วางแผนอย่างไรให้เสียภาษีป้ายน้อยที่สุด

             ภาษีป้ายเป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนั้นป้ายชื่อของผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรูปภาพโลโก้ตัวอักษรภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นป้ายทั่วไปป้ายผ้าใบป้ายบิลบอร์ดหรือป้ายไฟโฆษณาล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น

            ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย

            ภาษีป้ายเป็นภาษีซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดเก็บเพื่อหารายได้มาพัฒนาท้องถิ่นของตนเพิ่งมีการปรับอัตราภาษีป้ายใหม่เพื่อให้การจัดเก็บภาษีป้ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้บังคับสำหรับป้ายที่ต้องเสียภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ดังนี้

ประเภทที่ 1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน

ป้ายที่มีข้อความเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้อัตรา 10 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 5 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น

ป้ายที่มีข้อความเครื่องหมายภาพที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความเครื่องหมายหรือภาพอื่นได้อัตรา 52 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ป้ายนอกจาก(ก) อัตรา 26 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ประเภทที่ 3 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

ป้ายที่มีข้อความเครื่องหมายหรือภาพเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความเครื่องหมายหรือภาพอื่นได้อัตรา 52 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ป้ายนอกจาก (ก) อัตรา 50 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ทั้งนี้หากคำนวณแล้วมีภาษีป้ายที่ต้องเสียต่ำกว่า 200 บาทให้ชำระภาษีเป็นเงิน 200 บาท

 

             เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (แบบ ภ.ป. 1) ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปีหากติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความโนป้ายต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายใน 15 วันนับ แต่วันที่ติดตั้งใหม่หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความใหม่หากเจ้าของป้ายได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (แบบ ภ.ป. 3) ให้ข้าระภาษีภายใน 15 วันนับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินถ้าซ้าระภาษีภายในกำหนดและมีภาษีที่ต้องชำระเกิน 3000 บาทสามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดงวดละเท่า ๆ กัน

 

ที่มา วารสารสรรพากรประจำเดือน สิงหาคม 2564