5 ประเภทหนี้สินที่ผู้ประกอบการควรรู้/หนี้สินหมุนเวียน เรื่องที่เจ้าของกิจการต้องรู้

1.หนี้สินหมุนเวียน  (Current Liability)

"หนี้สินหมุนเวียน" หนี้สินระยะสั้นที่ผู้ประกอบกิจการหลายคนอาจเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่า หนี้สินหมุนเวียน คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบข้อมูลและวิเคราะห์ว่า หนี้สินหมุนเวียนเหมาะเป็นทางออกของกิจการของตนหรือไม่

หนี้สินหมุนเวียน (Current Liability) คือ เป็นหนี้สินที่มีกำหนดเวลาชำระคืนที่ชัดเจน คือ ภายใน 12 เดือน หรือ 1 ปี นับจากวันที่เป็นหนี้สินหรือวันที่ระบุในงบแสดงฐานะการเงิน อย่างไรก็ดี ความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียน จะแปรผันอยู่กับสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ โดยวิธีการชำระคืนหนี้สินหมุนเวียนทำได้ในหลายลักษณะ อาทิ ชำระเป็นเงินสด ชำระด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน หรือเปลี่ยนภาระผูกพันเก่าให้กลายเป็นภาระผูกพันใหม่ เพื่อนำเงินไปโปะหนี้หรือว่านำไปลงทุนก่อน

หนี้สินหมุนเวียน มีกี่ประเภท

แม้ว่าลักษณะหนี้สินหมุนเวียนถูกจัดเป็นหนี้ระยะสั้น โดยประเภทของหนี้สินหมุนเวียนที่หลายคนอาจคุ้นหูหรือเคยใช้บริการ ได้แก่

  • การเงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร

  • การเงินกู้ยืมระยะยาว

  • การเงินกู้ระยะสั้น

  • หนี้สินหมุนเวียนอื่น ๆ ฯลฯ

ซึ่งประเภทหนี้สินหมุนเวียนที่กล่าวในข้างต้นล้วนมีกำหนดระยะเวลาชำระภายใน 12 เดือน หรือไม่เกิน 1 รอบ ในระยะเวลาดำเนินงานปกติของกิจการ

หนี้สินหมุนเวียน มีอะไรบ้าง

ตามปกติสามารถดูหนี้สินหมุนเวียนได้จากงบการเงิน ในส่วนของงบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุลนั่นเอง โดยหนี้สินหมุนเวียนที่เห็นกันบ่อย ๆ อาทิ

(1) เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร

  • เงินเบิกเกินบัญชี : เป็นสินเชื่อรูปแบบหนึ่งที่ธนาคารให้ผู้กู้สามารถเบิกเงินได้เกินกว่ายอดฝากตามวงเงินที่ได้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนดำเนินงานปกติของกิจการในแต่ละวัน

  • เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน :  เงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกำหนดชำระภายใน 1 ปี

(2) เจ้าหนี้การค้า

อธิบายง่าย ๆ นี่คือหนี้ที่เกิดจากการที่เราซื้อสินค้ามาแล้วยังไม่ได้จ่ายเงิน โดยหนี้ลักษณะนี้เจ้าของกิจกรรมต้องคุยกับเจ้าหนี้ว่าจะชำระค่าสินค้าหรือบริการเมื่อไหร่ โดยมากระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน

(3) ตั๋วเงินจ่าย

เป็นหนังสือสัญญาที่ระบุจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตไว้ชัดเจน

(4) เงินปันผลค้างจ่าย

เป็นกรณีที่ผู้ประกอบการประกาศว่าจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินปันผล ทำให้เงินปันผลกลายเป็นหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าหนี้

(5) เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี

การกู้ยืมเงินลักษณะนี้ถือเป็นหนี้สินระยะยาวที่มีกำหนดชำระคืนเป็นจำนวนที่แน่นอนภายใน 1 ปี อาทิ กู้ยืมเงินธนาคารมาขยายกิจการเพิ่มเติม จำนวน 560,000 บาท มีระยะเวลาผ่อนนาน 8 ปี โดยผ่อนปีละ 70,000 บาท แสดงว่า คุณต้องเตรียมเงิน 70,000 บาทไว้ชำระตามรอบบัญชี

(6) เงินมัดจำและเงินประกัน

เงินหรือหลักทรัพย์ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับจากลูกค้าหรือพนักงานเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะปฏิบัติตามสัญญา หรือประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เมื่อปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้ประกอบกิจการต้องคืนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนภายในไม่เกิน 1 ปี

