Q: กรณีที่พนักงานเกษียณอายุ แต่ยังเป็นพนักงานบริษัทจะต้องยื่น เอกสาร ภงด.1 โปรแกรมรองรับหรือไม่

A: ยังสามารถทำเงินเดือนและพิมพ์รายงานต่างๆของพนักงานได้ตามปกติ โดยระบบ BUSINESS PLUS HRM รองรับ การคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายเงินเกษียณพนักงาน /เงินเดือน และ รายได้อื่น 

ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย
1. ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน
2. ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
3. ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
5. ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน
6. ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 400 วัน

หลักการคำนวณภาษีเงินชดเชย : จะมีรายละเอียด ดังนี้
กรณีอายุงานไม่ถึง 5 ปี 
- ต้องนำเงินชดเชยที่ได้รับทั้งหมด ไปรวมคำนวณกับ 40(1)
- แล้วจ่ายภาษีก้อนเดียวกับเงินภาษีของเงินได้ปกติ
- ซึ่งจะทำให้เสียภาษีสูงกว่านำไปแยกยื่นภาษี
กรณีอายุงานเกิน 5 ปีขึ้นไป
- สามารถนำเงินได้มาแยกคำนวณภาษีตามมาตรา 48(5) 
- ตามเกณฑ์คำนวณภาษีของมาตรา 48(5) ภาษีจะน้อยกว่า

เงินที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีเงินชดเชย 
- เงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี : 
เงินชดเชยกรณีให้ออกจากงาน : สำหรับเงินก้อนนี้ตามกฎหมาย จะยกเว้นภาษีสูงสุด  300,000 บาท เช่น เงินชดเชย  450,000 บาท หักเงินยกเว้นภาษี 300,000 บาท คงเหลือ 150,000 บาท นำไปคำนวณภาษี
เงินชดเชยกรณีเกษียณอายุ : ตามกฎหมายจะไม่ได้รับยกเว้นภาษี 

- หักค่าใช้จ่าย : เป็นการนำเงินชดเชยที่ได้รับมาหักค่าใช้จ่ายก่อนที่จะนำไปคิดภาษี โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ค่าใช้จ่ายส่วนแรก = 7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน
ค่าใช้จ่ายส่วนสอง = (เงินชดเชยที่ได้รับ - ค่าใช้จ่ายส่วนแรก) x 50%

- เงินสุทธิหลังหักยกเว้นและหักค่าใช้จ่าย : ให้นำเงินสุทธิคงเหลือไปคำนวณหายอดภาษีตามตารางอัตราภาษีเงินได้เงินชดเชย