พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 126 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
สรุปสาระสำคัญของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ดังนี้
1. กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ส่วนกรณีนายจ้างได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว หรือจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย พ.ศ. 2567 ไม่อยู่ในบังคับ ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็เพื่อเป็นเงินออมเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตายเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 130 วรรคสอง
2. กิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ได้แก่ กิจการที่จ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น มูลนิธิ สมาคม องค์กรไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
3. นายจ้างที่อยู่ในบังคับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ต้องดำเนินการดังนี้
3.1 ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและรายละเอียดอื่นๆ เมื่อได้ดำเนินการแล้ว
3.2 นายจ้างรายใดที่ไม่ประสงค์จะเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง แต่มีความประสงค์จะดำเนินการจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเอง ก็สามารถดำเนินการได้ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ออกจากงานหรือตาย พ.ศ. 2567 โดยต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
4. สำหรับกิจการที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หากลูกจ้างประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยความยินยอมของนายจ้าง ก็สามารถดำเนินการให้ลูกจ้างเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการให้ลูกจ้างในกิจการที่มิได้อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2567
5. อัตราการส่งเงินสะสมและเงินสมทบ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2568 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2573 อัตราการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบฝ่ายละ 0.25 % และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2573 เป็นต้นไป อัตราการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบฝ่ายละ 0.50 % โดยนายจ้างมีหน้าที่หักค่าจ้างของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ และนำส่งเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
6. การคำนวณเงินสะสมและเงินสมทบ ให้คำนวณจากเงิน “ค่าจ้าง” ที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งรวมถึงค่าจ้างตามผลงานด้วย
7. กรณีนายจ้างไม่นำส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบ หรือส่งไม่ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ซึ่งพนักงานตรวจแรงงานจะมีคำเตือนเป็นหนังสือให้นายจ้างนำส่งเงินที่ค้างจ่ายมาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
8. เมื่อลูกจ้างออกจากงานไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม เช่น ลาออกจากงาน เกษียณอายุ สิ้นสุดสัญญาจ้าง ถูกเลิกจ้างโดยกระทำความผิด หรือไม่มีความผิด จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินดังกล่าว ส่วนกรณีที่ลูกจ้างตาย จะจ่ายให้กับบุคคลผู้พึงได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามที่ลูกจ้างได้ทำหนังสือแจ้งไว้
9. บทกำหนดโทษ นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นแบบรายการ หรือไม่แจ้งเป็นหนังสือขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 130 หรือยื่นแบบรายการฯ โดยกรอกข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มา ธรรมนิติ
Q&A กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2568 โดยเก็บเงินสะสมและเงินสมทบจากลูกจ้างและนายจ้าง ฝ่ายละเท่ากัน
กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปต้องดำเนินการให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
- กิจการที่มีได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) เช่น มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ เป็นต้น
- ไม่บังคับกับองค์การมหาชน
- ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวบอยู่ด้วย
- งานประมงทะเล
- งานเกษตรกรรมที่ไม่ได้จ้างลูกจ้างทำงานตลอดทั้งปี
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายโรงเรียนเอกชน
ลูกจ้างที่มิได้อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตายตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย พ.ศ. 2567 ต้องจัดให้เป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
- วันที่ 1 ต.ค 68 - 30 ก.ย.73 จัดเก็บ 0.25 ทั้ง 2 ฝ่าย
- ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 73 เป็นต้นไป จัดเก็บ 0.50 2 ฝ่าย
ให้คำนวณจากเงิน "ค่าจ้าง" ที่ลูกจ้างได้รับซึ่งรวมถึงค่าจ้างตามผลงานด้วย เช่น ค่าเที่ยว ค่าชั่วโมงบิน เงินตอบแทนการขาย เป็นต้น ทั้งนี้กฎหมายมิได้กำหนดเพดานขั้นต่ำหรือขั้นสูง
นายจ้างนำเงินสะสมและเงินสมทบพร้อมทั้งยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างส่งให้แก่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักค่าจ้าง
นายจ้างต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน
- เมื่อลูกจ้างออกจากงาน เช่น ลาออก เกษียณ สิ้นสุดสัญญาจ้าง ถูกเลิกจ้างโดยกระทำความผิดหรือไม่มีความผิดจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินดังกล่าว
- กรณีที่ลูกจ้างตาย จะจ่ายให้กับบุคคลผู้พึงได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามที่ลูกจ้างได้ทำหนังสือแจ้งไว้หรือจ่ายเงินดังกล่าวให้กับทายาท ถ้าไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงิน ให้เงินด้วกล่าวตกแก่กองทุนลงเคราะห์ลูกจ้าง
ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มงานที่ปรึกษากฎหมาย นิติกรรมและสัญญา กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้จัดทำ