2.2 เป็นผู้ช่วย HR ในการคำนวณเงินได้หรือสวัสดิการต่างๆของพนักงานที่นอกเหนือเงินเดือน สามารถกำหนดสูตรการคำนวณได้อย่างยืดหยุ่น และ หลากหลายให้เข้ากับแต่ละกิจการได้ง่าย ๆ เช่น
- เงินพิเศษจากยอดขาย อาทิ ค่าincentive ค่าคอมมิชชั่น ค่าเชียร์สินค้าและค่าเป้า ซึ่งบริษัทจะจ่ายเงินพิเศษจากยอดขายให้กับพนักงานทุกคนที่อยู่ประจำที่ห้างสรรพสินค้าหรือshopนั้นๆ เมื่อยอดขายถึงเป้าที่ตั้งไว้ เช่น
- แบบจ่ายค่าคอมมิชชั่นตามจำนวนชิ้นที่ขายได้ จะจ่ายเป็นอัตรา% ใช้สำหรับสินค้าที่ขายยาก ซึ่งจะจ่ายค่าคอมมิชชั่นแยกตามสินค้าแต่ละชิ้น
- แบบค่าคอมมิชชั่นตามยอดขาย จะจ่ายเป็นอัตรา% ตามที่บริษัทตั้งเป้าไว้ โดยจ่ายค่าคอมมิชชั่นตามขั้น เช่น 10,000-50,0000ได้ค่าคอมมิชชั่น3% 50,001-100,000 ได้ค่าคอมมิชชั่น 5% ถ้าได้ยอดเกินเป้า ก็จะได้ค่าเป้าเพิ่มอีก เป็นต้น
- หากมีเงื่อนไขที่พิเศษและต้องใช้ข้อมูลประกอบจากแหล่งอื่น ๆ เพิ่ม ระบบยังสามารถช่วยการทำงานด้วยวิธี EXPORT ข้อมูลไปจัดแต่งใน EXCEL และ นำเข้าไฟล์ Excel ซึ่งการคิดค่าคอมมิชชั่น เข้าระบบได้
- เงินได้พิเศษที่ได้ตามที่ตั้งของแต่ละห้าง หรือสาขา หรือ SHOP เช่น
- ค่าพื้นที่และ ค่าเดินทาง บริษัทจะจ่ายให้กับพนักงานรายเดือนที่อยู่ประจำตามห้างสรรพสินค้าหรือสาขา ซึ่งแต่ละสาขาจะได้ค่าพื้นที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าทำงานที่สาขาชิดลมจะได้ค่าเดินทาง 1,500 บาท ค่าพื้นที่ 2,000 บาท ทำงานที่สาขาแจ้งวัฒนะจะได้ค่าเดินทาง 500 บาท ค่าพื้นที่ 750 บาท เป็นต้น
- ค่าชำนาญการ เงินได้พิเศษที่ให้กับพนักงานตำแหน่งอาวุโสที่อยู่ประจำตามห้างสรรพสินค้าหรือสาขา ซึ่งแต่ละสาขาจะได้ค่าชำนาญการแตกต่างกัน
- ค่าอาหาร บริษัทจะจ่ายให้กับพนักงานแคชเชียร์ที่อยู่ประจำตามห้างสรรพสินค้าหรือสาขาเป็นอัตราต่อวัน ซึ่งแต่ละสาขาจะได้ค่าอาหารแตกต่างกัน
- กรณีการทำงานไม่ครบงวด หรือ ยังทดลองงานยังไม่บรรจุ หรือลาออก มีผลต่อการได้หรือได้แบบคำนวณตามวันทำงานหรือไม่ได้เงินพิเศษ เงินพิเศษต่าง ๆ ถ้าพนักงานเริ่มงานหรือลาออกระหว่างเดือน โปรแกรมสามารถเฉลี่ยค่าเป็นต่อวัน และจ่ายให้พนักงานตามจำนวนวันที่ทำงานในเดือนนั้นได้ เช่น
- ค่าตำแหน่งแคชเชียร์ จะได้เฉพาะพนักงานตำแหน่งนี้เท่านั้น หากลาหรือขาดงานก็จะถูกหักออกตามค่าตำแหน่งต่อวัน
- คอมมิชชั่น หรือ ค่าเชียร์ พนักงานผ่านทดลองงานเท่านั้นจะได้รับโดยให้อัตโนมัติ
- ถ้ายังไม่ผ่านทดลองงานบันทึกยอดขายเพื่อเก็บสถิติผลงานเพื่อลดงานฝ่ายบุคคล
- ไม่ผิดพลาด ไม่ลืม วันครบทดลองงานพนักงานแต่ละคน โปรแกรมคำนวณวันอัตโนมัติ
2.3 กลุ่มพนักงานปฏิบัติการขาย เวลาการทำงานจะอิงตามเวลาเปิด-ปิดห้างสรรพสินค้า เช่น เข้างาน 10.00น.เลิกงาน 19.00 น. กะสุดท้าย13.00น. เลิกงาน 22.00น. หรือพนักงานPart time เข้างาน 17.00น.เลิกงาน22.00น.โดยโปรแกรมรองรับการตั้งกะการทำงานได้ไม่จำกัดและยังสามารถกำหนดเงื่อนไขข้อตกลงการทำงานได้หลากหลายและยืดหยุ่นให้สามารถปรับใช้ได้ตามข้อตกลงแต่ละห้าง ทำให้ HR อาจจะต้องเริ่มต้นกำหนดข้อตกลงในการทำงานให้เรียบร้อยเมื่อเริ่มต้นใช้ระบบ เมื่อทำเสร็จหลังจากนั้นทุกอย่างจะอัตโนมัติมากขึ้นและจะลดเวลาการปฎิบัติงานประจำแต่ละงวดของ HR อย่างมาก เช่น
