ความสำคัญของสินค้าคงเหลือ

                สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์ ที่มีตัวตนอย่างหนึ่งซึ่งกิจการมีวัตถุประสงค์ของการถือครองไว้เพื่อขายใน กิจกรรมการดำเนิน โดยปกติของธุรกิจ หรือมีวัตถุประสงค์ในอีกลักษณะหนึ่งเพื่อการนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าหรือการ บริการนำเสนอต่อลูกค้า ต่อไป อย่างไรก็ตาม เรามาดูกันว่า รายการใดบ้างที่ควรรวมเป็นสินค้าคงเหลือได้บ้าง

               1. สินค้าสำเร็จรูป (Finished goods) เป็นสินค้าที่ถือไว้เพื่อการจำหน่ายต่อในการดำเนินงานโดยปกติของ ธุรกิจ สินค้าประเภทนี้จะได้มาในสภาพที่เสร็จสมบูรณ์และพร้อมที่จะถูกนำไปขายต่อได้ ในทันทีโดยปราศจากกระบวนการผลิตต่อ ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคหรือสินค้าบริโภคทั่วไป เป็นต้น

               2. วัตถุดิบคงเหลือ (Raw materials inventory) เป็นสินค้าที่จัดหามาไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อแปรสภาพให้ เป็นงานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปต่อไป ตัวอย่าง เช่น หนังสัตว์ พีวีซี เชือก กาว เป็นวัตถุดิบของธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋า ผ้า กระดุม ซิป ด้าย เป็นวัตถุดิบของธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างของวัตถุดิบต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นยังคงรายงานเป็นต้นทุนวัตถุดิบต่อไปจนกว่าจะถูกเบิกไปใช้ใน การผลิต

               3. งานระหว่างทำคงเหลือ (Raw materials inventory) เป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อแปรสภาพให้เป็น สินค้าสำเร็จรูปแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ถ้าเสร็จสมบูรณ์เมื่อใดจะเรียกว่า สินค้าสำเร็จรูป ตัวอย่างเช่น ผ้าที่ตัดเป็นชิ้นตัวเสื้อ แขน ปก เย็บเข้ากันเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้เจาะรังดม ติดกระดุมให้เรียบร้อย งานที่ค้างดังกล่าวเป็นงานระหว่างทำของธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

               4. สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ (Finished goods inventory) เป็นสินค้าที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยพร้อมที่จะขายได้ในทันที ธุรกิจอุตสาหกรรมจะทำการแปรสภาพจากวัตถุดิบเป็นงานระหว่างทำ จากงานระหว่างทำเป็นสินค้าสำเร็จรูป ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป โต๊ะ และเก้าอี้สำเร็จรูป เป็นต้น

 

              ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สินค้าคงเหลือในทางบัญชี ประกอบด้วย 4 รายการหลัก ซึ่งจำเป็นต้องวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือเหล่านี้และแสดงในงบการเงินให้ถูกต้อง โดยราคาที่ใช้ในการบันทึกสินค้าคงเหลือ จะต้องเป็นราคาทุนซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นในการจัดหาหรือผลิตสินค้านั้นๆ โดยประกอบไปด้วย

             · ค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยอ้างอิงจากราคาที่ซื้อตามใบกำกับภาษีจากผู้ขาย หักด้วยประมาณการของส่วนลดการค้า(จากผู้ขาย)

             · ค่าแรงในการผลิต ให้คิดคำนวณจากค่าจ้างรายวันหรือรายเดือน นำมาคำนวณเป็นต้นทุนในการผลิต

             · ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้านั้นมา เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยสินค้าระหว่างขนส่ง ค่าภาษีอากร เป็นต้น

            

              และเนื่องจากสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญเพราะเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้และผลกำไร/ขาดทุนโดยตรงให้กิจการ ดังนั้นก่อนการทำบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ นักบัญชีควรเลือกวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม

 

                                                                เครดิตจาก : https://www.pangpond.co.th/p=4791  และ 

                                                                    บทความโดย : www.prasitwiset.com
                                                                   ประกาศบทความโดย : http://www.prosoftwinspeed.com