เมื่อทราบกันแล้วว่า หนี้สินหมุนเวียน คืออะไร มีการกู้ยืมหรือการใช้จ่ายแบบไหนบ้างที่เข้าข่ายกันไปแล้ว เชื่อว่าผู้ที่มีแผนทำธุรกิจส่วนตัวและกำลังหาแหล่งเงินทุนสำรองระยะสั้นคงตัดสินใจได้ไม่ยาก แต่ปัจจุบันไม่ได้มีเพียงสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเท่านั้นที่เป็นผู้ช่วยยามฉุกเฉิน ยังผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดที่ช่วยเสริมสภาพคล่องการเงินส่วนบุคคลและเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจขนาดเล็กได้ดีไม่แพ้กัน

2.หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non - Current Liability) 

หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non - Current Liability) หนี้สินระยะยาวที่เป็นภาระผูกพันของกิจการและมีระยะเวลาการชำระหนี้มากกว่า 1 ปีขึ้นไปตัวอย่างของรายการที่จัดเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ หุ้นกู้, ตั๋วเงินจ่าย, ภาษีเงินได้รอ,การตัดบัญชี, หนี้สินตามสัญญาเช่า

  • เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินเพื่อซื้อทรัพย์สินในการประกอบกิจการ  เช่น กู้ยืมเพื่อสร้างโรงงานหรือซื้อเครื่องจักร ซึ่งมีระยะเวลาการชำระหนี้มากกว่า 1 ปีขึ้นไป
  • หุ้นกู้และพันธบัตร เป็นเงินกู้ยืมระยาวด้วยจุดประสงค์เดียวกับการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน แต่เจ้าหนี้คือนักลงทุน/หรือประชาชนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการชำระหนี้สั้นกว่าการกู้ยืมจากธนาคาร
  • ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว หรือตั๋วที่สัญญาว่าจะใช้เงินในอนาคต ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับหุ้นกู้ มีสัญญาการจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย เพียงแต่ดำเนินการได้ง่ายกว่า เนื่องจากไม่ต้องนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์
  • หนี้จำนอง เป็นการกู้ยืมโดยใช้ทรัพย์สินของกิจการเข้าจำนองกับสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินทุนมาหมุนเวียนในกิจการ

3.หนี้สินโดยประมาณ (Estimated  Liabilities)

คือ หนี้สินหมุนเวียนที่ไม่อาจทราบจำนวนที่แน่นอน ณ วันสิ้นงวด หรือเรียกว่า  หนี้สินโดยประมาณ ( Estimated  Liabilities ) เช่น

  • หนี้สินในการรับประกันสินค้าโดยประมาณ  (Estimated  Liability  under  Warranties)เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้า  บางบริษัทจึงมีนโยบายรับประกันสินค้าที่ขาย  โดยสัญญาจะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแทนสิ่งบกพร่องของสินค้าภายในระยะเวลาที่ถึงกำหนด  เช่น  ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับจากวันขาย  ถ้าหากจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายอันเกิดจากการรับประกันมีจำนวนน้อยก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดขึ้น  แต่ถ้าหากนโยบายรับประกันสินค้าที่ขายก่อให้เกิดรายจ่ายเป็นจำนวนมากแล้ว  ในวันสิ้นงวดบัญชีกิจการก็จะต้องประมาณรายจ่ายอันอาจจะเกิดขึ้นจากการรับประกันนั้น 
  • หนี้สินค่าสมนาคุณลูกค้าโดยประมาณ ( Estimated  Liability  for  Premiums ) เพื่อเป็นการจูงใจลูกค้าให้ซื้อสินค้าและเพื่อเป็นการสมนาคุณลูกค้า  บางบริษัทอาจเสนอของแถมแก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าของบริษัทในระยะเวลาหนึ่ง  หรืออาจเสนอให้สิ่งของบางอย่างถ้าหากลูกค้านำฝากล่องหรือกระดาษห่อสินค้ามาขอแลก

4.หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) 

คือหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) เป็นภาระผูกพันที่อาจมีอยู่เนื่องจากเหตุการณ์ใน อดีต แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันจริงหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการยืนยันอีกอย่างน้อยหนึ่งเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งยังมีความไม่แน่นอนอยู่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และกิจการไม่สามารถควบคุม เหตุการณ์นั้นได้

ตัวอย่างของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นที่สามารถกำหนดมูลค่าจำนวนหนี้ที่แน่นอนได้ เช่น การสลักหลังโอนตั๋ว การค้ำประกันหนี้ การถูกฟ้องร้องและเป็นคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา การประเมินภาษีย้อนหลังและถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

5.หนี้สินอื่น คือ (Other liabilities)

คือ หนี้สินที่ไม่อาจจัดเข้าหนี้สินประเภทใดๆได้ เช่น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หนี้สินที่ไม่อาจเกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถนำมาใช้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการในทางบัญชีได้ จะอยู่ได้ทั้ง หนี้สินหมุนเวียน และ หนี้สินไม่หมุนเวียน

 

ที่มา

เพจ บัญชีอย่างง่าย เพื่อเจ้าของกิจการ

เพจ บัญชีอย่างง่าย เพื่อเจ้าของกิจการ

www.ktc.co.th

อ.มานิดา