Gig Economy ไลฟ์สไตล์คนทำงานรุ่นใหม่ ไม่เหมือนเดิม

องค์กรที่ปรับตัวได้ก่อน = ได้เปรียบ

HR และองค์กรที่สามารถรับมือกับ Gig Economy ได้ดี จะสามารถดึงดูดและรักษาคนเก่งๆ ไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือ Gig Worker

          Gig Economy หรือระบบเศรษฐกิจแบบกิ๊ก เป็นแนวทางการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากงานประจำแบบเดิม คนทำงานรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Gen Z และ Millennials เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับอิสระในการทำงานมากขึ้น เลือกที่จะเป็นฟรีแลนซ์ หรือทำงานแบบสัญญาจ้างระยะสั้น มากกว่าการทำงานเต็มเวลาในองค์กรเดียว

ทำไม Gig Economy ถึงได้รับความนิยม

  • อิสระและความยืดหยุ่น  เลือกเวลาและสถานที่ทำงานเองได้
  • รายได้หลากหลายช่องทาง ไม่ต้องพึ่งพารายได้จากแหล่งเดียว
  • สมดุลชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance) จัดลำดับความสำคัญได้เอง
  • เทคโนโลยีช่วยให้ทำงานที่ไหนก็ได้  มีแพลตฟอร์มรองรับ 
  • ตอบโจทย์คนที่ชอบความท้าทาย  ได้ทำงานที่หลากหลาย ไม่จำเจ

การเปลี่ยนแปลงขององค์กรในยุค Gig Economy

  • องค์กรต้องมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น ใช้โมเดล Hybrid Workforce ผสมผสานพนักงานประจำกับ Gig Worker ลดจำนวนพนักงานประจำลง และใช้ Gig Worker ในงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • วัฒนธรรมองค์กรต้องรองรับการทำงานแบบกระจายตัว ใช้ Remote Work & Digital Collaboration Tools ให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อให้ Gig Worker เข้าใจเป้าหมายขององค์กร
  • HR Tech & AI มีบทบาทมากขึ้น ใช้ AI ในการคัดเลือก Talent และประเมินผลงานแบบอัตโนมัติ  แพลตฟอร์ม HR Analytics ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มของแรงงาน Gig
  • การรักษาความผูกพัน (Engagement) กับ Gig Worker  แม้จะไม่ใช่พนักงานประจำ แต่ต้องมีวิธีดึงดูดให้พวกเขากลับมารับงานกับองค์กรซ้ำสร้าง Community ของ Gig Worker เพื่อให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

ผลกระทบต่อบทบาทของ HR

  • การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเปลี่ยนไป จากการรับพนักงานประจำ มาเป็น การจ้างงานแบบสัญญาระยะสั้น / Outsourcing ต้องใช้ แพลตฟอร์มหรือเครือข่ายฟรีแลนซ์ เพื่อหาคนทำงานที่เหมาะสม ต้องมีวิธีการคัดเลือกที่รวดเร็วแต่แม่นยำ เช่น ดู Portfolio หรือใช้ AI คัดกรอง
  • การบริหาร Talent ที่เป็น Gig Worker ต้องพัฒนากลยุทธ์ Talent Pool เพื่อให้มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมใช้งานเสมอ สร้างระบบบริหารความสัมพันธ์กับ Gig Worker เช่น ให้ผลตอบแทนที่จูงใจเพื่อดึงดูดให้กลับมาทำงานซ้ำ ปรับแนวทาง Employer Branding ให้ดึงดูดทั้งพนักงานประจำและฟรีแลนซ์
  • การประเมินผลงานเปลี่ยนไป ใช้ Performance-based Contracts ที่วัดผลลัพธ์ของงานแทนการวัดชั่วโมงทำงาน มีระบบ Feedback แบบเรียลไทม์ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
  • การพัฒนาและฝึกอบรม จากการฝึกอบรมภายในองค์กร ปรับเป็น On-demand Learning เช่น ให้เข้าถึงคอร์สออนไลน์หรืออบรมแบบสั้นสร้างคอมมูนิตี้ให้ Gig Worker ได้แลกเปลี่ยนความรู้
  • การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ จากเงินเดือนและสวัสดิการแบบเดิม  เป็น Pay per Project / Pay per Task HR ต้องออกแบบแพ็กเกจ Flexible Benefits ที่จูงใจ เช่น ประกันสุขภาพสำหรับฟรีแลนซ์

 

ที่มา JobsDB