การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีการหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีการวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด

การวิเคราะห์กระแสเงินสดนั้นเราจะมุ่งไปที่เงินสดของกิจการเท่านั้น ซึ่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจน ไม่เหมือนกับการวิเคราะห์แบบอื่นๆ

การวิเคราะห์กระแสเงินสด (Cash Flow Analysis) เป็นการวิเคราะห์แหล่งที่มา และแหล่งที่ไปของเงินสด โดย

แหล่งที่มา คือ การได้รับเงินเข้ามาในบริษัท

แหล่งที่ไป คือ การจ่ายเงินสดออกไป

ซึ่งจะดูทั้งเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ว่ามีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างงวดบัญชี ที่ต้องการวิเคราะห์อย่างไร เงินสด ของกิจการที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นได้มาจากแหล่งใด และมีการใช้เงินไปในเรืองใด เพื่อทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการไหลเวียนของเงินสดในกิจการ

 

ขั้นตอนในการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่

 

1.วิเคราะห์แหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินสดจากกิจการรมทั้ง 3

ข้อแรกนี้เป็นการวิเคราะห์ภาพว่า ใน 3 กิจการ ได้แก่ กิจกรรมดำเนินงาน, กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน เราได้เงินสดมา และใช้เงินสดไปกับกิจกรรมใดเป็นหลัก

            ที่สำคัญเราต้องดูว่า กระแสเงินสดจากกิจการรมดำเนินงาน มีค่าเป็นบวก และเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในการกิจการหรือไม่ หากเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน มีค่าติดลบ หรืออาจจะมีน้อยไป ซึ่งถ้าเทียบกับกิจการการลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน อาจจะไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ

            ถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้บริหารจะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหาร หรือไม่ หรือต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะบริหารกระแสเงินสดที่มีให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง

 

2.วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ส่วนใหญ่มักจะมีที่มาที่ไปจากธุรกิจหลัก คือการขายสินค้า ซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าแรงพนักงาน เป็นต้น ใคร ๆ ก็อย่างมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกใช่ไหมค่ะ

การวิเคราะห์กระแสเงินสดในกิจกรรมนี้ ต้องดูว่าเงินสดที่ได้มามีองค์ประกอบสำคัญมาจากรายการใด กระแสเงินสดจากิจกรรมดำเนินงานมีค่ามากกว่า หรือน้อยกว่า กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน และมีสาเหตุมาจากอะไร เช่น

หากำไรเยอะ ๆ ในงบกำไรขาดทุน แต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานน้อยกว่าแสดงว่าเราอาจจะยังบริหารเงินสดได้ไม่ดีพอ

 

3.วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (CFI)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน ส่วนใหญ่มักจะมีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ซื้อที่ดินเพิ่ม สร้างโรงงานเพิ่ม นี้เป็นสาเหตุทำให้กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนติดลบ

การติดลบของกระแสเงินสดของกิจกรรมลงทุนนั้นไม่ได้เลวร้ายเสมอไป หากเรามีแผนงานรองรับในอนาคต เช่น การขยายกิจการหรือขยายสาขา เพิ่มต้องลงทุนเพิ่ม ในปีนี้ และคาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้จากกิจกรรมดำเนินงานในอนาคต 2 เท่า

การวิเคราะห์กระแสเงินสดในกิจกรรมลงทุน ต้องทราบว่ากระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกหรือลบ มีองค์ประกอบสำคัญมา จากรายการใด และคาดหวังว่าในอนาคตจะได้ผลตอบแทนอย่างไร

 

4.วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF)

 การจัดหาเงินอาจจะมาจากการกู้เงิน หรือการเพิ่มทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหากกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่สาม คือจะต้องมีดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น และสำหรับการเพิ่มทุน จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นคาดหวังที่จะได้รับเงินปันผล ดังนั้นกิจการต้องแพลนว่าการจัดหาเงินด้วยวิธีใด คุ้มค่า และเหมาะสมสำหรับกิจการ

การวิเคราะห์กระแสเงินสดจากิจกรรมจัดหาเงิน ให้ดูว่ามีองค์ประกอบสำคัญมาจากรายการใด หากกิจกาจมีการจัดหาเงินได้มาก กิจการมีแผนที่จะจัดการกับต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นอย่างไร และกิจการคาดว่าจะสร้างรายได้จากการประกอบการในอนาคตจากเงินที่จัดมาอย่างไร สุดท้ายมีกำไรเพื่อไปจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินปันผลในอนาคตอย่างบ้างนั้นเอง

 

สรุป

การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด คือการที่กิจกรรมมีเงินสดที่ได้รับมา หรือได้จ่ายไปจากกิจกรรมใดเป็นหลัก และมีความสามารถที่จะดำเนินตอ่ไปได้ในอนาคติหรือไม่

งบกระแสเงินสดเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสนใจ โดยเฉพาะบัญชีเงินสดที่ปรากฎอยู่ในงบการเงิน จัดเป็นรายการหนึ่งที่แสดงถึงสภาพคล่องของกิจการว่าเป็นอย่างไร มีความคล่องตัวในการดำเนินเพียงใด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ในส่วนนที่เกี่ยวข้องกับเงินสดเป็นสำคัญ

 

อ้างอิง https://thaicpdathome.com