การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

การวิเคราะห์การเงิน( Financial Analysis) มีเทคนิคในการวิเคราะห์ 4 แบบคือ

  • เทคนิคที่ 1 การวิเคราะห์แบบแนวนอน (Horizontal Analysis)หรือบางครั้งก็เรียก Comparative analysis เป็นการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบปีต่อปี เดือนต่อเดือนนั่นเอง ประโยชน์ของการวิเคราะห์แบบแนวนอนคือ

    • เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของรายการต่างๆในงบโดยเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้านี้
    • เพื่อวิเคราะห์รายการต่างๆในงบว่ามีรายการใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงในจำนวนเงินและเปอร์เซ็นต์เท่าใด
    • เพื่อดูแนวโน้มแต่ละรายการในงบว่าดีขึ้นหรือแย่ละ
    • เพื่อนำมาพยากรณ์ทางธุรกิจ
  • เทคนิคที่ 2 การวิเคราะห์แบบแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical analysis)มีอีกชื่อว่า Common-size Analysis จะวิเคราะห์แบบแนวนอน โดยใช้งบปีใครก็ปีมันแล้วค่อยนำมาเปรียบเทียบปีต่อปี เช่น ต้นทุนการผลิตของปี 2557 เท่ากับร้อยละ 45 ของยอดขายปี 2557 และต้นทุนการผลิตปี 58 เท่ากับร้อยละ 43 ของยอดขายปี 58 เราก็พอสรุปได้ว่าต้นทุนผลิตปี 58 ต่ำลงกว่าปี 57 เป็นร้อยละ 2 ต่อยอดขาย แล้วเราค่อยมาหาสาเหตุเพื่อนำมาต่อยอดในการลดต้นทุนต่อไปได้ ในงบกำไรขาดทุน เราจะใช้ยอดขายเป็นตัวหารโดยให้รายการอื่นๆเป็นสัดส่วนต่อยอดขาย สำหรับงบดุลเราจะสินทรัพย์เป็นตัวหาร ประโยชน์ของการวิเคราะห์แนวดิ่งคือ

    • ใช้ในการเปรียบเทียบสัดส่วนต่อยอดขายหรือสัดส่วนต่อสินทรัพย์ของแต่ละรายการในงบกำไรขาดทุนหรืองบดุล การวิเคราะห์นี้ทำให้เราทราบว่ารายการใดมีสัดส่วนมากหรือน้อยแค่ไหน เช่นค่าใช้จ่ายเงินเดือนเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของยอดขายเมื่อเรานำไปเทียบกับคู่แข่งขันที่จ่ายเงินเดือนเป็นร้อยละ 10 ของยอดขายทำให้เราทราบว่าเรามีค่าใช้จ่ายรายการนี้สูงกว่าคู่แข่งขันมาก
    • เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ทันท่วงที
    • เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของแต่ละปีและแต่ละรายการในงบได้
  • เทคนิคที่ 3 การวิเคราะห์แบบแนวโน้ม (Trend analysis)เป็นการวิเคราะห์คล้ายแบบแนวนอน แต่ไม่ได้เปรียบเทียบปีต่อปี จะเป็นปีแรกที่วิเคราะห์เป็นปีฐาน เช่น เราจะวิเคราะห์ 5 ปี โดยเริ่มจากปี 2554-2558 เราก็จะใช้ตัวเลขของปี 2554 เป็นปีฐานคือเป็นปีที่นำมาลบและนำมาหารกับปีถัดไปนั่นเองเพื่อดูแนวโน้มว่าตั้งแต่ปี 2554 รายการใดมีแนวโน้มดีขึ้นหรือแย่ลง มักนิยมทำเป็นรูปแบบเปอร์เซนต์มากกว่าตัวเลข แต่นักวิเคราะห์การเงินบางคนก็ทำทั้งสองรูปแบบคือตัวเงินและเปอร์เซ็นต์ ประโยชน์ของการวิเคราะห์แบบแนวโน้มคือ

