โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีการซื้อทรัพย์สินเข้ามาใช้ในกิจการ ทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทจะถูกบันทึกเอาไว้ในทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ ทะเบียนทรัพย์สินจะแสดงข้อมูลทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการ วันที่ซื้อ มูลค่าที่ซื้อ และมูลค่าคงเหลือ ณ ปัจจุบันหลังจากหักค่าเสื่อมราคา ผู้ประกอบการควรตรวจสอบทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ ดูว่ามีทรัพย์สินไหนบ้างที่มีระบุไว้ในทะเบียนทรัพย์สิน แต่ของจริงไม่มีอยู่แล้ว หรือของมีอยู่แต่ชำรุดไม่ได้ใช้งาน และทำการปรับปรุงให้ตรงกับความเป็นจริง ไปดูรายละเอียดกัน
กรณีทรัพย์สินชำรุด
- ทรัพย์สินชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้
- นำต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ตัดเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนไม่ได้
- เว้นแต่ทำลายหรือขายทรัพย์สินนั้น จึงมีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลืออยู่เป็นรายจ่ายได้ (ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามม.65ตรี)
กรณีขายทรัพย์ที่ชำรุด
นิตบุคคลต้องนำ "ราคาขายทรัพย์สิน" มารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณีทรัพย์สินสูญหาย
1.ทรัพย์สินมีประกัน / มีสัญญาคุ้มกัน
ถ้าผลเสียหายจากทรัพย์สินอาจจะได้รับกลับคืนมา จะตัดเป็นรายจ่ายไม่ได้ (ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม) ต้องรอจนกว่าจะได้รับค่าสินไหมที่ได้รับชดเชยจากประกันก่อน
- ถ้าผลเสียหาย > ค่าชดใช้ : ถือเป็นผลเสียหายที่มีสิทริหักเป็นรายจ่ายได้
- ถ้าผลเสียหาย < ค่าชดใช้ : ถือเป็นรายได้ ต้องนำมารวมกำไรสุทธิเพื่อเสียเงินได้นิติบุคคล
2.ทรัพย์สินไม่มีประกัน / มีสัญญาคุ้มกัน
- มูลค่าของต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน ถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบ
- มีสิทริตัดรายจ่ายได้ทั้งจำนวน (ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม)
- นิติบุคคลต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงว่าทรัพย์สินได้สูญหายจริงๆ
ที่มา เพจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี
09 November 2022
View
5,710