ลูกน้องไม่มีความรับผิดชอบ จัดการอย่างไร

          การมีลูกน้องที่ขาดความรับผิดชอบอาจส่งผลกระทบต่อทีมและประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร หากปล่อยไว้โดยไม่จัดการ อาจทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังและกระทบต่อขวัญกำลังใจของพนักงานคนอื่น

สิ่งสำคัญ การจัดการลูกน้องที่ไม่มีความรับผิดชอบต้องอาศัยทั้งความเข้าใจและความเด็ดขาดในเวลาเดียวกัน

  • พูดคุยอย่างตรงไปตรงมา แต่มีเหตุผล
  • กำหนดขอบเขตและเป้าหมายให้ชัดเจน
  • ให้โอกาสปรับปรุงตัว แต่ต้องมีเส้นตาย
  • หากไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาปรับบทบาทหรือให้ออก

น้องบีพลัสมีแนวทางในการจัดการลูกน้องที่ไม่มีความรับผิดชอบ มาฝากกัน

1.ย้ำกติกาในการทำงาน ทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบ บางครั้งลูกน้องอาจไม่เข้าใจขอบเขตงานของตัวเองอย่างชัดเจน ควรมีการ รีวิว Job Description และอธิบายความคาดหวังให้ชัดเจน เช่น งานต้องเสร็จเมื่อไหร่ มาตรฐานเป็นอย่างไร

2.เลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม คนแต่ละคนรับสารแตกต่างกัน บางคนเข้าใจจากการพูดตรงๆ แต่บางคนต้องใช้วิธีอ้อมๆ หรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เลือกวิธีพูดที่ตรงจุดแต่ไม่กดดันเกินไป

3.เปิดโอกาสให้ลูกน้องพูดคุยแบบเปิดใจว่าเกิดอะไรขึ้น บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้มาจาก "นิสัย" ของเขา แต่อาจมี ปัจจัยแวดล้อม เช่น งานเยอะเกินไป ไม่เข้าใจงาน หรือมีปัญหาส่วนตัว ลอง เปิดใจพูดคุยก่อนตัดสิน

4.ตัดเนื้อร้าย บางครั้งไม่มีประโยชน์ที่จะสู้กับคนประเภทนี้ หากพยายามแก้ไขแล้วแต่ไม่มีการปรับตัว อาจต้อง ลดบทบาท หรือพิจารณาการให้ออก เพราะการมีคนที่ไม่รับผิดชอบอาจส่งผลเสียต่อวัฒนธรรมองค์กรและขวัญกำลังใจของทีม

5.คิดก่อนทำ ชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียของเขา ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ลองดูว่าจุดแข็งของเขามีอะไรบ้าง และข้อเสียที่ว่ามีทางแก้ไขได้ไหม ถ้าปรับแล้วทีมยังได้ประโยชน์อยู่ ก็ควรให้โอกาสปรับตัว

 

ที่มา JobsDB