จะบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างไร โดยไม่มี “เอกสารใบเสร็จ”

สำหรับรายจ่ายของกิจการ มักจะพบปัญหาบ่อยครั้งเกี่ยวกับการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไป แต่ทางผู้ให้บริการไม่สามารถออกบิลใบเสร็จให้ได้  ทำให้นักบัญชีไม่สามารถบันทึกบัญชีได้ หรือไม่ถือว่ารายจ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ทำให้สภาพทางการเงินของกิจการไม่ตรงความเป็นจริง และเมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายต่ำ สิ่งที่ตามมาคือคุณเสียภาษีมากกว่าความเป็นจริง

เพราะตามหลักของกรมสรรพากรแล้ว เงินที่จ่ายออกไปนั้นจะต้องมีหลักฐานการชำระเงิน เช่น บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบกำกับสินค้า ใบแจ้งหนี้ เป็นต้น ถ้าไม่มีใบเสร็จรับเงิน ก็ต้องมีหลักฐานผู้รับเงิน ว่าเป็นจ่ายออกไปเพื่อใคร และสำหรับทำอะไร

ไม่มีบิล แล้วจะทำบัญชีอย่างไร

ยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่มักจะไม่มีใบเสร็จรับเงิน ที่มักจะสร้างปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการ นั่นคือ

  1. ค่ารถแท็กซี่
  2. ค่ารถจักรยานยนต์รับจ้าง
  3. รถตู้โดยสาร
  4. ซื้อวัตถุดิบจากตลาดสด หรือ จากบุคคลธรรมดา

ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการคงทราบแล้วว่า ค่าใช้จ่ายข้างต้นนั้นไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้เอกสารภายในที่จัดทำขึ้นเอง โดยให้พนักงานที่ไปรับบริการหรือซื้อสินค้าเขียนรายการ และเซ็นต์ชื่อรับรอง แทนหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น

  1. ใบรับรองใบเสร็จรับเงิน
  2. ใบเบิกเงิน รายงานการเดินทาง
  3. ใบขออนุมัติ

ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

รายละเอียดในใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินทีควรมี

1.การออกใบแทนใบเสร็จรับเงิน จำเป็นต้องมี

  • ชื่อหัวกระดาษระบุให้ชัดเจน “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน”
  • ชื่อบริษัท ที่อยู่บริษัท
  • วัน เดือน ปี
  • รายการที่จ่าย
  • จำนวนเงิน ทั้งตัวเลข ตัวอักษร
  • หมายเหตุ
  • ชื่อผู้จ่ายชำระเงิน รับรองการจ่ายเงิน เป็นต้น
  • ชื่อผู้อนุมัติการการจ่ายเงิน

2.รายละเอียดในการเขียนใบเสร็จรับเงินจะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ข้อดังนี้

  1. ระบุวัตถุประสงค์ในการเดินทาง เช่น นำสินค้าไปส่งให้ลูกค้า นำเงินไปฝากธนาคาร ฯลฯ
  2. รายละเอียดการเดินทาง ระบุต้นทาง ปลายทาง เช่น
    • ขาไป: เดินทางจากบริษัทไปธนาคาร สาขาบางใหญ่   ค่าแท็กซี่ 200 บาท
    • ขากลับ: เดินทางจากธนาคาร สาขาบางใหญ่   กลับบริษัท ค่าแท็กซี่ 200 บาท รวมเงิน 400 บาท
  3. ต้องได้รับการอนุมัติ (ลายเซ็น) จากผู้มีอำนาจอนุมัติหรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ

ในกรณีของค่าพาหนะที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินนี้

ผู้ประกอบการอาจเลือกวิธีการหนึ่งวิธีการใดดังต่อไปนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินได้อีกเช่นกัน

1. ทำใบรับเงินให้ผู้รับเงินเซ็นรับเงินพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2. จ่ายเช็คขีดคร่อม A/C Payee Only โดยทำสำเนาแนบใบสำคัญจ่าย

3. โอนเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงิน นำสำเนาใบโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (Pay-in) เป็นหลักฐานพร้อมใบสำคัญจ่าย

**และหลักฐานการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ในกรณีที่จ่าย 1000 บาทขึ้นไป**

 

Bplus ERP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริหารเงินทดรองจ่าย

  1. บริหารเงินทดรองจ่าย ตรวจสอบเงินทดรองจ่ายกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และเงินทดรองจ่ายคงเหลือของพนักงานผู้รับผิดชอบ
  2. ควบคุมเงินทดรองจ่ายต่อบุคคลได้หลายวงเงินตามประเภทของงานได้อย่างดีสมุดเงินสดแยกตามพนักงานผู้ขอเบิกเงินทดรองจ่าย เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบยอดตั้งเบิก และยอดเงินคงเหลือของผู้ถือเงิน
  3. ปิดช่องทางทุจริต  ทั้งการอนุมัติจ่ายตาม Document control และการตรวจสอบกระทบยอด Reconcile