มนุษย์เงินเดือนอย่าใจร้อน!
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนลาออกจากงานเดิม ถ้ายังไม่มีงานใหม่รองรับ
การตัดสินใจลาออกโดยไม่มีงานใหม่รองรับเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบ เพราะอาจส่งผลต่อชีวิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ก่อนตัดสินใจ ลองพิจารณาประเด็นสำคัญ ที่น้องบีพลัสคัดมาให้ดูก่อน
1. ความมั่นคงทางการเงิน หากเงินสำรองไม่พอ อาจต้องอดทนอยู่ที่งานเดิมสักระยะ พร้อมกับมองหางานใหม่ไปด้วย
🔹 คุณมีเงินสำรองพอสำหรับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3-6 เดือน หรือไม่?
🔹 มีหนี้สินหรือภาระทางการเงินที่ต้องรับผิดชอบอยู่หรือเปล่า?
🔹 หากยังไม่มีรายได้ใหม่ คุณมีแผนหารายได้เสริมหรือเงินลงทุนสำรองหรือไม่?
2. ผลกระทบต่อประวัติการทำงาน หากต้องลาออกจริง ๆ ควรมี เหตุผลที่ชัดเจนและสมเหตุสมผล เพื่ออธิบายในอนาคต เช่น ต้องการพัฒนาทักษะเพิ่มเติม หรือมีเหตุผลส่วนตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
🔹 หากลาออกบ่อยหรือมีช่องว่างในการทำงานเป็นเวลานาน อาจทำให้ เรซูเม่ดูไม่ดี ในสายตาของนายจ้างใหม่
🔹 บริษัทที่คุณอยากร่วมงานอาจสงสัยว่าทำไมคุณถึงลาออกโดยไม่มีงานรองรับ
3. ผลกระทบต่อสุขภาพจิต หากสุขภาพจิตได้รับผลกระทบหนักจนทำให้การใช้ชีวิตแย่ลง ลาออกอาจเป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องมีแผนสำรอง
🔹 หากงานเดิมส่งผลกระทบต่อ สุขภาพจิต อย่างรุนแรง เช่น เครียดเกินไป, ถูกกดดันหนัก, สภาวะแวดล้อมเป็นพิษ (Toxic Workplace) อาจเป็นเหตุผลที่สมควรลาออก
🔹 แต่ถ้าคุณสามารถหาวิธีจัดการกับความเครียดได้ เช่น ขอปรับบทบาท พูดคุยกับหัวหน้า หรือขอลาหยุดเพื่อพักผ่อน อาจช่วยแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรีบลาออก
4. โอกาสในการพัฒนาตนเอง หากคิดจะลาออก ควรวางแผนล่วงหน้า เช่น เรียนรู้ทักษะใหม่ พัฒนาความสามารถ หรือเริ่มทำโปรเจกต์เสริม เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานใหม่ที่ดีขึ้น
🔹 หากงานเดิมไม่มีโอกาสพัฒนา ไม่มีความก้าวหน้า หรือไม่ได้ใช้ศักยภาพของคุณเต็มที่ อาจเป็นสัญญาณว่าควรมองหางานที่ดีกว่า
🔹 อย่างไรก็ตาม หากคุณลาออกโดยไม่มีแผน อาจทำให้เวลาว่างกลายเป็นช่วงที่ ไม่มีเป้าหมาย และเสียโอกาสในการเติบโต
7 ข้อที่ต้องรู้ก่อนลาออก ต้องอ่านก่อนจะลาออก
ลาออกได้ แต่อย่าลาออกแบบไม่มีแผน!
หากพิจารณาแล้วว่ายังไม่พร้อม อาจอยู่ที่เดิมไปก่อน พร้อมกับมองหาทางเลือกใหม่ ค่อย ๆ เดินเกมอย่างมีสติ แล้วคุณจะพบโอกาสที่เหมาะสมกว่า
ที่มา มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่