การบริหารจัดการร้านค้าปลีก แนวทางการสั่งซื้อสินค้า

แนวทางการสั่งซื้อสินค้า

1. ระยะเวลาในการสั่งซื้อแน่นอนสม่ําเสมอเช่นสัปดาห์ละครั้ง

2. ตรวจนับสินคาคงเหลือก่อนสั่ง

3. ตัดสินใจสั่งซื้อจากข้ออมูลในอดีต พยากรณ์ยอดขาย 

4. หาข้อมูลใหม่ๆ เพื่อช่วยตัดสินใจเสมอเช่นความนิยมของลูกค้า

5. สั่งซื้อตามจํานวนที่พอจะขายในชวงเวลาที่กําหนด

6. ไม่กักตุนสินค้ามากเกินไป จะทําให้คุณภาพสินค้าตก หากเก็บ ไม่ดีและเป็นการเอาเงินไปจมไว้

7. บริหารสต๊อกอย่าให้สินค้าขาด เพื่อไม่ให้เสียโอกาสการขาย

8. สั่งซื้อจากแหล่งที่สามารถส่งให้ถึงหน้าร้าน เพื่อประหยัดเวลา  และลดต้นทุนการเดินทาง

9. ไม่ซื้อสินค้าจากแหล่งไม่แน่นอน  เพราะอาจเป็นสินค้าไม่ได้ มาตรฐาน หมดอายุหรือสินค้าผิดกฎหมายอีกทั้งยังไม่ได้รับการ สนับสนุน และบริการจากผู้ผลิตอีกด้วย

ตรวจเช็คสินค้าสม่ําเสมอ ทําให้ทราบข้อมูลสินค้าคงเหลือ เพื่อพิจารณาบริหารจัดการคําสั่งซื้อให้เหมาะสมดังนี้

1. สั่งซื้อสินค้าขายดีไม่ให้สต๊อกสินค้าขาด จะเสียโอกาสในการขาย

2. สินค้าขายไม่ดีควรสั่งแต่น้อยไม่เก็บไว้นานจนเก่าค้างร้านหรือ หมดอายุ

3. นําเสนอสินค้าใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกและดึงดดใจลูกค้า

4. จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อระบายสินค้าเก่า เช่นสะสมแต้ม ของแถม

 

ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของร้านค้า

ร้านค้าจํานวนมากมีความเชื่อว่าการที่วางสินค้าจํานวนมากบนชั้น เป็นสิ่งที่ดีโดยไม้สนใจถึงยอดขายของสินค้าแต่ละตัว หากสังเกตยอดขายแล้ว พบว่ามีสินค้าเพียงไม่กี่ชิ้นที่ขายดีฉะนั้นการวางสินค้าโดยไม่คํานึงถึงปริมาณ การขายจะทําให้เสียพื้นที่การขายไปอย่างน่าเสียดาย

 

หลักเกณฑ์ในการจัดเรียงสินค้าโดยทั่วไปแบบง่ายๆ  

เห็นเด่นชัด : เมื่อลูกค้าเห็นสินค้า สินค้านั้นย่อมได้รับการเลือกซื้อ  

เข้าถึงสะดวก : ถ้าลูกค้าไม่สามารถแตะ หรือหยิบสินค้าได้สะดวก สินค้านั้นย่อมไม่ได้รับการเลือกซื้อ

จัดเรียงน่าสนใจ : การตั้งโชว์สินค้าใหดึงดูดความสนใจ ช่วยให้ ยอดขายสินค้านั้นเพิ่มขึ้น

เข้าก่อนออกก่อน : รักษาระดับการหมุนเวยนสต๊อกให้เหมาะสม และ ดูแลให้สินค้าบนชั้นใหม่สดเสมอ

สะอาดน่าซื้อ : สินค้าที่สะอาด เมื่อดูแล้วทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นสินค้ ใหม่น่าซื้อ

 

การจัดผังร้านค้า

ควรจัดวางผังร้านค้า (Layout) ให้สวยงาม ให้ลูกค้าสามารถเดินได้รอบร้านให้มากที่สุด เพื่อที่สินค้าทุกแผนกจะได้มีโอกาสขายแต่ต้องให้ใช้เวลาสั้นที่สุด เพราะหากลูกค้าใช้เวลาในร้านค้านานจนเกินเหตุก็จะทําให้ เกิดการติดขัด ลูกค้าใหม่เข้าร้านไม่ได้

