จัดการภาษี ฉบับ ชาว Freelance

          Freelance หรือฟรีแลนซ์ คือผู้ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ ไม่ได้สังกัดบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานใด ๆ ฟรีแลนซ์จะเป็นคนรับงานตรงจากนายจ้าง และส่งงานตรงกับนายจ้าง ดังนั้นฟรีแลนซ์จึงเป็นเจ้านายตัวเอง ต้องกำกับเวลาตัวเอง ติดตามงานเอง รับค่าจ้างเอง รวมถึงต้องจัดการเรื่องภาษีด้วยตัวเอง สำหรับฟรีแลนซ์ ปกติจะโดนหัก ณ ที่จ่าย 3% โดยภาษีส่วนนี้สามารถขอคืนเงินภาษีได้ 

หากไม่ได้จดทะเบียนบริษัท จะต้องคิดภาษีแบบเดียวกับภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดา  แต่หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ก็จะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 

ค่าใช้จ่ายของชาวฟรีแลนซ์จะหักจากเงินได้พึงประเมิน โดยหักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

 

          สำหรับพนักงานประจำหรือคนที่ทำงานบริษัท มีองค์กรจัดการเรื่องภาษี ที่เป็นหน้าที่ของบริษัท พนักงานจะทำหน้าที่ยื่นเสียภาษีตามข้อมูลที่บริษัทแจ้งมาให้ตามใบ 50 ทวิ หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ฟรีแลนซ์ไม่ได้มีคนเตรียมข้อมูลเหล่านี้ให้ ดังนั้นข้อมูลที่จำเป็นต่อการยื่นภาษีนั้น คนที่มีอาชีพฟรีแลนซ์ต้องเตรียมเก็บไว้เอง 

1. ต้องรับทราบเงินได้พึงประเมิน

คำนวณรายได้ไว้ทุก ๆ เดือน โดยแยกระหว่างรายได้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว กับรายได้ที่ยังไม่ได้หักภาษี โดยให้ดูว่าผู้ว่าจ้างรายไหนเคยขอบัตรประจำตัวประชาชนไว้ ให้สันนิษฐานว่าผู้ว่าจ้างรายนั้นมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว แยกเป็นรายได้ไว้กองหนึ่ง และผู้ว่าจ้างที่ไม่ได้ขอบัตรประจำตัวไว้ แยกไว้อีกกอง เป็นรายได้ที่ยังไม่ได้หักภาษี และรายได้ทั้งสองกองคือเงินเดือนของฟรีแลนซ์ โดยจะนำรายได้นี้ไปรวมกับรายได้อื่น ๆ (ถ้ามี) เพื่อคำนวณหาเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรู้จำนวนเงินคร่าว ๆ 

2. ตรวจสอบกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร

ตรวจสอบว่าในหมวดอาชีพของฟรีแลนซ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาหักภาษีหรือจ่ายภาษีเหมาได้บ้าง และนำเงินได้พึงประเมินมาหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน เพื่อจะได้รายได้สุทธิออกมา นำรายได้สุทธินี้ไปใช้คำนวณฐานภาษี หากคำนวณแล้วยังเข้าข่ายต้องจ่ายภาษี 

3. ตัดรายได้ 30% สำรองไว้จ่ายภาษี

สำหรับคนทำงานประจำนั้น ทุกครั้งที่เงินเดือนออก บริษัทจะหักภาษีไว้ตามฐานภาษีของแต่ละคน ฟรีแลนซ์ก็ควรทำแบบนี้เช่นเดียวกัน โดยควรตัดรายได้ 30% หรือมากกว่านั้น เพื่อกันไว้เป็นภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี

4. จัดการหาวิธีลดหย่อนภาษี

  • ลดหย่อนภาษีด้วยค่าเดินทางท่องเที่ยว นำใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีฉบับเต็มของค่าบริการนำเที่ยวหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปมาขอลดหย่อนภาษีได้
  • ลดหย่อนภาษีด้วยค่าซื้อสินค้าและบริการ เลือกซื้อสินค้าและบริการที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
  • ลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต ได้ประกันความเสี่ยงไปด้วย ได้ออมเงินด้วย และยังได้ลดหย่อนภาษีไปด้วย
  • ลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน LTF หรือ RMF นอกจากจะช่วยเรื่องออมเงิน และลดหย่อนภาษีได้แล้ว เมื่อขายหน่วยลงทุนคืนยังไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย
  • ลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาคเงิน มีด้วยกันสองประเภทคือ การบริจาคเงินเพื่อการศึกษาและกีฬา และการบริจาคอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คือการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาและกีฬานั้น สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าของเงินบริจาค ส่วนการบริจาคอื่น ๆ เช่น การบริจาคให้วัด หรือมูลนิธิ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า

 

ที่มา Tax Bugnoms