เรซูเม่เปรียบเสมือนบัตรผ่านเข้าประตูแรกของการสมัครงาน การเขียนที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณก้าวเข้าใกล้เป้าหมายในอาชีพได้มากขึ้น ได้งานเร็วขึ้น นายจ้างมองเห็นความเหมาะสมของคุณตั้งแต่เริ่ม เรซูเม่ที่ดีช่วยให้คนอื่นในสายงานหรือเครือข่ายมืออาชีพสนใจคุณ คุณจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อสมัครงาน เพราะรู้ว่าตัวเองมีเรซูเม่ที่พร้อม
-
สร้างความประทับใจแรก (First Impression) นายจ้างจะเห็นก่อนตัดสินใจเรียกสัมภาษณ์ การจัดรูปแบบที่ดูดี อ่านง่าย และเนื้อหาครบถ้วน ช่วยสร้างความประทับใจและเพิ่มโอกาสให้คุณได้สัมภาษณ์งาน
-
แสดงความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) แสดงถึงความใส่ใจในรายละเอียด เช่น การจัดหน้า ฟอนต์ และภาษาที่ใช้ สะท้อนบุคลิกและทัศนคติในการทำงาน
-
นำเสนอจุดเด่นของคุณ (Showcase Your Strengths) การเขียนเรซูเม่ช่วยเน้นจุดเด่น เช่น ทักษะเฉพาะตัว ประสบการณ์การทำงาน หรือความสำเร็จที่ผ่านมา ทำให้นายจ้างเห็นว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งงานอย่างไร
-
ช่วยคัดกรองงานที่เหมาะสม (Job Matching) เรซูเม่ที่ชัดเจนและตรงประเด็นช่วยให้นายจ้างประเมินได้ว่าทักษะและประสบการณ์ของคุณตรงกับความต้องการของตำแหน่งงานหรือไม่
-
ประหยัดเวลาของนายจ้าง (Time Efficiency) เรซูเม่ที่ดีและอ่านง่ายช่วยนายจ้างตัดสินใจได้เร็วขึ้น ข้อมูลที่จัดเรียงอย่างมีระบบ เช่น ประสบการณ์ ทักษะ และความสำเร็จ จะช่วยให้นายจ้างเข้าใจคุณได้ภายในเวลาอันสั้น
-
เพิ่มโอกาสได้งาน (Better Hiring Chances) เรซูเม่ที่มีข้อมูลที่ตรงกับประกาศงานและแสดงถึงความใส่ใจจะช่วยให้คุณโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น ช่วยให้คุณผ่านระบบคัดกรองอัตโนมัติได้ง่ายขึ้น
-
ช่วยให้คุณเข้าใจตัวเอง (Self-Reflection) ทำให้คุณทบทวนความสำเร็จ ทักษะ และเป้าหมายของตัวเอง ช่วยให้คุณพร้อมนำเสนอจุดเด่นเหล่านี้ในขั้นตอนสัมภาษณ์
เทคนิคเขียนเรซูเม่ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้หากคุณไม่อยากพลาดโอกาสต่าง ๆ ในการสัมภาษณ์งานโดยแบ่งเรซูเม่ออกเป็น 3 ส่วน
1. ข้อมูลส่วนตัว (Personal Information)
ใช้ข้อมูลที่กระชับ ชัดเจน และไม่ต้องลงลึกในเรื่องส่วนตัว เช่น สถานภาพสมรส หรือศาสนา (เว้นแต่จำเป็นต่อการสมัครงานในสายงานนั้น) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอีเมลและลิงก์ต่าง ๆ ใช้งานได้จริง
2. ประสบการณ์ (Work Experience)
ใช้ Bullet Points เพื่อให้อ่านง่าย เรียงลำดับประสบการณ์จากล่าสุดไปเก่า (Reverse Chronological Order) โฟกัสที่ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร ใช้คำกระตุ้นที่แสดงถึงความสำเร็จ เช่น พัฒนา บริหาร แก้ปัญหา
3. ทักษะความสามารถ (Skills) ใส่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานเท่านั้น ใช้ตัวชี้วัด เช่น ระบุระดับความสามารถในโปรแกรมว่า "Advanced" หรือ "Basic" ใช้คำศัพท์ที่ผู้ประกอบการคุ้นเคย เช่น ถ้าตำแหน่งต้องการความเชี่ยวชาญใน Excel ระบุว่า "Advanced Excel (PivotTable, Macros)"
เคล็ดลับเพิ่มเติม
-
ออกแบบให้น่าอ่าน ใช้ฟอนต์ที่ชัดเจน จัดวางรูปแบบให้เป็นระเบียบ เช่น ข้อมูลส่วนตัวไว้ด้านบนซ้ายสุด
-
ใช้คำเฉพาะ (Keywords) อ่านประกาศรับสมัครงานเพื่อดึงคำสำคัญมาใช้ เช่น "Team Leader," "Data Analysis"
-
ความยาว จำกัดความยาวให้ไม่เกิน 1-2 หน้า
-
ตรวจสอบความถูกต้อง เช็คคำผิดหรือข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
ที่มา JobBKK