5 ขั้นตอน จ่ายภาษีป้าย ไม่ได้วุ่นวายอย่างที่คิด

ทุกท่านรู้หรือไม่ ป้ายโฆาณาต่างๆหรือป้ายที่ใช้ในธุรกิจนั้นต้องมีการเสียภาษีด้วย โดยภาษีป้ายเก็บจาก ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า หรือกระกอบกิจการอื่นๆ หรือโฆษณาการค้า “เพื่อหารายได้” โดยแสดงเป็นอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก บนวัสดุต่างๆ ซึ่งหลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่าต้องเสียภาษีหรือดำเนินการอย่างไร เราไปดู 5 ขึ้นตอนกันดังนี้


1. ขอคำอนุญาตโดยแจ้งขนาด พร้อมด้วยภาพถ่ายหรือภาพสเก็ตของป้ายและแผนผังที่ตั้งของป้ายกับสำนักงานเขต เทศบาล หรืออบต.
2. ยื่นแบบพร้อมชำระป้าย (ภ.ป.1)
• บัตรประชาชน
• สำเนาทะเบียนบ้าน
• เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขที่ทะเบียนการค้า
• หนังสือรับรอง (กรณีนิติบุคคล)
• รูปถ่ายป้าย พร้อมขนาดกว้างxยาว
• ใบอนญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
*ถ้าในกรณีที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อนเสียภาษีป้ายไว้แล้ว ควรนำใบเสร็จรับเงินค่าทำป้ายจากปีก่อนมาแสดงด้วย
3. ชำระภาษี ได้ที่ สำนักงานเขต หรือผ่านธนาคารกรุงไทย
• กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ให้ยื่นแบบ (ภ.ป.1) ภายใน 15 วัน
• กรณีป้ายที่ชำระค่าภาษีต่อเนื่องทุกปี ให้ยื่นแบบ (ภ.ป.1) ได้ตั้งแต่ เดือนมกราคม – เดือนมีนาคม ของทุกปี
• กรณีป้ายที่ชำระค่าภาษีประจำปีแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงป้ายให้แจ้งภายใน 15 วัน
• หากมีการยกเลิกใช้ป้าย เนื่องจากเลิกกิจการ ให้แจ้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
4. หากภาษีที่ต้องชำระมากกว่า 3,000 บาท สามารถแบ่งชำระได้ 3 งวด
5. เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีอย่างต่ำ 200 บาท

เพิ่มเติมป้ายบางประเภทที่ได้รับการ “ยกเว้น” เสียภาษี ได้แก่

  • ป้ายที่ติดในอาคาร
  • ป้ายที่มีล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื่อนป้ายเข้าออก)
  • ป้ายตามงานอีเว้นท์ที่จัดเป็นครั้งคราว
  • ป้ายของทางราชการ
  • ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน
  • ป้ายวัด สมาคม มูลนิธี 

       (และอื่นๆ ตามพ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 )

 

ที่มา SME ONE

หัวข้ออื่นที่น่าสนใจ