ทำความรู้จัก ... Karoshi Syndrome ทำงานหนักจนตุยเย่

          Karoshi Syndrome (คาโรชิ ซินโดรม) คือ คำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "การตายจากการทำงานหนัก" หรือ "การตายจากการทำงานเกินเวลา" อาการเหนื่อย หรือ อ่อนเพลียจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย เครียดสะสม จนทำให้เกิดความเครียดและภาวะสุขภาพที่แย่ลง ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิต และอาจเกิดอาการร้ายแรงที่นำไปสู่ชีวิต เช่น หัวใจวาย 

          นายจ้างควรรู้ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพ ส่งเสริมการหยุดพัก จำกัดการทำงานล่วงเวลามากเกินไป การจัดลำดับความสำคัญของงาน รักษาสมดุลชีวิตและการทำงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกัน Karoshi Syndrome ช่วยลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของทุกคนในองค์กร สร้าง Work-life balance ที่ดีขึ้นกว่าเดิม 

มาตรวจสอบตัวเองว่า มีภาวะ Karoshi Syndrome หรือไม่

  • คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจเก็บไปฝัน
  • ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
  • ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ทั้งลาป่วย ลาพักผ่อน และลากิจ
  • เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
  • แทบไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะลาป่วย หรือลาพักร้อน
  • นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จำไม่ได้ว่าได้พักผ่อนจริง ๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
  • ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนที่เรารัก

น้องบีพลัสมีวิธีที่สามารถช่วยป้องกัน Karoshi Syndrome มาฝากกัน

  1. จัดการเวลา ควบคุมเวลาที่ทำงานอย่างรอบคอบ และให้เวลาพักผ่อนเพียงพอ เพื่อลดความเครียดและปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว

  2. สร้างการทำงานที่สมดุล สนับสนุนสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ และให้พนักงานมีโอกาสทำกิจกรรมที่สนใจและส่งเสริมสุขภาพ เช่นการออกกำลังกาย.

  3. จำกัดการทำงานล่วงเวลา นายจ้างควรเป็นตัวอย่างในการควบคุมการทำงานล่วงเวลาและไม่บังคับพนักงานทำงานมากเกินไป และควรจัดการตารางงานให้เหมาะสม

  4. ส่งเสริมการพักผ่อน สนับสนุนการพักผ่อนในช่วงทำงาน เช่นการให้โอกาสพนักงานมีช่วงพักเที่ยงวันที่เหมาะสมและวันหยุดประจำสัปดาห์

  5. ส่งเสริมสุขภาพที่ดี นายจ้างควรสนับสนุนการออกกำลังกายและสุขภาพที่ดีในทีมงาน โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและให้บริการที่สามารถช่วยพนักงานในการรักษาสุขภาพ

  6. การติดตามสุขภาพ นายจ้างควรติดตามสุขภาพของพนักงานอย่างสม่ำเสมอและสนับสนุนการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำ

  7. อาจจะต้องมีกฎระเบียบ การสร้างกฎระเบียบที่สนับสนุนสุขภาพและความเป็นมนุษย์ของพนักงานอาจจำเป็น เพื่อป้องกันการทำงานเกินควร

 

 

ที่มา สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย