ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?

"ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุและลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์ซึ่งปัจจุบันมาทำงานไม่ได้กว่า 30 วันแล้ว บริษัทจะสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่ เพราะบริษัทเองก็ไม่สามารถ แบกรับค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน?"


1.ตามกฎหมายแล้วลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ตามมาตรา 32 และมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาป่วยปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน ตามมาตรา 57
2.หากลูกจ้างลาป่วยมากไปกว่านั้น จะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยเกิน 30 วัน รวมถึงลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีภายหลังจากวันลาป่วยพ้นระยะเวลา 30 วันทำงานดังกล่าว โดยอาจถือได้ว่าสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีภายหลังวันลาป่วย 30 วันทำงาน ได้เกลื่อนกลืนกันไปในวันลาป่วยของลูกจ้าง ที่ลาป่วยโดยไม่มีสิทธิ์รับค่าจ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดให้จ่าย (อ้างอิง หนังสือข้อหารือกฎหมายแรงาน ที่ รง 0504/0876 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548)


สรุป ความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การที่ลูกจ้างมาทำงานไม่ได้เป็นเวลา กว่า 30 วันใน 30 วันแรกนายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างอยู่ หลังจากนั้นลูกจ้างก็ยังมีสิทธิ์ในการลาป่วยเพียงแต่ไม่รับค่าจ้าง

และกรณีหากไปเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวถือว่าลูกจ้างไม่มีความผิดนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย และรวมถึงค่าตกใจอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากการเจ็บป่วยนั้น ทำให้ลูกหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุการหย่อนสมรรถภาพในการทำงานดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม(ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป)



ที่มา เพจ คลินิกกฎหมายแรงงาน

 

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน

ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง

ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม

ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง

เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้

เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่

เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่

เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?

เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่

“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?