เกณฑ์เงินสด กับ เกณฑ์คงค้าง แตกต่างและกระทบต่องบการเงินอย่างไร

เคยสงสัยกันกันไหมว่า การบันทึกบัญชีในทุกวันนี้เราใช้หลักเกณฑ์อะไรกัน  สิ่งแรกที่คิดได้ คงหนี้ไม่พ้น เกณฑ์เงินสด หรือ เกณฑ์คงค้าง แล้วเราต้องใช้เกณฑ์ไหนในการบันทึกบัญชีกัน

เพื่อคลายข้อสงสัย ในบทความนี้ เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์เงินสดกับเกณฑ์คงค้างกันดีกว่าง

เกณฑ์เงินสด คืออะไร และเกณฑ์คงค้างคืออะไรกัน และเวลาที่บันทึกบัญชีควรใช้เกณฑ์ไหนในการบันทึกบัญชี

เรามาทำคำความเข้าใจกันดีกว่า

หลายๆ  ท่านคงทราบความหมายของเกณฑ์เงินสดและเกณฑ์คงค้างกันแล้ว มาลองทบทวนกันว่าสิ่งที่เราเข้าใจถูกต้องไหม

เกณฑ์เงินสด (Cash Basic)

  1. เป็นการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละงวดที่ได้รับหรือจ่ายเงินสด
  2. เรามีขีดเส้นใต้คำว่า เงินสดรับ หรือจ่ายในแต่ละงวด นั้นคือ สิ่งที่เกณฑ์เงินสดให้ความสนใจ
  3. ในทางบัญชี จึงมักเกิดข้อโต้แย้งว่า เกณฑ์นี้ เน้นที่เงินสดเข้า-ออก ไม่ใช่ช่วงเวลาที่รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เกณฑ์นี้จึงไม่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริง ในงบกำไรขาดทุน

เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basic)

  1. เป็นการบันทึก รายได้และค่าใช้จ่าย ทั้งหมดที่เป็นของงวดบัญชีนั้น ๆ และแยกส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับงวดบัญชีนั้น ๆ ออกไป
  2. สังเกตคำว่ารายได้ และค่าใช้จ่าย ตามงวดบัญชี เพราะเกณฑ์นี้ไม่สนใจว่ารับหรือจ่ายเงินสดเมื่อไร เมื่อความเสี่ยงและผลตอบแทนเกิดขึ้นแล้ว การบันทึกรายการจะเกิดขึ้นทันที
  3. เกณฑ์คงค้างนี้ ตรงตามหลัก การบันทึกบัญชีที่ว่า  การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า

               ทบทวนความหมายในข้อแรกเราลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพกันดีกว่า

               สมมติว่า บริษัท น้ำใสใจจริง จำกัด  ขายสินค้าให้ลูกค้าและส่งสินค้าวันที่ 30/11/xxxx และได้รับเงินวันที่ 02/12/xxxx

               เราลองมาดูกันซิว่าเกณฑ์เงินสดและเกณฑ์คงค้าง จะบันทึกบัญชีอย่างไรกันน๊า

เกณฑ์เงินสด

30/11/xxxx

     ไม่มีการบันทึกบัญชี

02/12/xxxx

     Dr.เงินสด                             xx

          Cr.รายได้                                    xx

เกณฑ์คงค้าง

30/11/xxxx

     Dr.ลูกหนี้การค้า                   xx

          Cr.รายได้                                    xx

02/12/xxxx

     Dr.เงินสด                             xx

          Cr.ลูกหนี้การค้า                         xx

               จากตัวอย่างนี้ จะทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าใช้เกณฑ์เงินสด  กิจการจะบันทึกรับรู้รายได้ วันที่  02/12/xxxx  เพราะสนใจวันที่รับเงินสดเข้าเป็นหลัก

