• ฝ่ายขาย 02-880-9700, 02-409-5409, 02-880-8800
  • ฝ่ายบริการ 02-880-8800
businessplus
businessplus
  • รายการจำนวนจำนวนเงิน
    ไม่มีรายการ
    สั่งซื้อสินค้า
    • รายการจำนวนจำนวนเงิน
      ไม่มีรายการ
      สั่งซื้อสินค้า
    1. Features
    2. e-Tax Invoice & e-Receipt

    e-Tax Invoice & e-Receipt

    e-Tax Invoice & e-Receipt

    ถึงแม้ว่าการใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt จะเป็นเรื่องที่หลายกิจการเริ่มใช้แล้ว แต่บางกิจการยังไม่ได้นำมาใช้  เพื่อไม่พลาดโอกาสเพิ่มยอดขายจากมาตรการที่รัฐบาลมักออกมาตรการลดหย่อนภาษี  เพื่อส่งเสริมการใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt ในแบบมาตรการลดหย่อนภาษี ที่ให้ผู้ซื้อนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ กิจการควรเร่งเตรียมพร้อม ติดตั้งระบบนี้เพื่อไม่พลาดโอกาสในการเพิ่มยอดขายและความน่าเชื่อถือในธุรกิจ

    ภาพรวมพื้นฐานวงจรการดำเนินการ

    สามารถนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้ 3 ช่องทาง

    ผู้ประกอบการจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้ 3 ช่องทาง

    1. Upload นำส่งข้อมูลด้วยวิธีการอัปโหลดผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
    2. Service Provider เป็นวิธีการนำส่งข้อมูลโดยผ่านผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
    3. Host to Host นำข้อมูลผ่านระบบนำส่งที่ผู้ประกอบการเชื่อมต่อกับกรมสรรพากรโดยตรง
    Let's get started

    Sevice Provider

    ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Sevice Provider) เป็นผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนผู้ประกอบการ (ผู้ใช้บริการ) ด้วยระบบรับส่งข้อมูลที่เชื่อมต่อกับระบบข้อมูลของกรมสรรพากร ที่มีมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยด้านระบบสารสนเทศและมีระบบงานสนับสนุนการทำงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติตามแนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษา e-Tax Invoice & e-Receipt จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการลงทุนหรือพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์หรือชอฟต์แวร์ด้วยตนเอง แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการนำส่งของSevice Provider ที่แยกจากค่าโปรแกรม Bplus e-Tax Invoice 

    เจ้าของกิจการ

    การตั้งค่าระบบ

    • กำหนดช่องทางการรับส่ง e-Tax Invoice
    • กำหนดช่องทางติดต่อตำแหน่งเก็บแฟ้มที่ใช้ร่วมกัน
    • กำหนดแก้ไขคุณสมบัติฐานข้อมูล

    HR

    กำหนดช่องทางการรับส่ง e-Tax Invoice ประเภทการส่ง ธุรกิจ 30 ล้านขึ้นไป


    HR

    การนำส่งผ่าน Tax Service Provider

    • ทำได้ง่ายๆ โปรแกรมตั้งค่าให้เรียบร้อยแล้ว เพียงเลือกว่าต้องการใช้บริการของ Service Provider ใด เช่น INET ซึ่งจะมีค่าบริการเพิ่มเติมใน การนำส่งผ่าน Tax Service Provider แต่ละทีต่างหากจากราคาโปรแกรม


    HR

    ตั้งค่าการรับเมล์ซื้อ

    • ตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์รับเมล์
    • ตั้งค่ากรณีเซิร์ฟเวอร์ต้องการรหัสลับ

    HR

    สะดวกในการช่องทางติดต่อตำแหน่งเก็บแฟ้มที่ใช้ร่วมกันไม่ว่าจะเป็น

    • ติดต่อผ่าน Local Drive
    • ติดต่อผ่าน Network Drive
    • ติดต่อผ่าน FTP
    • ติดต่อผ่าน Internet
    • กรณี Web Service ติดต่อผ่าน Local Drive
     

    เจ้าของกิจการ

    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับชื่อและรหัสประเภทเอกสารของ ETDA

