เทคนิคทำการตลาดอย่างไรในภาวะวิกฤต ให้ธุรกิจรอด

ช่วงเวลาวิกฤตเป็นช่วงที่ยากกับการคาดการณ์ในสิ่งที่ไม่เคยมีข้อมูลเก็บไว้ ทำให้ผู้ประกอบการไม่แน่ใจว่าอะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำในช่วงเวลานี้  โดยทั่วไปนั้นให้ตั้งหลักโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการตลาดในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว และให้รู้ว่าจุดไหนที่ควรหรือไม่ควรเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางการตลาด โดยมีหลักการและแนวคิดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในยามวิกฤต ดังนี้

 

Short-Term Solutions (วิธีแก้ระยะสั้น)

การตลาดระยะสั้นนั้นจะกำหนดให้อยู่ในระยะเวลาหนึ่งถึงสามเดือน และนี่คือจุดที่วิกฤตในปัจจุบันที่จะมีผลกระทบมากและรุนแรงที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมด้วยว่าผลกระทบนั้นเป็นบวกหรือลบ อาจจะน้อยหรือมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงวิกฤตคือการควบคุมสิ่งต่างๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น การโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย โฆษณาบนเสิร์ชเอนจิน โฆษณาผ่านวิดีโอ และผ่านดิจิทัลประเภทอื่นๆ ที่สามารถติดตามได้ใกล้ชิดและปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

ตัวอย่าง 

ร้านอาหารที่ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านถูกปิดการให้บริการเกือบทุกแห่ง สิ่งที่สามารถทำได้คือ

  • เสนอบริการจัดส่งฟรี โดยทำการ Update โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย โฆษณาบนเครือข่ายการค้นหา 
  • ปรับปรุงเนื้อหาและข้อมูลบนเว็บไซต์ทั้งหมดอย่างรวดเร็ว และให้เป็นไปในวงกว้างให้มาก 
  • ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นไปในเชิงบวก เจ้าของกิจการเห็นยอดขายและรายได้เพิ่มขึ้น แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จะเห็นผลกระทบได้ในลักษณะของการผสมผสาน เช่น ผลิตภัณฑ์บางชนิดมียอดขายลดลงมาก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ยอดขายยังคงเป็นปกติหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในกรณีนี้อาจจะทำดังนี้

  • ลดหรือหยุดรายการส่งเสริมการขายชั่วคราว ในช่วง 10-14 วันถัดไป ของผลิตภัณฑ์บางชนิด
  • เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการสูง โดยทำการจัดส่งฟรี ซึ่งจะช่วยให้ยอดขายยังคงอยู่กลาง ๆ ได้ในช่วงเวลานี้

 

Medium-Term Solutions (วิธีแก้ระยะปานกลาง)

การตลาดระยะปานกลางนั้นจะกำหนดให้อยู่ในระยะเวลาสามถึงเก้าเดือน การเปลี่ยนแปลงในระยะปานกลางจะไม่มากเท่ากับในระยะสั้น แต่ธุรกิจอาจต้องมีการปรับกลยุทธ์บางอย่างเพื่อให้ประสบความสำเร็จ 

- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์บริการอะไรของธุรกิจที่สำคัญที่สุด และจะยังคงมีความต้องการอยู่ แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ

- ให้ความสำคัญกับสินค้าหรือบริการที่มียอดขายที่มากที่สุด แม้จะมีอัตราส่วนของกำไรสุทธิกับค่าใช้จ่าย (ROI) ที่ต่ำกว่า

- ลองทำการโฆษณาและการตลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อรักษาระดับยอดขายไว้ แม้ว่าในระยะกลางจะหมายถึงกำไรที่น้อยลง แต่จำไว้ว่าเป้าหมายในช่วงวิกฤตคือการทำธุรกิจให้รอด

 

Long-Term Solutions (วิธีแก้ระยะยาว)

การตลาดระยะยาวนั้นจะกำหนดให้อยู่ในระยะเวลาหนึ่งถึงสามปี ณ จุดนี้ธุรกิจยังไม่ต้องเปลี่ยนแปลงใด ๆ สำหรับแผนระยะยาว แต่มีสองสิ่งที่ควรทำ คือ

 

- ต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ โดยใช้ข้อมูลและตัวเลขมาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจ และที่สำคัญที่สุดอย่าตื่นตระหนก เราทุกคนอยู่ในสภาพเดียวกัน เผชิญกับความท้าทายแบบเดียวกัน 

- ต้องทำให้ธุรกิจอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในช่วงเวลานี้ และจะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ จำไว้ว่าการตลาดสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมากในการทำธุรกิจ

 

ที่มา : SME ONE