               ในกรณีกลับกันถ้าเป็นเกณฑ์คงค้าง จะบันทึกรายได้เมื่อวันที่ 30/11/xxxx  เพราะกิจการได้ส่งสินค้าให้กลูกค้าเมื่อวันที่ 30/11/xxxx แปลว่ารายได้เกิดขึ้นแล้ว ตามนิยมการรับรู้รายได้ที่มองไปถึงการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนแก่ลูกค้าเป็นหลัก ถ้าเป็นการขายสินค้าภายในประเทศ เมื่อสินค้าถูกส่งให้ลูกค้า ลูกค้าย่อมมีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นแล้ว ถัดมาเมื่อวันที่ 02/12/xxxx  กิจการได้รับเงินสดก็จะบันทึกเป็นเดบิตเงินสด เครดิตลูกหนี้การค้านั้นเอง

ใช้เกณฑ์ต่างก็แสดงผลในงบการเงินแตกต่างกัน

รู้หรือไม่ว่า ถ้าบันทึกบัญชีด้วยเกณฑ์ที่ผิด การตีความในงบการเงินนั้นจะผิดเพี้ยนไปด้วย

กรณี เกณฑ์คงค้าง เราตั้งต้นจากสิ่งที่ถูกต้องก่อน คือมาตรฐานบัญชีการรับรู้รายได้ สำหรับเกณฑ์คงค้าง บันทึกบัญชีตามงวดที่รายได้เกิดขึ้นจริงนั้น หมายความว่าทั้งงบกำไรขาดทุนและงบแสดงสถานะเงินสดแสดงในจำนวนเงินที่ถูกต้อง และตรงตามงวดบัญชีนั้นเอง

แต่หากเป็น เกณฑ์เงินสด จะบันทึกบัญชีก็ต่อเมื่อมีรายการที่เป็นเงินสดเข้ามานั้น ดังนั้น รายได้ในงวดของเดือน 11/xxxx แสดงต่ำไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น แม้ว่าวันที่ 30/11/xxxx มีการส่งสินค้าแล้ว รายได้เกิดขึ้นแล้ว ผลกระทบก็คือ รายได้ในงบกำไรขาดทุนแสดงต่ำกว่าความเป็นจริง และงบแสดงฐานะการเงิน ลูกหนี้การค้าก็จะแสดงต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น

เกณฑ์เงินสด

งบแสดงฐานะการเงิน

     ลูกหนี้การค้าต่ำไป

 

งบกำไรขาดทุน

     รายได้ต่ำไป

เกณฑ์คงค้าง

     งบแสดงฐานะการเงิน

          ไม่มี

 

     งบกำไรขาดทุน

          ไม่มี

 

ลองคิดกันต่อนะคะ หาเราเป็นนักลงทุน เปรียบเทียบระหว่างสองงบ เราคงจะเลือกลงทุนในงบที่มีรายได้มากกว่าแน่นอน แล้วถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในงบตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดอะไรขึ้น ทำให้ผู้ใช้งบตัดสินใจผิดเพี้ยนได้มากมายขนาดไหน

สรุปกันนะจ๊ะ

จากตัวอย่างของที่เรายกมาข้างบน คงจะพอเข้าใจกันว่า ถ้าเลือกใช้เกณฑ์เงินสดในการบันทึกบัญชีทั้งรายได้และลูกหนี้ของการค้าจะแสดงต่ำเกินไป เกณฑ์เงินสด  จึงไม่เหมาะสมสำหรับกิจการที่วัดผลการดำเนินงานด้วยกำไรหรือขาดทุนสุทธิในงวดเหล่านั้น (เพราะแน่นอนว่าต้นทุนสินค้าได้รับรู้ไปแล้วในงวดบัญชีแรก)

เกณฑ์ที่เหมาะสมกว่า จึงสรุปกันว่าเป็น เกณฑ์คงค้างนั้นเอง หรือที่เราเรียกกันว่า Accrual  Basic เพราะเรารับรู้รายได้เมื่อมันเกิดขึ้นจริงๆ และค่าใช้จ่ายถูกรับรู้ไปพร้อมกับรายได้ที่เกิดขึ้นดังนั้น เกณฑ์คงค้างจึงตอบโจทย์ตามหลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย นั่นเอง

 

อ้างอิง https://thaicpdathome.com