    • รหัส 80 ใบเพิ่มหนี้ (Debit note)
    • รหัส 81 ใบลดหนี้ (Credit note)
    • รหัส 380 ใบแจ้งหนี้ (Invoice)
    • รหัส 388 ใบกำกับภาษี (Tax Invoice)
    • รหัส T01 ใบรับ (Receipt)
    • รหัส T02 ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี (Invoice/Tax Invoice)
    • รหัส T03 ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (Receipt/Tax Invoice)
    • รหัส T04 ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี (Delivery order/Tax Invoice)
    • รหัส T05 ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (Abbreviated Tax Invoice)
    • รหัส T06 ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (Receipt/Abbreviated Tax Invoice)
    • รหัส T07 ใบแจ้งยกเลิก (Cancellation note)

    รหัสประเภทเอกสาร Bplus ERP V.3

    • เอกสารขายเชื่อ
    • เอกสารขายสด
    • เอกสารรับคืนเชื่อ
    • เอกสารรับคืนสด
    • เอกสารใบเพิ่มหนี้
    • เอกสารใบลดหนี้
    • เอกสารรับมัดจำ
    • เอกสารคืนมัดจำ
    • เอกสารขายทรัพย์สินถาวร
    • เอกสารฝากขาย
    • เอกสารรับคืนฝากขาย

    HR

    การตั้งค่าระบบเอกสาร

    • ฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละระบบเอกสาร
    • เป็นเอกสาร e-Tax Invoice
    • ประเภทเอกสาร e-Tax Invoice


    HR

    การตั้งค่าระบบเอกสาร

    • สัญลักษณ์ระบบเอกสาร e-Tax Invoice

    เจ้าของกิจการ

    สะดวกง่ายลูกค้ารายใดต้องการส่งด้วยระบบ Bplus e-Tax Invoice เพียงระบุ email ที่ใช้ในการรับส่งใบกำกับภาษีในแฟ้มลูกหนี้ 

     

    เจ้าของกิจการ

    การบันทึกเอกสาร


    HR

    การบันทึกเอกสาร

    • เอกสารรับคืนเชื่อ
    • เอกสารรับคืนสด
    • เอกสารใบเพิ่มหนี้
    • เอกสารใบลดหนี้


    HR

    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

    เจ้าของกิจการ

    ส่ง e-Tax Invoice

    • ส่งใบกำกับภาษี e-Tax Invoice
    • ส่งXML และ PDF/A3B
    • ตรวจสอบสถานะการส่ง e-Tax invoice

    HR

    การส่ง e-Tax Invoice มีเครื่องมือจัดทำเป็นหมวดหมู่เพื่อส่งราชการตามความรับผิดชอบ  เลือกใช้ได้ตามสิทธิที่ควบคุม  


    HR

    ที่เก็บเอกสาร PDF/A3B และXML

    • สร้างชื่อไฟล์ตามวันที่ และเลขที่ใบกำกับภาษีอย่างอัตโนมัติ


    HR

    ตรวจสอบสถานะการส่ง e-Tax invoice ได้สะดวกไม่พลาด

    เจ้าของกิจการ

    ตรวจสอบทะเบียนภาษี

    • จัดทำรายงานตรวจสอบรายงานภาษีขายได้ทันที

    ประโยชน์ของการใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

     

    ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน

    ลดค่าใช้จ่ายลดการใช้กระดาษ

    เพิ่มประสิทธิภาพส่วนงานด้านภาษี

    มีการนำส่งภาษีแบบเรียลไทม์

    ข้อมูลทางภาษีมีความถูกต้องและแม่นยำ

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษา คลิก

    Overview

    ภาพรวมการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คลิก

    การเก็บรักษา e-Tax Invoice & e-Receipt

    1.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเก็บไว้อย่างไร
    ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจัดทำให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องเก็บข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์และต้องเก็บไว้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
    2.ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเก็บไว้นานเท่าใด
    ต้องเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ไว้ตามมาตรา 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี กรณีอยู่ระหว่าง การตรวจสอบภาษีอากรจะต้องเก็บไว้จนกว่าการตรวจสอบภาษีอากรจะแล้วเสร็จ
    3.เมื่อผู้ประกอบการเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์แบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ต่อมาเจ้าหน้าที่สรรพากรมาตรวจเอกสารจะให้ผู้ประกอบการทำอย่างไร
    เมื่อผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่มีอยู่ในระบบของกรมสรรพากร ซึ่งสามารถใช้ในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการ เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัย
    4.กรณีผู้ซื้อได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องดำเนินการอย่างไร
    เมื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้รับเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ PDF ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ผู้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัลด้วย เพื่อเป็นการพิสูจน์ ความถูกต้องของผู้จัดทำเอกสารและใช้ในการตรวจสอบว่าข้อมูลไม่ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง
    5.วิธีการเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรจึงจะถือว่าถูกต้อง
    ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเก็บรักษาไว้ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
    • ข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
    • ได้เก็บรักษาข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น ให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่ได้สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลนั้นหรืออยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้าง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และได้เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกำเนิด ต้นทางและปลายทางของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือได้รับข้อความดังกล่าว

    การส่งข้อมูล e-Tax Invoice & e-Receipt

    1.การนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรมีกี่ช่องทาง
    ผู้ประกอบการสามารถเลือกช่องทางการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรให้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจและความพร้อมของผู้ประกอบการ ได้ตามช่องทางดังนี้
    1. Host to Host เป็นการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำส่งข้อมูลโดยตรงกับกรมสรรพากร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
    2. Service Provider เป็นการนำส่งข้อมูลผ่านผู้ให้บริการตัวแทนที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนไม่มากนัก และไม่สะดวกในการจัดส่งข้อมูลด้วยตนเอง
    3. Upload File เป็นการนำส่งข้อมูลผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนไม่มากนัก
    2.หากต้องการเปลี่ยนช่องทางการนำส่งข้อมูล จะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อกรมสรรพากรหรือไม่
    ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนช่องทางการนำส่งข้อมูลได้ตามความเหมาะสมของตนเอง โดยไม่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อกรมสรรพากรแต่อย่างใด
    3.ผู้ประกอบการต้องนำส่งข้อมูลใดให้แก่กรมสรรพากรบ้าง
    ข้อมูลที่ต้องนำส่งกรมสรรพากรประกอบด้วย
    1. ใบกำกับภาษีเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
    2. ใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร
    3. ใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
    4. ใบเสร็จรับเงิน ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
    4.ข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำส่งให้กรมสรรพากรต้องเป็นรูปแบบใด
    ต้องจัดทำให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบ XML File ตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ขมธอ.3-2560) เวอร์ชัน 2.0 และต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หากข้อมูลไม่ถูกต้องระบบจะปฏิเสธการรับข้อมูล ต้องแก้ไขให้ถูกต้องและนำส่งใหม่อีกครั้ง
    5.การส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ผู้ประกอบการจะทราบได้อย่างไรว่านำส่งสำเร็จแล้ว
    กรมสรรพากรจะแสดงข้อความตอบรับทันทีที่หน้าจอในขณะที่ทำรายการสำเร็จ นอกจากนี้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบผลการนำส่งข้อมูล (Tracking) ผ่านระบบบริการของกรมสรรพากรได้
    6.เมื่อนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากรแล้ว ต่อมาต้องการยกเลิกข้อมูลนั้นได้หรือไม่
    การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้เป็นไปตามข้อ 22 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องนำส่ง

