เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?

             เมื่อลูกจ้างในกิจการรักษาความปลอดภัย รับส่งทรัพย์สินเติมเงินตู้ ATM ได้เบิกอาวุธปืนจากบริษัท เพื่อใช้ในการปกป้องทรัพย์สินจากการถูกโจรกรรมแต่ลูกจ้างกลับทำอาวุธปืนที่เบิกมานั้นหาย จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง สิ่งที่นายจ้างทำสมควรแล้วหรือ คดีนี้มีคำตอบ

             คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างปฎิบัติหน้าที่หัวหน้าชุดฝ่ายบริหารเงินสด มีหน้าที่เติมเงินตู้ ATM และรับส่งทรัพย์สิน ได้ทำการเบิกอาวุธปืนพร้อมด้วยกระสุนปืนเพื่อใช้ป้องกันดูแลทรัพย์สินจากการถูกโจรกรรมระหว่างที่ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่รับส่งทรัพย์สิน ต่อมาเมื่อลูกจ้างปฏบัติหน้าที่ของตนเองเสร็จสิ้นแล้ว กลับไม่ได้เอาอาวุธปืนที่เบิก คืนให้กับนายจ้างตามระเบียบ เมื่อนายจ้างได้ตรวจสอบก็ได้พบว่า ลูกจ้างนั้นทำอาวุธปืนหาย นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้าง เนื่องจากทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทหาย เป็นความผิดร้ายแรง ลูกจ้างไม่ยอมและร้องต่อศาลว่านายจ้างทำเกินกว่าเหตุ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

             คดีขึ้นสู่ศาล ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ลูกจ้าง ไม่ดูแลและปฏิบัติตามระเบียบทำให้อาวุธปืนและกระสุนปืนสูญหาย นายจ้างเลิกจ้างได้ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย คดีนี้ศาลท่านเห็นว่าลูกจ้างเป็นหัวหน้าชุดฝ่ายบริหารเงินสด มีหน้าที่เติมเงินตู้ ATM รับส่งทรัพย์สินของนายจ้าง ดังนั้นอาวุธปืนและกระสุนของนายจ้าง ที่เบิกไปใช้จึงมีความสำคัญต่อการปฏบัติหน้าที่ในการป้องกันดูแลทรัพย์สิน ให้มีความปลอดภัยจากการถูกโจรกรรม เนื่องจากการประกอบธุรกิจของนายจ้างเป็นการรับเสี่ยงภัย ล่อแหลมที่อาจเกิดขึ้นได้จากอาชกรทางทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งข้อบังคับของนายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างต้องช่วยดูแลทรัพย์สินของนายจ้างมิให้สูญหายและมีระเบียบวิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับนโยบายอาวุธปืนในประเทศไทย ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เบิกอาวุธปืนและกระสุนปืน ต้องมีความรับผิดชอบดูแลรักษาอาวุธปืนและกระสุนปืน ตั้งแต่ต้นจนเมื่อเสร็จงานในแต่ละวัน จะต้องนำมาคืนนายจ้าง ดูแลมิให้ทิ้งอาวุธปืนไว้ในรถและห้ามฝากอาวุธปืนไว้กับบุคคลอื่น การที่ลูกจ้างเป็นหัวหน้าชุดฝ่ายบริหารเงินสด ปล่อยปละ ละเลย มิใช้ความระมัดระวังดูแลอาวุธปืนที่มีอานุภาพร้ายแรง สามารถทำร้ายผู้อื่นได้ถึงชีวิต การกระทำของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นกรณีประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

             ทรัพย์สินสำคัญของบริษัทเมื่อนำไปใช้ ต้องเก็บรักษาไว้อย่างดี ยิ่งเป็นอาวุธปืนยิ่งต้องให้ความสำคัญในการเก็บรักษาไว้อย่างถึงที่สุด เพราะถ้าเกิดไปอยู่ในมือของคนไม่ดีอาจจะสร้างอันตรายต่อผู้อื่นได้

 

อ้างอิง คำพิพากษศาลฎีกาที่ 2654/2561

ที่มา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

 

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน

ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง

ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม

ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?

หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง

เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้

เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่

เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่

เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่

“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?