บาร์โค้ด (Barcode) คือ เลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้แทนด้วยแท่งบาร์ขาว-ดำ เรียงกันเป็นแนวดิ่งสลับกัน ใช้แทนตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ส่วนใหญ่ มักจะถูกนำมาใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำข้อมูลไปใช้งานหรือประมวลผลให้รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดหรือสแกนเนอร์ (Barcode Scanner) เป็นตัวอ่านข้อมูลบาร์โค้ด และส่งไปยังคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรม โดยการแยกความกว้างระหว่างพื้นที่มืดและพื้นที่สว่างออกมาเป็นรหัสตัวเลข บาร์โค้ดจึงช่วยลดการผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นบาร์โค้ดยังช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย และใช้ทรัพยากรบุคคลน้อยลงอีกด้วย
รหัสบาร์โค้ดที่เป็นมาตรฐานนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีประมาณ 11 ระบบ ดังนี้
- UPC (Uniform Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก UPC-E ใช้กับสินค้าที่มีข้อมูลน้อย
- แบบมาตรฐานมี 12 หลัก หรือเรียก UPC-A ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป
- แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก UPC-A+2 ในกรณีที่ UPC-A เก็บข้อมูลไม่พอ
- แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก UPC-A+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
- EAN (European Article Number) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก EAN-8 ใช้กับธุรกิจเล็ก มีข้อมูลไม่มาก
- แบบมาตรฐานมี 13 หลัก หรือเรียก EAN-13
- แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก EAN-13+12 เพื่อเพิ่มข้อมูล ถ้า EAN-13 บรรจุข้อมูลไม่หมด
- แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก EAN-13+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
- CODE 39 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2517 ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก
- INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้าหรือเรียก Cass Code
- CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ.-2515
- CODE 128 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่น ปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา
- CODE 93 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.- 2525 ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
- CODE 49 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยพัฒนาจาก CODE 39 ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
- CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมาก มีพื้นที่ในการใสบาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
- ISSN / ISBN (International Standard Book Number) ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร
- CODE 93 หรือ Shipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง และ EAN ของยุโรป UCC ของสหรัฐอเมริกา โดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับ CODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น
โดยประเทศไทยไทยเริ่มใช้บาร์โค้ดอย่างจริงจังในปี2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย “Thai Article Numbering Council” หรือ “TANC” เป็นองค์กรตัวแทนของ”EAN” ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้

หมายเลข 1 สัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับสีอ่อนสำหรับอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์
หมายเลข 2 885 : ตัวเลข 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย
หมายเลข 3 1234 : ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต หรือรหัสสมาชิก
หมายเลข 4 00001 : 5 ตัวถัดมาเป็นรหัสสินค้า
หมายเลข 5 2 : ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบเลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออกสื่อความหมายไม่ได้
บาร์โค้ดช่วยอะไรได้บ้าง
ซึ่งโปรแกรมบัญชีบริหารสำเร็จรูป Business Plus ERP สามารถรองรับการสร้างรหัสสินค้า หลากหลายรูปแบบ เช่น EAN13, EAN8, CODE93, CODE128 โดยสามารถทำการกำหนดชนิดบาร์โค้ดของแต่ละรหัสสินค้าได้ ตามตัวอย่างภาพ

และนอกจากโปรแกรมบัญชีบริหารสำเร็จรูป Business Plus ERP ที่สามารถกำหนดรหัสสินค้าตามชนิดต่างๆได้แล้ว ยังมีเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ดมาติดที่ติดที่ตัวสินค้าได้ โดยใช้โปรแกรมพิมพ์ป้ายราคา(BBarcode) โดยทำการเลือกรหัสที่ต้องการพิมพ์สติ๊กเกอร์ แล้วกดพิมพ์ท่านก็สามารถนำตัวสติ๊กเกอร์แปะที่สินค้าได้เลย


ตัวอย่าง สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด ชนิด EAN 13
การนำบาร์โค้ดมาใช้ในธุรกิจการค้าจะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
1. ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง
2. ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลังคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด
3. ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุแหล่งผลิตของประเทศแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพเพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้าและสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า
4. สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ รหัสแท่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่มีคุณภาพดีเชื่อถือได้ การมีรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถทราบถึงแหล่งผลิตและติดต่อซื้อ-ขายกันได้สะดวกโดยตรง เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก
5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร ข้อมูลจากระบบรหัสแท่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