    ข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กรมสรรพากร

    1.กรณีจัดทำใบกำกับภาษีทั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์และแบบกระดาษ ต้องนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรอย่างไร
    การนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรให้นำส่งข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
    2.ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรหรือไม่
    ข้อมูลใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากร
    3.วิธีการส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จะต้องทำอย่างไร
    การส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ต้องส่งมอบด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3 และ 4) พ.ศ. 2562
    4.กรณีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แล้วและได้นำส่งข้อมูล ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายอีกหรือไม่
    ผู้ประกอบการยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายตามประมวลรัษฎากรกำหนด ทั้งนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติกรมสรรพากรจะมีประกาศเป็นกฎหมายให้ทราบต่อไป
    5.กรณีผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่สามารถส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดพิมพ์เป็นกระดาษส่งมอบให้กับผู้ซื้อได้หรือไม่
    ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 และส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการประสงค์ขอรับในรูปแบบกระดาษ สามารถพิมพ์เป็นกระดาษได้โดยต้องปรากฏข้อความ “เอกสารนี้ได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15)เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
    6.กรณีผู้ประกอบการได้ส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์ข้อมูลโดยให้ลูกค้าเป็นผู้พิมพ์เองได้หรือไม่
    กรณีดังกล่าวถือว่าผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการได้ส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการต้องเก็บรักษาข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
    7.กรณีที่ได้นำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรแล้วต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 อีกหรือไม่
    ผู้ประกอบการยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ตามประมวลรัษฎากรเช่นเดิม
    8.การส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากร ไฟล์ต้องนำส่งอย่างไร
    ข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัลด้วยวิธีการตามที่กรมสรรพากรกำหนด จะต้องอยู่ในรูปแบบ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML File) สามารถนำส่งข้อมูลในรูปแบบ .xml หรือ .zip โดยต้องมีขนาดไม่เกิน 3 เมกะไบต์ และนำส่งได้ครั้งละ 1 ไฟล์
    9.การอัปโหลดข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์รวมกันได้หรือไม่
    การนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถนำส่งรวมกันได้ ต้องแยกตามประเภทของเอกสารโดยมีข้อกำหนดของไฟล์ที่จะทำการอัปโหลด ดังนี้
    1. ขนาดไฟล์ต้องไม่เกิน 3 MB
    2. ประเภทเอกสารต้องเป็นไฟล์ XML หรือไฟล์ XML ที่อยู่ในรูปแบบ ZIP เท่านั้น โดยไฟล์เอกสารที่นำส่งรูปแบบไฟล์ XML ก่อนทำการบีบอัดใน รูปแบบไฟล์ ZIP จะต้องมีขนาดไฟล์ไม่เกิน 15 MB
    10.กรณีส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากรแล้ว หากพบว่าข้อมูลผิดพลาด สามารถทำการยกเลิกได้หรือไม่ อย่างไร
    ข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์เมื่อนำส่งให้กรมสรรพากรแล้ว จะไม่สามารถทำการยกเลิกได้ ผู้ประกอบการต้องจัดทำข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินการส่งข้อมูลอีกครั้ง

    ที่มา etax.rd.go.th

    13 December 2023  View 3,656

    บทความที่น่าสนใจ

    สินค้าอื่นๆ

    สมัครสมาชิก

    ลงชื่อเข้าใช้งาน

    เข้าสู่ระบบ

    สร้างบัญชีใหม่ | ลืมรหัสผ่าน ?

    นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับนโยบาย

    "Behind the success of customer business"

    บริษัท อี-บิซิเนส พลัส จำกัด และ บริษัท บิซิเนส แอนด์ เทคโนโลยี่ จำกัด มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ บริการ บุคลากร อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า

    11-14 ซอยบรมราชชนนี 39 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

    ADDRESS


    CONTACT US


    • ฝ่ายขาย HRM: 092-345-3681
    • ฝ่ายขาย ERP POS: 085-234-5980
    • Call Center ฝ่ายขาย: 02-880-9700, 02-409-5409, 02-880-8800
    • Call Center: 02-880-8800
    • Mobile Call Center: 080-915-5660, 065-629-0509, 094-997-3559
    • ฝ่ายบริการ: 02-880-8800 ฝ่ายบริการ HRM กด 2 , ฝ่ายบริการ ERP กด 3

    SOCIAL MEDIA


    • Bplus HRM โปรแกรมเงินเดือนสำเร็จรูป
    • Business Plus ERP MRP
    • โปรแกรมขายหน้าร้าน Bplus POS
    • Business Plus Food & Beverage
    • @salebplus
    • @businessplushrm
    • allsales@bplus.co.th

    Copyright © 2021. All rights reserved • คุ้กกี้ • นโยบายส่วนบุคคล • ยกเลิกรับข่าวสาร
    คุณชอบคุกกี้ไหม? 🍪 เราใช้คุกกี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ / เรียนรู้เพิ่มเติม