เริ่มทำธุรกิจแบบไหน...อุ่นใจกว่า ?

การทำธุรกิจทุกวันนี้มีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีผลต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และโอกาสในการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังนั้น มาทำความรู้จักกับรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้เข้าใจว่าธุรกิจของเราเป็นอย่างไร และรูปแบบไหนเหมาะสมกับกิจการของเราที่สุด

นิติบุคคล

1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หมายถึง กิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมกันลงทุนและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้ลงทุนเรียกว่า "หุ้นส่วน" หุ้นส่วนทุกคน ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด หมายถึง กิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมกันลงทุนและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย หุ้นส่วน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ "หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด" (รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวน) และ "หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด" (รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนไป)

3.บริษัทจำกัด หมายถึง กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป นำเงินมาร่วมลงทุนและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทุนแบ่งออกเป็น "หุ้น" ซึ่งแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน แต่ "ผู้ถือหุ้น" อาจมีจำนวนหุ้นไม่เท่ากัน ผู้ถือหุ้นจะได้ส่วนแบ่งกำไรของบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ตนเองถือ และรับผิดชอบไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่

บุคคลธรรมดา

1.เจ้าของคนเดียว หมายถึง ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียวลงทุนคนเดียว ธุรกิจเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเจ้าของ

2.ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรจากกิจการที่ทำ

3.คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ

การทำบัญชี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี และมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

  • มีข้อมูลทางบัญชีที่น่าเชื่อถือในแต่ละธุรกรรม
  • รู้สภาพปัจจุบันของธุรกิจ ด้านกำไร/ขาดทุน/ต้นทุน
  • ช่วยแก้ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายได้ตรงจุด
  • เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการขอสินเชื่อจากธนาคาร
  • รู้สถานะที่แท้จริงของกิจการ และนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนธุรกิจได้

บุคคลธรรมดา

ทำรายงานเงินสดรับจ่าย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมกาและไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะผู้มีเงินได้ประเภท 5 6 7 และ 8 (ไม่ว่าจะหักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาหรือจริง) มีหน้าที่จัดทำรายงานเงินสดรับจ่าย

 

ความน่าเชื่อถือ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

มากกว่า เนื่องจาก

  • จดทะเบียนจัดตั้งกับภาครัฐ
  • จัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ดีพอและน่าเชื่อถือ ส่งผลให้การขยายกิจการ การติดต่อลูกค้าและการหาแหล่งเงินทุนทำได้ง่ายกว่า

บุคคลธรรมดา

น้อยกว่า เนื่องจาก

  • จัดตั้งง่าย ข้อบังคับน้อย
  • ไม่ได้ทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี ทำให้ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกิจการที่ดีพอ ขาดข้อมูลทางบัญชีในเชิงการบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจ
  • มีความเสี่ยงสูง เพราะเจ้าของกิจการต้องแบกรับภาระทั้งหมดของกิจการไว้คนเดียว

 

ความรับผิดในหนี้สิน

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เสี่ยงน้อยกว่า เนื่องจาก

  • กิจการแยกจากเจ้าของกิจการอย่างชัดเจน
  • หนี้สินของกิจการไม่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น
  • ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นจำกัดเฉพาะมูลค่าหุ้นที่เป็นเจ้าของ

บุคคลธรรมดา

เสี่ยงมากกว่า เนื่องจากเพราะต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นเต็มจำนวน

การหักค่าใช้จ่าย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

  • ต้องมีหลักฐานการหักรายจ่ายจากการทำธุรกิจที่พิสูจน์ได้
  • นำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบฯ ปัจจุบัน มาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้
  • SME* หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินบางประเภทในอัตราเร่งได้
  • มีมาตราภาษีออกมาเป็นระยะๆเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ SME โดยการให้สิทธิประโยชน์ในการหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น

*บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสินทรัพย์ถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ≤ 200 ล้านบาท + จ้างแรงงาน ≤ 200 คน

บุคคลธรรมดา

มี 2 วิธี

1.หักเหมา ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

  • ไม่ต้องมีหลักฐานพิสูจน์รายจ่าย จึงสะดวกและง่าย
  • ส่วนใหญ่หักได้น้อยกว่าหักค่าใช้จ่ายตามจริง

2.หักตามความจำเป็นและสมควร (จริง)

  • เฉพาะที่ใช้ในการประกอบกิจการ
  • ต้องมีหลักฐานพิสูจน์

การเสียภาษี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ (รายได้ – รายจ่าย)
  • ขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
  • นำผลขาดทุนไปหักกำไรปี ต่อไปได้สูงสุดถึง 5 ปี

บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคธรรมดา

คำนวณภาษี 2 วิธี และเสียตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า (เว้นแต่ คำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่ 1)

วิธีที่ 1 เงินได้สุทธิ* x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

*เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

วิธีที่ 2 รายได้ (ไม่รวมเงินเดือนหรือค่าจ้างแรงงาน)

ก่อนหักค่าใช้จ่าย x 0.5%

 

อัตราภาษี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

นิติบุคคลทั่วไป 20%

SME*

รอบระยะเวลาบัญชี 2560 เป็นต้นไป

กำไรสุทธิ (บาท)

อัตราภาษี (%)

0 - 300,000

ยกเว้น

300,001 - 3,000,000

15

เกิน 3,000,000 ขึ้นไป

20

*บริษัทหรือห้างฯ ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบฯไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการในรอบฯ ไม่เกิน 30 ล้านบาท

บุคคลธรรมดา

อัตราก้าวหน้า (สูงส ุด 35%)

 

 

ที่มา กรมสรรพากร

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ 

อ่านเพิ่มเติม อยากเป็นเจ้าของธุรกิจต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?