโดย EXCEL และนำเข้าไฟล์ EXCEL  เวลางานเข้าระบบ
  • ใช้เครื่องบันทึกเวลาทำงาน นำส่งไฟล์เวลาทำงานเข้าระบบ ทาง INTERNET หรือ FLASH DRIVE ส่งสำนักงาน
  • วันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานที่ทำงานประจำอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า หรือสาขา (Shop) แต่ละคนจะมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่คงที่และตายตัว เช่น ใน 1 สัปดาห์ อาจจะทำงานทั้ง 7 วันเลยก็ได้ แล้วอาจจะไปหยุดสัปดาห์ถัดไป 2 วันขึ้นอยู่กับงานและอัตรากำลังพลในแต่ละสาขาซึ่งผู้จัดการสาขา (Shop) ของแต่ละสาขาจะเป็นคนกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ของพนักงานเอง

 

การลาและการให้ทำ OT เป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้ วางแผนบริหารกำลังพลได้ล่วงหน้า

พนักงานสามารถบันทึกลาผ่านมือถือ

เพื่อขออนุมัติยังสายงานได้ โดยไม่ต้องบันทึกเอกสาร

พนักงานรับทราบการอนุมัติลาผ่านทางมือถือ

เพื่อความสะดวกเปิดอ่านได้ที่มือถือโดยไม่ต้องคอยติดตามมายังสำนักงาน

พนักงานทราบล่วงหน้าว่าวันใด ที่ต้องทำ OT เพิ่ม

เพื่อรองรับกำลังพลที่ลา หรือเพื่อช่วยงานขายพิเศษต่าง ๆเช่น ลดราคาประจำปี ลดราคาเทศกาลสำคัญ เป็นต้น  

หมดปัญหาในการคำนวณเงินพิเศษ จากยอดขาย เช่น คอมมิชชั่น, incentive ,ค่าเชียร์ และ ค่าเป้า

ส่งบัตรตอกเวลาทำงานเข้าสำนักงาน โปรแกรมรองรับทั้งการบันทึกเข้าโปรแกรมตรง หรือบันทึกโดย EXCEL และนำเข้าไฟล์ EXCEL  เวลางานเข้าระบบ

ค่าคอมชิ้นงาน

จ่ายตามอัตรา % กรณีที่สินค้าขายยากซึ่งจะจ่ายค่าคอมตามสินค้าแต่ละชิ้น เช่น ค่าคอมชิ้นละ 10% เป็นต้น 

ค่าคอมตามยอดขาย

จ่ายเป็นอัตรา % ตัวอย่างเช่น บริษัทตั้งเป้าว่าต้องทำยอดขายให้ได้ 100,000 บาท/เดือน โดยจ่ายคอมมิชชั่น ตามขั้น ดังนี้ 

  • 10,000-50,000 → 3%
  • 50,001-70,000 → 5%
  • 70,001-100,000 → 8% 

และถ้าได้ยอดเกินเป้าที่ตั้งไว้ จะได้ค่าเป้าเพิ่มอีก

การคำนวณเงินพิเศษ

จากยอดขายด้วยใน Excel นำผลลัพธ์ เข้าระบบ BUSINESS PLUS HRM

หมดปัญหาเรื่องเงินพิเศษ

เฉพาะพนักงาน Fashion/PC BA  ที่ทำงานประจำอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า หรือสาขา (Shop) เช่น ค่าพื้นที่  ค่าเดินทาง ค่าชำนาญการ ค่าอาหาร หรือ ค่าตำแหน่งแคชเชียร์

กำหนดค่าประจำให้กับพนักงาน

สามารถกำหนดค่าประจำให้กับพนักงานแต่ละคนแต่ละพื้นที่ในอัตราที่ต่างกันได้ในครั้งเดียวโดยไม่ต้องบันทึกทุกงวด เช่น

  • ค่าพื้นที่ และ ค่าเดินทาง เช่น 
    • ถ้าทำงานที่สาขาชิดลมจะได้ค่าเดินทาง 1,500 บาท ค่าพื้นที่ 2,000 บาท  
    • ทำงานที่สาขาแจ้งวัฒนะจะได้ค่าเดินทาง 500 บาท ค่าพื้นที่ 750 บาท  
  • ค่าชำนาญการบริษัทจะจ่ายค่าชำนาญการให้กับพนักงานตำแหน่งหัวหน้าอาวุโสเท่ากันทุกเดือน แต่จะจ่ายให้พนักงานในแต่ละสาขาไม่เท่ากัน เช่น 
    • ถ้าทำงานที่สาขาแจ้งวัฒนะได้ค่าชำนาญการ 1,000 บาท
    • ทำงานที่สาขาชิดลม ได้ค่าชำนาญการ 500 บาท 
  • ค่าตำแหน่งแคชเชียร์ จ่ายเป็นอัตราประจำให้กับพนักงานแคชเชียร์ที่ทำงานประจำอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า หรือสาขา (Shop)
กรณีที่ลาหรือขาดงาน

เงินพิเศษต่าง ๆ ถ้าพนักงาน กรณีที่ลาหรือขาดงาน สามารถเลือกกำหนดที่จะให้หรือจะหักออกจ่ายจริงตามจำนวนวันทำงานจริงได้ทั้ง 2 กรณี

ถ้าพนักงานเริ่มงานหรือลาออกระหว่างเดือน 

เงินพิเศษต่าง ๆ ถ้าพนักงาน เริ่มงานหรือลาออกระหว่างเดือน โปรแกรมสามารถเฉลี่ยค่าเป็นต่อวัน และจ่ายให้พนักงานตามจำนวนวันที่ทำงานในเดือนนั้นได้