การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร

 

จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีเศษเป็นจุดทศนิยม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนปฏิบัติดังนี้

1. ทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดเศษทิ้ง

เช่น มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 100 บาท

คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7/107 x 100 = 6.542 บาท

ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม = 6.54 บาท

 

2. ทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปให้ปัดเศษขึ้น

เช่น มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 180 บาท

คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7/107 x 180 = 11.775 บาท

ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม = 11.78 บาท


1. ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี > ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ


2. ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี < ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ

วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี


3. กรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่ภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องเนื่องจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม

วิธีปฏิบัติ: ต้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษีดำเนินการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะนำไปเป็นภาษีซื้อได้

 

                ในโปรแกรมบัญชีบริหารสำเร็จรูป มีวิธีการแก้ไขเรื่องจุดทศนิยมในการคำนวณมูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่มใบกำกับภาษี ดังนี้

                เมื่อบันทึกเอกสารในระบบจะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการปัดจุดทศนิยมให้เหลือ 2 ตำแหน่ง เมื่อเทียบมูลค่าภาษีในระบบและเอกสารใบกำกับภาษีไม่ตรงกัน ให้แก้ไขที่เอกสารที่บันทึกรายการ แถบภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

               

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ สามารถแก้ไขจุดทศนิยมได้ไม่เกิน 1 บาท