“Cloud” หรือย่อมาจาก “Cloud Computing” มีความหมายเบื้องต้น คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเตอร์เนต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เนตโดยแลกกับการเสียค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ซึ่งระบบ Host ออนไลน์นี้มีตั้งแต่ Scale เล็ก ไปจนถึงใหญ่มาก

อย่างแรกที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อน คือ Cloud นั้น ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องไม่ได้ ขณะที่ไฟล์ข้อมูลของผู้ใช้ถูกบันทึกผ่านคลาวด์ โดยไม่กินเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์ ชุดข้อมูลนั้นยังไงก็จำเป็นต้องถูกบันทึกอยู่ในอุปกรณ์ Hardware ชิ้นใดชิ้นหนึ่งบนโลก นั่นหมายความว่า เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (อาทิเช่น Dropbox) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น มีจำนวนมากมายเป็นหมื่นเป็นแสนเครื่องเลยทีเดียว เพื่อบริการเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า Server Farms

ดังนั้น นิยามง่ายๆ ของคลาวด์ ก็คือกลุ่มเครื่องเซอร์เวอร์ และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐาน มันคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ ซึ่งข้อแตกต่างจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (อาทิเช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ) คือคุณไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่อง เพียงแค่อุปกรณ์ของคุณสามารถเข้าถึง Internet ได้ คุณก็สามารถเข้าถึงคลาวด์ ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก

 

ประโยชน์ของคลาวน์ต่อกลุ่มธุรกิจ

1.ลดต้นทุน การลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ สามารถสร้างต้นทุนมหาศาลแก่ธุรกิจได้ การดูแลรักษาและปรับปรุงอุปกรณ์ไอทีนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับ คลาวด์ และการที่ต้องชำระเงินแค่ส่วนที่เช่าใช้เท่านั้น ช่วยให้ลดต้นทุนให้น้อยลง ไม่เพียงแต่ในส่วน Hardware เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าแรงในการจ้างผู้เชี่ยวชาญ และค่าไฟอีกด้วย นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อได้เปรียบ คือ การประหยัดเวลาในการแก้ไขเมื่ออุปกรณ์มีปัญหา

2.กู้คืนความเสียหาย การบันทึกข้อมูลสำคัญในคลาวด์ นั้น มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง การที่เราเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ Hardware เพียงชิ้นเดียวนั้น มีความเสี่ยงพอสมควรทีเดียวครับ เพราะหากเกิดปัญหากับตัวอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไม่เข้า ไปจนถึงถูก Malware ทำลาย ก็มีสิทธิที่ข้อมูลของผู้ใช้จะหายไปตลอดการ ในขณะที่คลาวด์จะมีบริการ Backup ข้อมูลของผู้ใช้ด้วยเซอร์เวอร์จำนวนมากในหลายๆ พื้นที่

3. ระบบรักษาความปลอดภัย หลายๆ คน อาจจะไม่เชื่อ ว่าจริงๆ แล้ว Cloud Computing นั้นมีระบบ Security ที่ยอดเยี่ยม ผู้ใช้งานอาจคิดว่าการเก็บข้อมูลสำคัญไว้กับอุปกรณ์ที่จับต้องและมองเห็นได้เองมีความปลอดภัยกว่า แต่อยากให้เห็นภาพว่า จริงๆแล้ว คลาวด์ ก็เปรียบเสมือนธนาคาร ผู้บริการคลาวด์ ส่วนใหญ่มักมีอุดมกาณ์ที่เน้นความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการให้บริการ ข้อมูลที่รับจะถูกเข้ารหัส ปกป้องเป็นอย่างดี โดยบางเจ้า ยังเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าไปตั้งค่าระบบ Security ได้เองอีกด้วย

4. พื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น Cloud นั้นมีความสามารถที่จะปรับขยายเพิ่มพื้นที่ได้ ช่วยให้บริษัทที่มีการเติบโต สามารถขยายพื้นที่เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ในทางตรงการข้าม สำหรับองค์กรที่มีการลดขนาดการใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลลดลง ก็สามารถปรับพื้นที่ให้ลดลงได้ให้เช่าใช้คลาวด์ แต่แรก แต่หากมีการใช้อุปกรณ์ Hardware เป็นตัวเก็บข้อมูล ก็เป็นเรื่องยากที่จะขายพื้นที่ส่วนเกินออกไป

5. ทำงานได้ทุกสถานที่ เพราะข้อมูลทุกอย่างถูกบันทึกใน Cloud ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ถ้ามีอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามบนโลก ด้วยรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน ที่เน้นความยืดหยุ่นในสถานที่ทำงานมากขึ้น ระบบคลาวด์จึงทำหน้าที่สำคัญในการเข้ามาช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านอุปกรณ์อื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น

6. การทำงานร่วมกัน ช่วยการพนักงานทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพราะไฟล์ต่างๆ ที่จัดเก็บสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (หรือเฉพาะคนที่ตั้งค่าอนุญาต) ด้วยระบบคลาวด์บริษัทสามารถสร้างทีมที่มีสมาชิกหลายสิบคน ทำงานในไฟล์เดียวกัน พร้อมกัน ในสถานที่ที่ต่างกันได้ ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการ บริหาร และ จัดการการทำงานแบบเป็นทีมได้ง่ายขึ้นครับ

สำหรับโปรแกรม Business plus เอง เราก็มีบริการให้เช่าระบบ Cloud เพื่อให้การทำงานโปรแกรม Business plus ERP นั้นสามารถทำได้ทุกที่ ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใดก็ตาม และในช่วงวิกฤตโควิด 19 นี้ การทำงานผ่านระบบ Cloud ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ท่านสามารถทำงานที่บ้านได้ โดยไม่ทำให้การทำงานของท่านหยุดชะงัก