ใครเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

1.ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 หมายถึงผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2.ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 หมายถึงผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องปฏิบัติอย่างไร

1.มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เว้นแต่บุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนแทน)

2.หักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย

3.ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ในกรณีที่เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรื่อองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ออกใบรับสำหรับค่าภาษีที่ได้หักไว้ให้แก่ผู้รับเงิน

4.นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่ หรือการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องทำความตกลงกับกรมสรรพากร พร้อมทั้งลงนามในเอกสารข้อตกลงในการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเมื่อได้รับหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password)จากกรมสรรพากรแล้ว จึงจะสามารถเข้าสู่ระบบการยื่นแบบฯ และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตได้

5.จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีโดยบัญชีพิเศษ อย่างน้อยจะต้องมีข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ที่มา คู่มือการหักภาษี ณ ที่จ่าย เฉพาะกรณีนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 และแบบ ภ.ง.ด.53 : กรมสรรพากร

 

หัวข้ออื่นที่น่าสนใจ