ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อ Social media มากขึ้น โดยเฉพาะคนไทย ติดอันดับต้น ๆ ในการใช้งานสื่อ Social media แต่ละวัน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เจ้าของกิจการทั้งหลาย หันมาทำการตลาดผ่านช่องทางนี้กันมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้รวดเร็วและจำนวนมาก โดยกิจการอาจจะต้องมีการจ่ายเงินเพื่อซื้อโฆษณาผ่านช่องทาง ดังกล่าว เพื่อจะให้ลูกค้าเห็นสินค้าของตัวเอง ก่อนรายอื่น ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับกิจการ
ซึ่งการลงโฆษณากับ สื่อ Social media ที่ใครต่อใครรู้จักไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instragram นั้นเป็นกิจการของต่างประเทศ ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายภาษีแทนบริษัทต่างประเทศ แต่หลายท่านไม่ทราบว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะต้องมีการเสียภาษี ทำให้ผู้ประกอบการหลายราย โดนภาษีย้อนหลังจากการไม่ได้ยื่นภาษีส่วนนี้ แล้วภาษีส่วนนี้จะต้องยื่นอย่างไร แล้วยื่นเมื่อไหร่
ภ.พ.36 คือ..?
ภ.พ. 36 คือ แบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร แต่จะพิเศษกว่าภาษีซื้อชนิดอื่นนั้นก็คือ ผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ เนื่องจากผู้ขายหรือให้บริการเหล่านั้นไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย
ใครบ้างที่ต้องยื่น ภ.พ.36
- ผู้จ่ายเงินซึ่งจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่
- ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบ กิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
- ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการ ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
- ผู้ประกอบการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ปัจจุบันยังไม่กำหนด)
- ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ได้แก่ การรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้มี การขายหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษ ของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการดังกล่าวที่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
- ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือส่วนราชการ ซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด
ยื่นเมื่อไหร่ ที่ใหน และอย่างไร?
ให้ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษียื่นแบบ ภ.พ.36 พร้อมทั้งนำส่งภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมีภูมิลำเนา หรือสำนักงานตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลาดังนี้
- กรณีเป็นผู้จ่ายเงินหรือเป็นผู้ทอดตลาดให้นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ ผู้ประกอบการหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ จดทะเบียนแล้วแต่กรณี
- กรณีเป็นผู้รับโอนสินค้าหรือเป็นผู้รับโอนสิทธิในบริการ ให้นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับมากกว่า 1 ราย หรือ จ่ายเงินได้พึงประเมินมากกว่า 1 ประเภท ให้แยกยื่นแบบ ภ.พ.36 แยกเป็นแต่ละรายผู้รับ และหรือแยกเป็นแต่ละรายประเภทการจ่ายเงิน แล้วแต่กรณี
จะดีกว่ามั้ยหากทำให้เรื่องบัญชีเป็นเรื่องง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องมานั้งปวดหัวอีกต่อไป เรามีตัวช่วย ที่จะลดงานของคุณนั้นก็คือ โปรแกรมบัญชีบริหารสำเร็จรูป Business Plus ERP จะทำให้บัญชีเป็นเรื่องง่ายๆแค่ปลายนิ้ว