HOW TO ดูแลหัวใจคนทำงาน ที่ไม่ปล่อยให้ “พนักงาน” รู้สึกถูกทิ้งไว้ตัวคนเดียว

          หลายคนอาจจะสังเกตเห็นว่าตัวเองเริ่มหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หรือเครียดกับเรื่องหยุมหยิมแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาการเหล่านี้นี่แหละที่เป็นสัญญาณความพังของ “สุขภาพใจ” ถึงขนาดอาจทำให้หมดไฟทำงานได้แบบไม่รู้ตัว

          การปล่อยให้คนทำงานต้อง “ใจพัง” ไปก่อนคงไม่ใช่เรื่องดีสักเท่าไร หลายองค์กร ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการปัญหาตรงนี้ ต่างพากันหาวิธีบรรเทาความเครียด คลายความเหงาความโดดเดี่ยว และออกนโยบายต่างๆ เพื่อช่วยแบ่งเบาปัญหา ไม่ให้คนทำงานรู้สึกเหมือนถูกทิ้งไว้คนเดียว

 

Communication is a key  คอยสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ

การต้องอยู่ห่างกันทำให้ทุกคนไม่ค่อยมีโอกาสได้พบปะพูดคุย ไม่เพียงแค่ความไม่เข้าใจ ไม่ราบรื่นในการทำงาน แต่ยังหมายถึงความรู้สึกว้าเหว่ ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างไป ควรจัดให้มีการประชุมออนไลน์สั้นๆ ในช่วงเช้าทุกวัน ให้ทุกคนได้มาอัปเดตงานที่ทำ พร้อมช่วยรับฟังปัญหาและเสนอแนะวิธีแก้ไข รวมถึงสารทุกข์สุขดิบ อื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องงาน

 

Employee Engagemen   หากิจกรรมสนุกๆ ให้พนักงานคลายเครียด

การโฟกัสแต่เนื้องานที่ทำอย่างเดียว ยิ่งทำให้คนทำงานรู้สึกเครียดเป็นพิเศษ ควรหากิจกรรมพิเศษๆ มาให้คนทำงานได้เปลี่ยนบรรยากาศ หลุดออกจากโลกที่มีแต่เรื่องงาน 

 

Flexible Work Timing  ให้อิสระในการจัดสรรเวลาทำงานได้เอง

ไม่ใช่แค่ต้องดูแลตัวเอง แต่พนักงานบางส่วนยังมีภาระต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยร่วมกัน ซึ่งอาจทำให้ใช้สมาธิกับการทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรมีนโยบายเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ให้พนักงานสามารถจัดสรรเวลางานได้เอง

 

Fund for Employee   มีนโยบายช่วยเหลือด้านการเงิน

โรคระบาดอาจส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าของพนักงานแบบไม่ทันตั้งตัว  ควรมีนโยบายในการช่วยเหลือพนักงาน ให้สามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้ามาใช้ในกรณีฉุกเฉิน และช่วยออกค่าใช้จ่ายของใช้สิ้นเปลือง เช่น หน้ากากอนามัย และเจลล้างมือ

 

Mental Health Counselling   จัดโปรแกรมปรึกษาสุขภาพจิตให้ฟรี

พนักงานบางรายที่มีภาวะเครียดรุนแรงเป็นพิเศษ การให้คำปรึกษาไม่ถูกวิธี อาจส่งผลร้ายมากกว่าดี ควรจัดสวัสดิการให้พนักงานสามารถขอรับคำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตกับผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัด 

 

ที่มา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)