4 เทคนิควางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยตัวคุณเอง คือ

กระจายหน่วยภาษี กระจายเงินได้

การเสียภาษีเงินได้ในไทยนั้นใช้ฐานภาษีใน “อัตราก้าวหน้า” ยิ่งเงินได้มาก อัตราภาษีจะสูงตามไปด้วย ดังนั้นการกระจายหน่วยภาษีโดยสามีและภรรยาหากมีรายได้ทั้ง 2 คน สามารถแยกยื่นภาษีได้ หรือจะตั้งหน่วยภาษีใหม่โดย จัดตั้งคณะบุคคล หรือบริษัทขึ้นใหม่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการวางแผนภาษีเช่นกัน

 

แปลงประเภทเงินได้ เพื่อหักค่าใช้จ่าย

สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ แล้ว ประเภทเงินได้สำหรับการเสียภาษีก็ไม่พ้นเงินได้ประเภทที่ 40 (1) - 40 (2) ซึ่งเป็นเงินได้ชนิดเงินเดือนและเบี้ยประชุม โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายทั้ง 2 วงเล็บรวมไม่เกิน 50% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

แน่นอนว่ายิ่งเงินเดือนสูงก็ยิ่งเสียภาษีมาก ดังนั้นเราก็อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของเงินได้เพื่อปรับเป็นการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาทำให้ผู้มีรายได้สูงก็สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มาก ซึ่งรายได้ที่หักแบบเหมาได้คือรายได้ประเภทที่ 40 (3) (5) (6) (7) (8)

สำหรับคนที่ไม่มั่นใจว่าเงินได้ของคุณหรือคนที่เกี่ยวข้องอยู่ในหมวดหมู่ใด สามารถตรวจสอบประเภทของเงินได้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้จากบทความ Step การคำนวณเพื่อประหยัดภาษีเมื่อมีรายได้หลักแสนครับผม หลังจากนั้นก็ลองดูตัวอย่างการแปลงประเภทเงินได้ กันเลยครับ

ตัวอย่าง นายเอก เป็นวิศวกรบริษัทเอกชนตามปกติจะได้รับเงินเป็นเงินได้ 40(1) เงินเดือน หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 50% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ถ้านายเอก สามารถคุยกับนายจ้างให้สามารถเปลี่ยนสัญญาจ้างเป็นงานเหมาแต่ละงาน เงินได้นั้นจะเปลี่ยนเป็นประเภทที่ 40(6) เงินที่ได้จากวิชาชีพอิสระ ทำให้นายเอกหักค่าใช้จ่ายได้เป็น 30% แบบไม่จำกัดวงเงินค่าใช้จ่าย

ข้อดีของการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมานั่นก็คือไม่ต้องมีเอกสารหลักฐานยืนยันรายรับรายจ่าย แต่การหักค่าใช้จ่ายตามจริงต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบด้วย

 

วางแผนโดยการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษี

การเพิ่มค่าลดหย่อนเป็นวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมที่สุด เพราะง่ายและสะดวกที่สุด โดยจะเป็นตัวช่วยให้รายได้สุทธิของเราลดลงโดยการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ลงทุนกองทุน LTF กองทุน RMF เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ท่องเที่ยวในประเทศ ซื้อสินค้า OTOP เป็นต้น

หมายเหตุ: กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) สามารถลงทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสิ้นสุดปี 2562 เท่านั้น ตั้งแต่ปี 2563-2567

สามารถลงทุนในกองทุนการออมแห่งชาติ (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ เงื่อนไขลดหย่อนภาษีตามกรมสรรพากรกำหนด

 

เลือกรวมหรือไม่รวมเสียภาษีปลายปี

รายได้จากการออมและลงทุนที่เมื่อเรารับมาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ก็คือ เงินได้จากดอกเบี้ย และเงินปันผล ทั้งสองอย่างนี้เมื่อผู้จ่าย หัก ภาษีไว้แล้ว เราจะเรียกว่า “Final Tax” คือโดยที่เราสามารถเลือกที่จะนำไปรวมหรือไม่รวมเป็นรายได้ในการยื่นภาษีสรรพากรได้ แต่จะเลือกยื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับฐานภาษีของเรา ตามตัวอย่าง