    • ใช้ดูแนวโน้มของกิจการว่ายอดขายดีขึ้นหรือแย่ลงจากปีฐาน และดูรายการอื่นๆที่สำคัญเช่นกำไรหรือสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหรือไม่
    • เพื่อนำไปพยากรณ์หรือจัดทำประมาณการงบกำไรขาดทุนในอนาคตเพราะเราทราบถึงแนวโน้มของแต่ละรายการแล้ว
  • เทคนิคที่ 4 การวิเคราะห์แบบอัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratio analysis)เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรายการในงบการเงินเดียวกันและนำผลไปเปรียบเทียบกับปีอื่นๆด้วย รวมทั้งยังสามารถนำไปเปรียบเทียบกับอัตราส่วนทางการเงินของคู่แข่งขันหรือบริษัทใหญ่ๆที่เราต้องการจะเปรียบเทียบก็ได้ การวิเคราะห์ในแบบอัตราส่วนนี้นักวิเคราะห์การเงิน เจ้าหน้าที่สินเชื่อและนักลงทุนนิยมจัดทำเพื่อใช้ดูสถานะความแข็งแรงของกิจการนั้น ดูความสามารถของผู้บริหารว่าดำเนินธุรกิจดีหรือไม่และดูฐานะของกิจการว่ามั่นคงไหม บางคนเรียกการวิเคราะห์แบบนี้ว่าเป็นการตรวจสุขภาพทางการเงินของกิจการ การวิเคราะห์แบบอัตราส่วนนี้จะทำให้ผู้บริหารและนักวิเคราะห์ทราบถึงสภาพที่แท้จริงของกิจการได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยมีการวัดอัตราส่วนทางการเงินเป็น 4 ด้านดังนี้

    • วัดสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity ratio)
    • วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability ratio)
    • วัดประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์ (Asset management ratio)
    • วัดความสามารถในการชำระหนี้ (Debt management ratio หรือ Leverage ratio)

เทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินทั้งสี่แบบทำให้เราทราบถึงรายละเอียดของกิจการมากขึ้นนอกเหนือจากการอ่านงบการเงินเพียงอย่างเดียว สำหรับนักวิเคราะห์และผู้บริหารระดับสูงของกิจการนิยมใช้พร้อมกันทั้งสี่เทคนิคในการวิเคราะห์การเงิน ซึ่ง BSC จะอธิบายการจัดทำการวิเคราะห์ในบทถัดไปเพื่อให้ง่ายและสะดวกในการวิเคราะห์ของคุณ โดยจัดทำเป็นรูปแบบ spread sheet ให้ผู้สนใจนำไปฝึกใช้ได้ และเพื่อประโยชน์ให้กับเจ้าของกิจการในการพยากรณ์ยอดขายและจัดทำประมาณการเพื่อวางแผนกิจการต่อไปได้

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน โปรแกรมบริหารธุรกิจ ,bplus ,businessplus ,erp ,Program ERP ,Software ERP ,โปรแกรม ERP , ระบบ ERP,ระบบบัญชี  ,โปรแกรมบัญชี ซื้อขาด ,โปรแกรมบัญชีราคาถูก ,โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ,โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ,โปรแกรมสต๊อกสินค้า,โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี ,โปรแกรมสินค้าคงคลัง ,ระบบstockสินค้า ,ระบบบริหารสินค้าคงคลัง ,ระบบบัญชี รายเดือน ,โปรแกรมบริหารการขาย,จัดการสต็อก ,บริหารจัดการหลังร้าน,บัญชีonline, บัญชีoncloud,ระบบบัญชีรายเดือน,โปรแกรมบัญชีoncloud ,ระบบบัญชีERP ,โปรแกรมบัญชีที่ครอบคลุมที่สุด ,โปรแกรมระบบบัญชีที่นิยม ,ซอฟต์แวร์บัญชี ,บริหารสินค้าคงคลัง ,express , excel ,โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

การจัดทำการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนี้จะถูกแบ่งให้เป็น 4 ด้านเพื่อวัดความสามารถในแต่ละด้านของกิจการเอง และยกตัวอย่างกรณีศึกษาโดยนำอัตราส่วนทางการเงินของโฮมโปรและโกลบอล มาเปรียบเทียบ เพราะเป็นธุรกิจคล้ายกันและยังเป็นธุรกิจที่เป็นผู้นำของธุรกิจประเภทนี้รวมทั้งหาข้อมูลได้ง่ายเพราะจดทะเบียนบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย การวิเคราะห์ความสามารถของกิจการเองและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับธุรกิจที่เป็นตัวอย่างจะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงและแก้ไขการบริหารงานที่เป็นจุดอ่อนของกิจการได้ ผู้วิเคราะห์ที่ต้องการเปรียบเทียบกับกิจการอื่นนั้นจำเป็นต้องเลือกธุรกิจที่เหมือนหรือคล้ายกันกับธุรกิจที่จะวิเคราะห์เพราะผลการวิเคราะห์จะทำให้เราปรับปรุงงานได้ดีขึ้น 

