Update ลดหย่อนภาษี ปี 2565

Update ลดหย่อนภาษีปี 2565 โดยค่าลดหย่อนบางอย่างจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมในแต่ละปี มาอ่านกันว่า ปีนี้ จากข้อมูลล่าสุดวันที่ 9 พ.ย. 65 มีอะไรลดหย่อนได้บ้าง มาดูกัน...

ลดหย่อนพื้นฐาน

ค่าลดหย่อนพื้นฐาน จะเป็นลักษณะภาระในการดูแลตัวเอง คนรอบข้าง ถ้าเรามีภาระต่างๆ เหล่านี้ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

  • ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. เป็นสิทธิที่ทุกคนได้ เวลายื่นภาษีออนไลน์ ระบบจะขึ้นอัตโนมัติ ไม่ได้ต้องมากรอก
  • ลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บ. ในกรณีที่ดูแลคู่สมรสที่ไม่มีรายได้
  • ลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บ. บุตรตั้งแต่คนที่ 2 และเกิดปี 61 เป็นต้นไป คนละ 60,000 บ. ซึ่งจะต้องเป็นลูกแท้ๆ หรือจดทะเบียนบุตรบุญธรรม
  • ลดหย่อนบิดา มารดา คนละ 30,000 บ.โดยพ่อ แม่ ต้องอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และพ่อ แม่ มีรายได้ ไม่เกิน 30,000 บ. ต่อปี
  • ลดหย่อนผู้พิการ/ ทุพพลภาพ 60,000 บ. โดยเป็นผู้พิการที่มีบัตรผู้พิการและระบุชื่อเราเป็นผู้ดูแล และผู้พิการมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บ. ต่อปี
  • ค่าฝากครรภ์/คลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุด ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บ. ซึ่งถ้าเบิกจากสวัสดิการที่มีด้วย เพดานการลดหย่อนจะลดลง เช่น ได้ค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม 13,000 บ. เพดานที่หักลดหย่อนได้ = 60,000 – 13,000 = 47,000 บ.

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน

เฉพาะส่วนของดอกเบี้ยจ่ายในปีนั้น ที่นำมาลดหย่อนได้ (ไม่ใช่ยอดเงินผ่อนต่อเดือนนะ) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บ. ซึ่งถ้าเป้นการกู้ร่วม เพดานในการลดหย่อนและดอกเบี้ยที่จะนำมาลดหย่อน ก็จะหารตามจำนวนผู้กู้ร่วมนะ เช่น กู้ร่วม 2 คน และปีนั้นจ่ายดอกเบี้ยไป 120,000 บ. แต่ละคนจะนำไปลดหย่อนได้คนละ 50,000 บ. เพราะติดเพดานคนละ 50,000 บ. นะ (ถึงแม้ดอกเบี้ยหาร 2 แล้วได้ 60,000 บ.)

ลดหย่อนเงินบริจาค

เงินบริจาค สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินบริจาคแล้ว และถ้าเป็นการบริจาคพิเศษที่ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า มานะบริจาค 1,000 บ. จะนำไปลดหย่อนได้ 2,000 บ. ซึ่งถ้ามานะเสียฐาน 10% มานะจะลดภาษีได้ 200 บ. และถ้ามานะเสียภาษีฐาน 20% มานะจะลดภาษีได้ 400 บ.

เงินบริจาคพิเศษ ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า คือ…

  • เงินบริจาคให้สถานพยาบาลหรอโรงพยาบาลรัฐ
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา ให้แก่สถานศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมาย เพื่อก่อสร้างอาคาร จัดซื้ออุปกรณ์การสอน หรือเพื่อพัฒนาอาจารย์
  • เงินบริจาคเพื่อการกีฬา และการพัฒนาสังคม เช่น เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬาให้กับสมาคมการกีฬา เงินบริจาคให้โครงการฝึกอบรมอาชีพ

โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อสถานที่ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า จากเว็บไซต์ของสรรพากร

เงินบริจาคพรรคการเมือง

ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บ. อันนี้ไม่เกี่ยวกับ ที่มีให้การใช้สิทธิเลือกให้เงินภาษีสูงสุด 500 บ. ไปอุดหนุนพรรคการเมือง ตอนเรายื่นภาษีประจำปีนะ