- กะการทำงานวันทำงานปกติ ของพนักงานรายเดือนและรายวัน จะมีหลายช่วงเวลาและมีเงื่อนไขข้อตกลงเงินเพิ่มเงินหักของแต่ละกะ เช่น
- ไม่มาทำงานเก็บสถิติขาดงาน 8 ชม.และหักเงิน
- ไม่บันทึกเวลาเข้างาน เก็บสถิติไม่บันทึกเวลาเข้า แต่ไม่หักเงิน
- มาสายเกิน 30 นาที เก็บสถิติมาสายเป็นหน่วยชั่วโมง และหักเงิน
- กะการทำงานวันทำงานปกติของพนักงานPart Timeจะเหมือนการทำงานของพนักงานประจำ แต่มีเงื่อนไขของข้อตกลงเงินเพิ่มเงินหักของแต่ละกะ เช่น
- ไม่มาทำงาน ตัดจำนวนวันทำงาน โดยไม่เก็บสถิติขาดงาน
- มาสาย เก็บสถิติมาสายเป็นชั่วโมงตามจริง แต่ไม่หักเงิน
2.4 วันหยุดประจำสัปดาห์พนักงานกลุ่มนี้จะมีวันหยุดที่ไม่คงที่และตายตัว เช่นใน 1 สัปดาห์ อาจทำงาน 7 วันต่อเนื่องและไปหยุดในสัปดาห์ถัดไป 2 วัน ขึ้นอยู่กับงานและอัตรากำลังพลในแต่ละสาขาซึ่งผู้จัดการสาขา (Shop)ของแต่ละสาขาจะเป็นคนกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ของพนักงานเอง
2.5 วันหยุดประเพณี แต่ละคนจะมีวันหยุดประเพณีไม่เหมือนกัน ซึ่งผู้จัดการสาขาจะเป็นผู้กำหนดวันหยุดประเพณีให้ HR ประกาศแจ้งพนักงานได้ด้วยวิธีสะดวกรวมเร็ว และถึงเข้าถึงพนักงาน
3. การตัดรอบจ่ายเงินเดือน เป็นแบบการจ่ายเดือนละครั้ง แต่รอบการจ่ายเงินเดือนของพนักงานประจำสำนักงานและพนักงานปฏิบัติการขายอาจแตกต่างกัน เช่น
- พนักงานประจำสำนักงาน ตัดรอบวันที่1-31 จ่ายเงินสิ้นเดือน
- พนักงานปฏิบัตการขาย ตัดรอบวันที่ 21-20 จ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน
4. รองรับการคิดคำนวณค่าแรง เงินได้เงินหักต่างๆ ภาษี ประกันสังคมของพนักงานที่อยู่ประจำห้างสรรพสินค้าหรือShopสาขาต่างๆโดยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายที่พนักงานสังกัดเท่านั้น
5. มีรายงานเปรียบเทียบยอดขายและค่าใช้จ่ายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และรายงานแสดงค่าแรงของพนักงานที่ทำงานประจำห้างสรรพสินค้าหรือสาขาต่างๆได้
6. การลา และ การให้ทำ OT เป็นเรื่องง่ายควบคุมได้ วางแผนบริหารกำลังพลได้ล่วงหน้า รายละเอียดเพิ่มเติม
- พนักงานสามารถใช้มือถือเข้ามาบันทึกลาเพื่อขออนุมัติ ยังสายงานได้โดยไม่ต้องบันทึกเอกสาร
- พนักงานรับทราบการอนุมัติลาทาง email เพื่อความสะดวกเปิดอ่านได้ที่มือถือโดยไม่ต้องคอยติดตามมายังสำนักงาน รายละเอียดเพิ่มเติม
- พนักงานทราบล่วงหน้าว่าวันใดที่ต้องทำ OT เพิ่มเพื่อรองรับกำลังพลที่ลา หรือ เพื่อช่วยงานขายพิเศษต่าง ๆ เช่น ลดราคาประจำปี ลดราคาเทศกาลสำคัญ เป็นต้น
- ผู้จัดการแต่ละสาขาจะส่งข้อมูลการลา และการอนุมัติค่าล่วงเวลามาให้ฝ่ายบุคคลที่สำนักงานใหญ่บันทึกเข้าโปรแกรมเพื่อคำนวณเงินเดือน รายละเอียดเพิ่มเติม
7. พนักงานที่ประจำตามสถานที่ต่างๆ ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมีรับเอกสาร หรือ ลดค่าใช้จ่ายในการแจก PLAYSLIP ให้พนักงานตามสถานที่ต่างๆ ที่ทำงาน โดยสามารถรับ PAYSLIP ได้ที่มือถือของพนักงาน รายละเอียดเพิ่มเติม
Business Plus HRM ช่วยให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพและลดระยะเวลาการทำงาน เพื่อจะได้มีเวลาไปพัฒนาบุคลากร และงานบริหารทรัพยากรบุคคลได้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น