4 เรื่อง ไม่จริง เกี่ยวกับ PDPA

1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA

ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้

ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา

(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล

(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ

(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป

มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น

 

ที่มา เพจ PDPC Thailand และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

ลงทะเบียนรับคู่มือ PDPA ที่ HR ควรทราบ คลิก

VDO HR ต้องรู้ เพื่อรับมือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


EP.01

 


EP.02

 


EP.03

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ PDPA

อ่านเพิ่มเติม PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร

อ่านเพิ่มเติม นายจ้าง และ HR ควรรู้! แนวทางจัดการเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

อ่านเพิ่มเติม เจ้าของธุรกิจควรรู้ ไม่ทำ Privacy Policy เสี่ยงผิดพรบ.คุ้มครองข้อมูล

อ่านเพิ่มเติม HR สามารถตอบคำถามที่ทำงานใหม่ของอดีตลูกจ้างโทรมาสอบถามถึงสาเหตุการลาออกได้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม นายจ้างสามารถส่งข้อมูลชื่อ นามสกุลและอัตราเงินเดือนของลูกจ้าง ให้แก่บริษัทรับจ้างทำจ่ายเงินเดือนได้หรือไม่