QR Code ในใบกำกับภาษีอย่างย่อ การแสดง QR Code จะปรากฏใน 3 ส่วนหลัก:
1. ส่วนเช็คบิล: ใช้ตัวแปร @QRPMT เพื่อให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้สะดวก
2. แลกของสมมนาคุณ: ใช้ตัวแปร @QR= เพื่อสร้างลิงก์ไปยัง URL สำหรับแลกรับของสมมนาคุณ
3. ข้อความท้ายบิล: ใช้ตัวแปร @QR= เพื่อแสดง QR Code ลิงก์ที่ท้ายใบเสร็จ
ในการกำหนดรูปแบบการแสดง QR Code ในใบกำกับภาษีอย่างย่อของ Bplus POS จะมีรายละเอียดดังนี้:
ข้อมูลการตั้งค่าต่างๆ
1. บรรทัด - ระบุตำแหน่งบรรทัดเริ่มต้นที่ 1 โดยตำแหน่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องระบุเสมอ
2. ตำแหน่ง - กำหนดตำแหน่งแนวนอน โดยตำแหน่งแรกคือ 1 ซึ่งต้องระบุเสมอ โดยตำแหน่งพิมพ์จะประมาณ ตำแหน่งพิมพ์ตัวอักษร เช่น 10 จะหมายถึงพิมพ์ประมาณตำแหน่งที่ 10 ของตัวอักษร
3. ข้อความ – ใส่ค่าตัวแปรที่จำเป็นสำหรับการแสดง QR Code โดยมี 2 ประเภทให้เลือก:
3.1 @QRPMT – แสดงยอดเงินที่ลูกค้าต้องชำระ โดยจะพิมพ์ QR Code นี้เมื่อลูกค้าต้องการเช็คบิล ช่วยให้สามารถสแกนเพื่อโอนเงินได้ทันที โดย QR Code นี้จะเชื่อมกับบัญชีธนาคารที่ตั้งค่าไว้ตามมาตรฐาน
3.2 @QR= – แสดง QR Code ที่เป็นลิงก์ไปยัง URL ตามที่กำหนดหลังเครื่องหมาย “=” เช่น @QR=https://www.businessplus.co.th จะสร้าง QR Code ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของร้านค้าตามตัวอย่างคือไปที่ https://www.businessplus.co.th
การตั้งค่ารูปแบบการแสดง QR Code ในใบกำกับภาษีอย่างย่อของ Bplus POS
4. ความยาว – ใช้กำหนดขนาด QR Code โดยเทียบจากจำนวนตัวอักษร เช่น กำหนด "20" หมายถึง ขนาด QR Code ที่ประมาณเท่ากับ 20 ตัวอักษร
5. ชิดขอบ – ไม่ได้ใช้งาน โดย QR Code จะพิมพ์ชิดซ้ายเสมอ
6. ลักษณะอักษร – ไม่ได้ใช้งาน
7. คำสั่งข้าม – ไม่ได้ใช้งาน
โดยการตั้งค่าเหล่านี้ ช่วยให้การแสดง QR Code เป็นไปอย่างเหมาะสมกับพื้นที่และโครงสร้างของใบกำกับภาษีอย่างย่อ
