สินค้าคงหเหลือ  ในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ  และสามารถแยกสภาพได้ดังนี้

  1. สินค้าคงเหลือสภาพปกติ หมายถึง  สินค้าคงเหลือที่อยู่ในสภาพพร้อมขาย  หรือสามารถนำไปใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ
  2. สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุด  หมายถึง  สินค้าคงเหลือที่มีสภาพเสื่อมชำรุด ล้าสมัย
    1.  สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุดแต่ยังขายได้
    2.  สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุดเสียหายจนไม่สามารถขายได้

          เมื่อกิจการมีสินค้าที่ล้าสมัย มีตำหนิ เสื่อมสภาพ หรือสินค้าที่ถูกทำลายจากธรรมชาติ กิจการอาจจำเป็นต้องตัดสินใจทำลายทิ้ง ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อไม่ให้ถือเป็นการขาย  ซึ่งการทำลายสินค้านั้นต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าและได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจ โดยต้องมีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีรวมถึงต้องให้ผู้สอบบัญชีทำการรับรองว่าสินค้านั้นได้ถูกทำลายจริงและมีสาเหตุที่ต้องทำลายอย่างเหมาะสม  ซึ่งแนวทางปฏิบัติได้กำหนดไว้แล้วตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 ฯ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งฯที่ ป.84/2542)ฯ และคำสั่งฯ ที่ ป.58/2538  ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้กำหนดแนวทางการทำลายสินทรัพย์ที่ชำรุดเสียหาย  แต่ได้กำหนดวิธีการตัดต้นทุนของสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ให้มาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้
          แต่หากกิจการไม่ต้องการทำลายสินค้านั้นๆ ทิ้ง แต่เลือกที่จะขายสินค้าที่ล้าสมัย มีตำหนิ หรือเสื่อมสภาพในราคาที่ต่ำกว่าราคาต้นทุนของสินค้า จะทำได้หรือไม่?

          หากกิจการจะขายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน  สินค้าใกล้หมดอายุหรือสินค้าหมดอายุแล้ว หรือสินค้าที่มีตำหนิหรือล้าสมัย ในราคาต่ำกว่าต้นทุนซึ่งถือเป็นการโอนทรัพย์สินนั้น ก็กระทำได้โดยต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กิจการกำหนดไว้  แลได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจของกิจการว่าเป็นสินค้าใหม่หมดอายุหรือสินค้าหมดอายุแล้ว  สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน  หรือสินค้าที่มีตำหนิหรือล้าสมัยพร้อมทั้งต้องมีบุคคลร่วมสังเกตการณ์  ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย  ฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชี  หรืออาจจะมีฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบด้วยก็ได้  โดยบุคคลที่ร่วมสังเกตการณ์ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการขาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี หากได้ทำตามที่กล่าวมานี้ก็อาจถือว่าเป็นฯการขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าทุน นั้นมีเหตุผลอันสมควร  สำหรับการทำลายสินทรัพย์หรือสินค้าดังกล่าวหากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามคำสั่งกรม สรรพากรที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ไม่ถือเป็นการจำหน่าย จ่ายโอนสินค้า และไม่ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่ได้ทำลายและตัด ออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือนั้น
         

          โดย สรุปก็คือ การทำลายสินค้าและสินทรัพย์ไม่ว่าจะโดยวิธีการตัดต้นทุนของสินทรัพย์ที่  เหลืออยู่หรือโดยการขายในราคาที่ต่ำกว่าทุนนั้น  จะต้องมีเอกสารประกอบเพื่อพิสูจน์ได้ว่าสินค้าหรือสินทรัพย์นั้นมีสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการขายหรือขายก็ได้ราคาต่ำกว่าราคาตลาด

               นอกจากนี้ยังต้องมีผู้สอบบัญชีและพยานผู้ให้การรับรองเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนตามคำสั่งกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่กิจการจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างสบายใจไม่ต้องระแวงว่าจะถูกตรวจสอบภายหลัง



ทความโดย : สรรพากรสาส์น
ประกาศบทความโดย : http://www.prosoftwinspeed.com

และ บทความโดย Link : https://www.cad.go.th/download/1_1_9.pdf