การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการควรทราบ

หน้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ได้รับยกเว้น แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

วิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30

เดือนสิงหาคม 2565 นายสมใจ ซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นเงิน 16,000 บาทและมีรายได้จากการขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปรวมเป็นเงิน 1,830,000 บาทมีรายได้เกิน 1,800,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท นายสมใจ มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ                        = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ

รายได้จากการขายซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป         = 1,830,000 - 1,800,000

ภาษีขายเดือนสิงหาคม 2565                   = 30,000 7% = 2,100

ภาษีซื้อเดือนสิงหาคม 2565                    = 16,000 7% = 1,120

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ                       = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ                       = 2100 - 1120

                                                         = 980             

ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ นายสมใจต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนสิงหาคม 2565 เป็นเงิน 980 บาท            

ภาษีขาย > ภาษีซื้อ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ

ภาษีขาย < ภาษีซื้อ ภาษีที่มีสิทธิขอคืนส่วนต่างเป็นเงินสดหรือขอเครดิตภาษีในเดือนถัดไป          

2. การจัดทำใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำใบกำกับภาษี และ สำเนาใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการทุกครั้ง แล้วส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีแก่ผู้ซื้อสินค้าและผู้รับบริการ และเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษี ณ สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี

นอกจากนี้สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทราบคือวิธีการปัดเศษทศนิยมในการออกใบกำกับภาษี เพราะเวลาเราคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวเลขมักจะไม่ได้เป็นตัวเลขกลมๆแต่จะมีพวกเศษทศนิยมพ่วงด้วย ซึ่งเราไม่สามารถตัดเศษทศนิยมนั้นทิ้งไปแล้วแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยจำนวนเต็มได้ หรือจะปัดเศษทศนิยมตามความพอใจก็ทำไม่ได้ เพราะจะถือว่าใบกำกับภาษีนั้นไม่ถูกต้องทันที ซึ่งทางกรมสรรพากรในกำหนดหลักเกณฑ์ในการปัดเศษทศนิยมไว้คือ ให้ดูทศนิยมในหลักที่ 3 หากมีมูลค่าน้อยกว่า 5 ให้ปิดทศนิยมในหลักที่ 3 ทิ้งไป แต่หากทศนิยมในหลักที่ 3 มีค่ามากกว่า 5 ให้ปัดทศนิยมในหลักที่ 2 ขึ้นมาอีก 1 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. กรณีทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดทศนิยมหลักที่ 3 ทิ้ง

2. กรณีทศนิยมหลักที่ 3 ของภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปให้ปัดเศษทศนิยมหลักที่ 2 ขึ้น

ซึ่งหากคำนวณจากเครื่องคิดเลข และได้มีการตั้งค่าเครื่องคิดเลขไว้ถูกต้อง มักจะคำนวณไม่ผิดพลาด แล้วหากเกิดได้รับใบกำกับภาษีมาแล้ว นำมาลองคำนวณดูแล้ว ไม่ได้จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ได้รับ แล้วจะใช้ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่ จะต้องส่งกลับไปให้ผู้ออกใบกำกับภาษีแก้ใขให้ใหม่หรือไม่ โดยทางกรมสรรพากรได้กำหนดแนวปฏิบัติเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน

กรณีได้รับใบกำกับภาษีโดยภาษีมูลค่าเพิ่มผิดเนื่องจากจุดทศนิยม ให้ปฏิบัติดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี มากกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้ วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าของสินค้า/บริการ
  • กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีซื้อที่ออกผิดมา มีมูลค่า “น้อยกว่า” จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้ วิธีปฏิบัติ: ภาษีซื้อที่สามารถใช้ได้เท่ากับ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี เท่ากับที่ ผู้ขายคำนวณผิดมา
  • กรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่มีการคำนวณภาษีผิดพลาดมากเกินกว่าจุดทศนิยม (ไม่ใช่การคำนวนผิดในหลักทศนิยม) กรณีนี้ไม่สามารถนำใบกำกับภาษีใบนี้มาใช้ได้ วิธีปฏิบัติ: ไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีได้ ต้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษีดำเนินการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จึงจะนำไปเป็นภาษีซื้อได้

3. การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • รายงานภาษีขาย จัดทำและลงรายงานภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี
  • รายงานภาษีซื้อ จัดทำและลงรายงานภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบกำกับภาษี
  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ จัดทำและลงรายงานภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับมา หรือจ่ายไป (ผู้ประกอบกิจการบริการไม่ต้องจัดทำรายงานนี้)

4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี)

  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 เป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบอีก 8 วัน ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเสียหรือไม่ก็ตาม

ที่มา เพจ คุยเฟื่องเรื่องTAX หัวข้อ หน้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หัวข้อ วิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หัวข้อ วิธีการปัดเศษทศนิยมในการออกใบกำกับภาษี