1. เส้นทางเดิน ควรจัดให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้ลูกค้าเดินผ่านสิวนต่างๆ ของร้าน วางผังเพื่อให้ลูกค้าเดินทางไปยังจุดที่เราต้องการให้เดินเข้าไป หรือเพื่อให้ลูกค้าเดินได้รอบทั้งร้าน ไม่ใช้จุดใดเพียงจุดเดียวเช่น บันไดเลื่อนขึ้นลงของห้างสรรพสินค้า มักจะวกวนขึ้นทางลงทาง เพื่อจะดึงให้ลูกค้าเดินดูในส่วนอื่นๆ ด้วย

2. การจัดวางสินค้าที่สร้างความประทับใจ สินค้าที่ถัดจากประตูทางเข้าจะต้องให้ความประทับใจและกระตุ้นลูกค้าให้อยากเดินเข้าไปชมในร้าน ผู้ที่เข้าไปในร้านด้วยความไม่ตั้งใจแต่เมื่อเกิดความประทับใจที่ได้เห็นหรือสัมผัสกับสินค้าในส่วนแรก ตัวอย่างเช่น ชั้นล่างสุดของห้างสรรพสินค้ามักจะเป็นสินค้าประเภทเครื่องสําอางหรือน้ําหอม เพราะมีกลิ่นที่หอมดึงดูดใจ ส่วนซุปเปอร์มาร์เก็ตก็มักจะพบผักและผลไม้ก่อน และร้านเบเกอรี่ก็จะได้กลิ่นหอมของขนมดึงดูดใจก่อนอยู่เสมอ

3. ชนิดของการให้บริการ ถ้าร้านค้าปลีกนั้นเป็นลักษณะการเลือกซื้อสินค้าแบบบริการตนเอง หลักสําคัญก็คือสินค้าจะต้องถูกนํามาจัดวางบนชั้นวางสินค้าหรือโต๊ะที่ลูกค้าสามารถหยิบดูลองดูได้

4. การควบคุมดูแลภายในร้านค้า ตําแหน่งแคชเชียร๋หรือพนักงานเก็บเงิน ควรอยู่ในตําแหน่งที่สามารถมองเห็นประตูทางเข้าออกได้ชัดเจนที่สุด เพราะถ้าโต๊ะแคชเชียร์อยู่ด้านในอาจไม่สามารถเห็นลูกค้าที่เข้า-ออกร้าน โอกาสที่สินค้าจะสูญหายก็จะเป็นไปได้มากควรตั้งโชว์สินค้าวางในแนวขนานของร้าน เพราะจะได้สามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกค้าภายในร้านค้าด้วย

5. อุปนิสัยในการซื้อสินค้าของผู้ซื้อ การจัดผังภายในของร้านค้ายังขึ้นกับอุปนิสัยในการซื้อสินค้าของผู้ซื้อด้วยเช่น ของใช้บุรุษมาไว้ชั้นล่างหรือใกล้ๆ ส่วนของสตรีและเด็กจัดไว้ชั้น 2 หรือลึกเข้าไป เพราะคุณสุภาพบุรุษมีนิสัยไม่ใช้เวลานานกับการซื้อสินค้า ส่วนคุณสุภาพสตรีนิยมการช้อปปิ้ง

ที่มา dbdpr1 และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

 

รับฟรี คู่มือ เทคนิคสร้างยอดขายในร้านด้วยการจัดวางสินค้า และ การบริการของแคชเชียร์ คลิก

BUSINESS PLUS POS สุดยอดโปรแกรมบริหารงานค้าปลีก-ค้าส่งสำเร็จรูป ระบบขายหน้าร้าน ระบบคิดเงิน โปรแกรมคิดเงินร้านค้า บริหารการจัดแคมเปญ/โปรโมชั่น บริหารจัดการสมาชิก เพื่อการซื้อซ้ำ และเพิ่มยอดขาย เติมเต็มสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับได้หลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น ร้านค้าปลีก (Retail) ร้านค้าส่ง Wholesale ห้างสรรพสินค้า(Department Store) ช็อปปิ้งมอลล์ (Shopping Mall) ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ร้านขายของชำ (Grocery Store) ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) พร้อมมีระบบให้ท่านเลือกใช้ตามขนาดธุรกิจ เพื่อขยายธุรกิจได้อย่างมั่นคง