การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

ขั้นตอนการส่งออก

  1. ได้รับตราสารเครดิต (Letter of Credit)
  2. ออกใบส่งชั่วคราว (Proforma invoice)
  3. เคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลัง
  4. ดำเนินการทางศุลกากร และ
  5. ยื่นรายได้ (กรณ์จดภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  6. ส่งมอบสินค้า และ บันทึกบัญชี
  7. ได้รับเงิน

วิธีดำเนินการ และ การบันทึกบัญชี

1.ได้รับตราสารเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) คือใบแจ้งความประสงค์จะซื้อสินค้า เพื่อแจ้งให้ผู้ขายเตรียมสินค้าดังกล่าว

2.ออกใบส่งชั่วคราว ( proforma Invoice )ผู้ขายออกใบส่งสินค้า เพื่อทำการขออนุมัติส่งออก จากเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร

3.ย้ายสินค้าออกจากคลัง เมื่อได้รับอนุมัติ สามารถย้ายสินค้าจากคลังไปที่จุดส่งได้ ขั้นตอนนี้ผู้ขายสามารถตัด stock สินค้า และเปลี่ยนสถาน่ะ สินค้าเป็นสินค้าระหว่างทาง่                               

         Dr. สินค้าระหว่างทาง

                Cr. สินค้า      

4.ดำเนินการทางศุลกากร และ ยื่นรายได้ (กรณีจด vat) ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เจ้าพนักงานกรมศุลกากร เพื่อรับใบส่งสินค้า ขาออก และเมื่อมีการชำระภาษีอากร ให้ถือวันที่ชำระเป็นวันที่ในการยื่น vat แก่สรรพากร

  • ฐานภาษี(ผู้ขาย) : เฉพาะเงื่อนไข F0B จะใช้ ราคาสินค้า ณ ด่านส่งออก +ภาษีสรรพสามิต *ค่าธรรมเนียมอื่นตามกำหนด(ไม่รวมค่าประกัน, ค่าส่งออกไปต่างประเทศ, อากรขาออก) = รายได้ที่จะต้องยื่นแก่สรรพากร
  • อัตราภาษี : ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - อัตราภาษีคือ ศูนย์

5.ส่งมอบสินค้า และ บันทึกบัญชี ตามเงื่อนไขแล้วผู้ขายจะถือว่าได้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อ ณ วันที่สินค้า ถูกย้ายไปที่เรือส่งสินค้า ณ ต้นทาง จะบันทึกบัญชีดังนี้

    Dr. ลูกหนี้การค้า

          Cr. รายได้

และบันทึกสินค้าระหว่างทางเป็นต้นทุนสินค้าเพื่อขาย

   Dr. ต้นทุน

        ค่าใช้จ่ายในการขาย

        ภาษีซื้อ

6.ได้รับเงิน เมื่อลูกค้าชำระเงินตามใบ 1/C บันท็กบัญชีโดย นำเงินที่ได้รับ x อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เงินเข้าธนาคาร (ตาม BOT Rate หรือธนาคารแห่งประเทศไทย)

         Dr. เงินฝากธนาคาร

                     Cr. ลูกหนี้การค้า

      Dr./Cr. กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

7.หากไม่ได้รับเงินภายในงวดบัญชีให้ปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้ที่บันทึกไว้ให้เป็นอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่สิ้นรอบบัญชี โดยบันทึก

             กรณียอดลูกหนี้เพิ่มขึ้น

       Dr. ลูกหนี้การค้า

         Cr. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

               กรณียอดลูกหนี้ลดลง

     Dr. ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

                  Cr. ลูกหนี้การค้า

 

ที่มา เพจ รู้ไว้ใช่ว่าเรื่องภาษี by family accounting