ขอนำตัวอย่างบริษัท บ้านดี จำกัดมาวิเคราะห์ตามตารางข้างล่างนี้

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน โปรแกรมบริหารธุรกิจ ,bplus ,businessplus ,erp ,Program ERP ,Software ERP ,โปรแกรม ERP , ระบบ ERP,ระบบบัญชี  ,โปรแกรมบัญชี ซื้อขาด ,โปรแกรมบัญชีราคาถูก ,โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ,โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ,โปรแกรมสต๊อกสินค้า,โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี ,โปรแกรมสินค้าคงคลัง ,ระบบstockสินค้า ,ระบบบริหารสินค้าคงคลัง ,ระบบบัญชี รายเดือน ,โปรแกรมบริหารการขาย,จัดการสต็อก ,บริหารจัดการหลังร้าน,บัญชีonline, บัญชีoncloud,ระบบบัญชีรายเดือน,โปรแกรมบัญชีoncloud ,ระบบบัญชีERP ,โปรแกรมบัญชีที่ครอบคลุมที่สุด ,โปรแกรมระบบบัญชีที่นิยม ,ซอฟต์แวร์บัญชี ,บริหารสินค้าคงคลัง ,express , excel ,โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี

วิธีการจะวิเคราะห์ให้สะดวกและเข้าใจง่ายเราควรใส่ในแบบฟอร์มตามนี้ซึ่งผู้อ่านไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้เพราะในท้ายบทนี้จะมีแบบฟอร์มการผูกสูตรที่สำเร็จรูปให้กับผู้สนใจดาวน์โหลดและนำไปวิเคราะห์งบเองได้ ขออธิบายการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของบ้านดีโดยแบ่งอัตราส่วนวัดความสามารถเป็น 4 ด้านเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นคือ

  • ด้านที่ 1 วัดสภาพคล่องทางการเงิน บริษัทบ้านดี มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่น้อยลงจากปี 56 คือจาก 0.94 เท่าเป็น 0.55 เท่าในปี 57 เมื่อนำเปรียบเทียบกับอีกสองบริษัทแล้วก็มีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า แต่เมื่อนำมาหาค่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วทำให้อัตราส่วนนี้ดีขึ้นมาจากปี 56 คือมีสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วจำนวน 34 สตางค์ในขณะที่มีหนี้สินหมุนเวียน 1 บาทซึ่งอัตราส่วนนี้สูงกว่า 2 บริษัทใหญ่ แต่เนื่องจากอัตราส่วนนี้ได้ค่าน้อยกว่า 1 เท่าจึงทำให้บริษัทบ้านดีอาจมีปัญหาสภาพคล่องได้เมื่อเจ้าหนี้ระยะสั้นมาทวงเงินพร้อมกัน

  • ด้านที่ 2 วัดความสามารถในการทำกำไร อัตราส่วนกำไรขั้นต้นในปี 57 ต่ำกว่าปี 56 คือจากกำไรขั้นต้นร้อยละ 13.8 เหลือร้อยละ 12.94 ต่อยอดขายและเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสองบริษัทใหญ่แล้ว บ้านดีก็ยังทำกำไรได้ต่ำกว่ามากในขณะโฮมโปรมีกำไรขั้นต้นสูงทำให้เราทราบว่าบ้านดีมีต้นทุนขายที่สูงมาก และเมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วก็จะได้อัตราส่วนกำไรสุทธิ ซึ่งทำให้พบว่าบ้านดีมีกำไรสุทธิในปี 56 เท่ากับร้อยละ 0.52 และปี 57 เท่ากับร้อยละ 1.08 ในขณะที่โฮมโปรมีอัตราส่วนกำไรสุทธิสูงกว่าเท่ากับ 6.47% และยังมีกำไรสูงกว่าโกลบอลด้วย พอสรุปว่าบ้านดีทำกำไรได้ในอัตราส่วนที่ต่ำมากคือมียอดขาย 100 บาทแต่กำไรสุทธิเพียง 1.08 บาทเท่านั้น อัตราส่วนต่อมาคืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) บ้านดีก็ยังมีผลตอบแทนที่ต่ำเช่นกันคือเท่ากับ 3.67% ในปี 57 ในขณะที่โฮมโปรสูงถึง 11.51% และ โกลบอลประมาณ 5.43% อย่างไรก็ตามบริษัทบ้านดีกลับมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นมีค่าสูงถึง 41.83% และสูงกว่า 2 บริษัทใหญ่เพราะมีเงินทุนที่จำนวนน้อยกว่าสองบริษัทนั้นเมื่อนำเงินทุนมาหารกำไรสุทธิจึงได้ค่าที่สูง แสดงว่าเงินทุนจำนวน 100 บาทของผู้ถือหุ้นบ้านดี สามารถไปทำกำไรได้สูงถึง 41.83%