ประกันชีวิตและการลงทุน ซึ่งหัวข้อนี้ หลายคนมักใช้นำมาลดหย่อนภาษี

  • ประกันสังคม มาตรา 33 ที่มนุษย์เงินเดือนถูกหักเงินสมทบเข้าประกันสังคม ปกติจะไม่เกิน 9,000 บ. แต่ปี 65 นี้ มีการลดการหักเงินสมทบ ทำให้ปีนี้สูงสุด ไม่เกิน 6,300 บ. (ลดการหักเงินเข้า ปกส.จากสูงสุด 750 บ./เดือน โดยคิด 5% จากเงินเดือนสูงสุด 15,000 บ. [ลด เดือน พ.ค.-ก.ค. หัก 1% (สูงสุด 150 บ.) ลดเดือน ต.ค.-ธ.ค. หัก 3% (สูงสุด 450 บ.)]
  • ประกันชีวิต สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่เราทำของตัวเอง จากทุกกรมธรรม์มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บ.
  • ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 25,000 และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บ.
  • ประกันสุขภาพพ่อแม่ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่ง"ไม่รวม" กับประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตของเรา โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ สูงสุดไม่เกิน 15,000 บ. ซึ่งรวมทั้งของพ่อและแม่นะ ไม่ใช่ได้คนละ 15,000 บ. โดยที่พ่อแม่มีรายได้ทั้งปี ไม่เกิน 30,000 บ. นะ
  • ประกันชีวิตของคู่สมรส ถ้าทำประกันชีวิตให้คู่สมรสที่ไม่มีรายได้ และความเป็นสามีภริยาต้องอยู่ตลอดปีภาษี สามารถเบี้ยที่จ่าย ไปลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 10,000 บ.
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกิน 15%ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บ. ละไม่เกิน 200,000 บ. แต่ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป อาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บ. เช่น ถ้าเรามีรายได้ 1,000,000 บ. ซื้อประกันบำนาญไป 200,000 บ. และประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บ. เราจะสามารถนำมาลดหย่อนในส่วนประกันบำนาญได้แค่ 150,000 บ. เท่านั้น เพราะคิดเป็น 15% ของรายได้
  • SSF ตามที่ลงทุนในปีนั้น ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บ.
  • กบข. ตามจริง ไม่เกิน 15%ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บ. ซึ่งปกติ กบข. เขาก็จะให้เราเลือกหักแต่ละเดือนสูงสุด 15% ของเงินเดือน อยู่แล้ว แต่ให้ลอองดูเรื่องเพดาน 500,000 บ.
  • PVD ตามจริง ไม่เกิน 15%ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บ. ซึ่งปกติ PVD เขาก็จะให้เราเลือกหักแต่ละเดือนสูงสุด 15% ของเงินเดือน อยู่แล้ว แต่ให้ลอองดูเรื่องเพดาน 500,000 บ.
  • กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ตามจริง ไม่เกิน 500,000 บ.
  • RMF ตามที่ลงทุนในปีนั้น ไม่เกิน 30%ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บ.
  • กอช. ตามจริง ไม่เกิน 13,200 บ.

และการลดหย่อนภาษี SSF + กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)/ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD)/ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช. + RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บ. ด้วยนะ

ในปี 2565 นี้ ถ้าจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย SSF, RMF ต้องแจ้งความประสงค์กับทาง บลจ. เพื่อให้ส่งข้อมูลให้สรรพากรด้วยนะ ถ้าไม่แจ้งจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนได้นะ ซึ่งตอนนี้หลาย บลจ. เปิดให้แจ้งความประสงค์ทางเว็บไซต์แล้ว

กระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ช้อปดีมีคืน (1 ม.ค. -15 ก.พ. 65) ไม่เกิน 30,000 บ. ลองเช็คเอกสารทีเราจะต้องนำมายื่นให้สรรพากร เช่น ใบกำกับภาษี ให้ดีนะ เพราะเ)นการซื้อสินค้าตั้งแต่เมื่อตอนต้นปี
  • ลงทุนวิสากิจเพื่อสังคม (social enterprise) วิสาหกิจชุมชม เป็นนิติบุคคลที่ดำเนินงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือพพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถนำมาลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บ.

ที่มา เพจ หมอยุ่งอยากมีเวลา