ลงโทษทางวินัยในเชิงบวก ที่ HR ควรรู้

          พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 “นายจ้างหรือองค์กร ที่มีพนักงานมากกว่า 10 คนขึ้นไป จำเป็นต้องจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานต่าง ๆ รวมถึงเรื่อง "วินัยและโทษทางวินัย" สำหรับองค์กรของตนขึ้น ซึ่งเมื่อบริษัทได้กำหนดข้อบังคับ ดังกล่าวขึ้นมาแล้ว ก็จำเป็นต้องยึดถือ และปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด”

          การมีข้อบังคับในการทำงานที่ดีและเป็นธรรม จะช่วยให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

  1. สร้างความชัดเจน  ระบุสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของพนักงาน รวมถึงกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตาม
  2. ส่งเสริมระเบียบวินัย เป็นแนวทางให้พนักงานปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ลดปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาท
  3. ป้องกันข้อโต้แย้งและปัญหาทางกฎหมาย  เมื่อต้องดำเนินการด้านวินัยกับพนักงาน ข้อบังคับจะช่วยให้บริษัทมีหลักฐานและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
  4. สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี  ทำให้พนักงานเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม ส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมและความไว้วางใจในองค์กร
  5. เป็นแนวทางสำหรับการลงโทษทางวินัย  การกำหนดวินัยและโทษทางวินัยที่ชัดเจนช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเหมาะสม และไม่เกิดการเลือกปฏิบัติ

หลักเกณฑ์ในการจัดทำระเบียบข้อบังคับในการทำงาน

1. ต้องมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อที่กฎหมายกำหนด ตาม มาตรา 108 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ข้อบังคับต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับ

  • เวลาทำงาน (เวลาทำงานปกติ เวลาพัก เวลาทำงานล่วงเวลา และวันหยุด)

  • วันหยุดและหลักเกณฑ์การลา (เช่น ลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน ลาคลอดบุตร ฯลฯ)

  • ระเบียบเกี่ยวกับวินัยและโทษทางวินัย

  • การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด

  • การเลิกจ้างและค่าชดเชยตามกฎหมาย

  • ข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทำงาน

2. ต้องชัดเจนและเป็นธรรม

  • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่กำกวม

  • มีความเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน

  • ไม่กำหนดกฎระเบียบที่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง

3. ต้องมีการประกาศให้พนักงานรับทราบ

  • นายจ้างต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และมีสำเนาประกาศไว้ในสถานที่ทำงาน

  • ต้องให้พนักงานรับทราบถึงกฎระเบียบ รวมถึงผลกระทบของการละเมิดระเบียบ

  • สามารถให้พนักงานลงนามรับทราบ หรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารสัญญาจ้าง

4. ต้องสามารถบังคับใช้ได้จริง

  • ควรมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้จริง

  • ต้องมีมาตรการกำกับดูแล เช่น วิธีการลงโทษที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับกฎหมาย

5. ต้องมีการทบทวนและปรับปรุงตามความเหมาะสม

  • ระเบียบข้อบังคับควรมีการตรวจสอบและปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนไป

  • อาจต้องอัปเดตให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงานที่เปลี่ยนแปลง หรือแนวปฏิบัติใหม่ในองค์กร

6. ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานและสิทธิพื้นฐานของพนักงาน

  • ระเบียบต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน และไม่ละเมิดสิทธิของลูกจ้าง

  • ต้องไม่กำหนดกฎที่เป็นการเลือกปฏิบัติ หรือไม่เป็นธรรม

 

          การลงโทษทางวินัยพนักงาน คือ การออกบทลงโทษในรูปแบบต่างๆ เมื่อพนักงานทำผิดกฎหรือระเบียบการทำงานขององค์กรที่ตั้งไว้ และได้ตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงานแล้ว โดยตัวอย่างการลงโทษทางวินัย มีดังนี้

  1. ตักเตือนด้วยวาจาเฉยๆ หรือบอกปากเปล่า

  2. ตักเตือนด้วยวาจาและลงบันทึกไว้

  3. ตักเตือนเป็นหนังสือ เช่น ออกใบเตือน ออกหนังสือเตือน

  4. พักงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง 3 วัน 5 วัน 7 วัน หรือตามระเบียบบริษัท

  5. เลิกจ้าง โดยจ่าย/ไม่จ่าย ค่าชดเชย

 

ที่มา hrodthai