  • ด้านที่ 3 วัดประสิทธิภาพการจัดการเงินทุนหมุนเวียน มีอัตราส่วนที่นิยมใช้หลายตัวแต่จะวิเคราะห์ที่สำคัญๆ โดยเริ่มจากอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ซึ่งบ้านดีมีค่าสูงถึง 3.4 เท่าและสูงกว่าบริษัทใหญ่ 2 แห่งนั่นแสดงว่าทรัพย์สินมูลค่า 100 บาททำให้มีเกิดยอดขายได้สูงเป็น 3.4 เท่าของการใช้สินทรัพย์นั้น อัตราส่วนต่อมาคือระยะเวลาการเก็บหนี้ซึ่งปี 56 มีระยะสั้นเพียง 3.23 วันแต่ปี 57 เพิ่มขึ้นเป็น 11.21 วันและมีจำนวนวันใกล้เคียงกับระยะเวลาการเก็บหนี้ของโฮมโปร อัตราส่วนถัดมาที่จะวิเคราะห์คือระยะเวลาการเก็บสินค้าคงคลังเท่ากับ 143.64 วันแสดงว่าบริษัท บ้านดี มีสต๊อกจำนวนมากและเก็บนานถึง 143 วันถึงจะขายได้ แต่ระยะเวลาการเก็บสต๊อกของโฮมโปรสั้นกว่าคือประมาณ 75 วัน และการเก็บสต๊อกของโกลบอลค่อนข้างเก็บนานถึง 189 วัน อัตราส่วนสุดท้ายที่จะวิเคราะห์คือระยะเวลาการชำระเงินให้กับเจ้าหนี้การค้าค่อนข้างสั้นมากคือ 22 วันในปี 2557 แสดงว่าได้รับเครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ในระยะเวลาที่สั้น แต่บริษัทโฮมโปรมีความสามารถในการต่อรองสูงจึงได้เทอมการชำระเงินที่ยาวกว่าคือ 119 วันแสดงว่าเมื่อโฮมโปรซื้อสินค้าแล้วกว่าจะชำระเงินก็อีก 4 เดือนแต่สามารถการเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้เพียง 11 วันทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนถึง 108 วันที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและยังสามารถนำไปฝากเพื่อรับดอกเบี้ยเงินฝากได้อีกด้วย

  • ด้านที่ 4 วัดความสามารถในการชำระหนี้และความเสี่ยง อัตราส่วนตัวแรกคืออัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม(Debt ratio) ที่สูงมากคือมีหนี้สินเป็น 1.86 เท่าของสินทรัพย์รวม เมื่อนำเปรียบเทียบกับสองบริษัทใหญ่ซึ่งมีหนี้เพียง 0.65เท่าและ 0.33 เท่าต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนตัวที่สองเป็นอัตราส่วนที่เจ้าหนี้และนักการเงินนิยมใช้มากคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to equity ratio) จะสังเกตเห็นว่าบริษัทบ้านดีมีหนี้สินที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับทุนคือ มีหนี้สิน 21.33 บาทในขณะที่มีทุน 1 บาทเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ถือว่าสูงมาก ในขณะที่โฮมโปรมีหนี้สินต่อทุนเพียง 1.82 เท่าทั้งๆที่มีการลงทุนเปิดสาขาใหม่ๆทั่วประเทศอยู่จำนวนมาก ต่อมาเป็นอัตราส่วนที่แสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ย บริษัทบ้านดีได้ค่าอัตราส่วนนี้เท่ากับ 1.58 เท่า แสดงว่าบ้านดียังมีกำไรเพียงพอในการจ่ายดอกเบี้ยเป็น 1.58 เท่าของดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย แต่ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยยังไม่สูงเท่ากับอีกสองบริษัทใหญ่ เพราะโกลบอลสามารถชำระดอกเบี้ยได้ 7 เท่าและโฮมโปรชำระได้เป็น 10 เท่า

    เมื่อเราได้วิเคราะห์ทีละด้านของกิจการแล้วก็มาสรุปเป็นภาพรวมว่า บริษัท บ้านดี มีจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ที่สูง มีการเก็บหนี้ได้เร็ว และมีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูง รวมทั้งยังทำกำไรเพียงพอที่จะชำระดอกเบี้ยได้ สำหรับจุดด้อยคือ มีทุนน้อยและมีหนี้จำนวนมากทำให้หนี้สินต่อทุนสูงถึง 21.22 เท่า และมีความสามารถในการทำกำไรค่อนข้างต่ำเพราะมีกำไรสุทธิเพียง 1.08% เท่านั้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่องได้เพราะมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำ

ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

การจัดทำงบกระแสเงินสดแบบง่าย

เทคนิคการบริหารเงินสดให้มีสภาพคล่อง

เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสด ให้เพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ ต้องทำอย่างไร

ตารางสรุป อัตราส่วน ทางการเงิน

สูตรสำเร็จตรวจเช็กสุขภาพการเงินธุรกิจ

6 กฎเหล็ก บริหารกระแสเงินสดให้ธุรกิจรุ่ง