ครม. อนุมัติมาตรการภาษี หนุน SMEs ไทยสู่ยุคดิจิทัล หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า สูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท!
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ SMEs
มาตรการนี้จะให้สิทธิประโยชน์แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็น SMEs โดยสามารถ หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (ไม่เกิน 300,000 บาท)
ค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำไปหักรายจ่ายได้ 2 เท่า?
ประกอบด้วยหมวดหมู่ Software, Software as a Service, Hardware, Hardware 5G,Cyber Security, Digital Content Service และ Cloud Service
- ค่าซื้อหรือค่าจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ค่าซื้อหรือค่าจ้างทำฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (ยกเว้นเครื่องคอมพิวเตอร์)
- ค่าบริการด้านดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขสำคัญคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์อัจฉริยะ หรือบริการด้านดิจิทัลที่นำมาหักค่าใช้จ่ายนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
หักรายจ่าย 200% ได้สูงสุดเป็นจำนวนเงินเท่าไร?
หักรายจ่ายได้ 2 เท่า ไม่เกิน 3 แสนบาท
กรณีที่ 1 Software หรือ Hardware ที่ขายขาด 100% แรก หักค่าใช้จ่ายซื้อตามจริง ในปีแรกและ อีก 100% หักค่าเสื่อมภายใน 3 ไม่เกิน 300,000 บาท รวมเป็น 200% เช่น
- รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อ 50,000 บาท จะหักค่าใช้จ่ายซื้อตามจริง 50,000 บาท ในปีแรก และได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 50,000 บาท โดยหักค่าเสื่อมได้ภายใน 3 ปี
- รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อ 300,000 บาท จะหักค่าใช้จ่ายซื้อตามจริง 300,000 บาท ในปีแรก และจะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 300,000 บาทโดยหักค่าเสื่อมได้ภายใน 3 ปี
- รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อ มากกว่า 300,000 บาท จะหักค่าใช้จ่ายซื้อตามจริง ในปีแรก และจะได้รับสิทธิพิเศษเศษเพิ่มอีก 300,000 บาทโดยหักค่าเสื่อมได้ภายใน 3 ปี
กรณีที่ 2 Software as a Service: SaaS หรือ Cloud Service ค่าใช้จ่ายตามจริงโดยได้สิทธิพิเศษเพิ่มอีก ไม่เกิน 300,000 บาท ในปีแรก รวมเป็น 200% เช่น
- รวมคำใช้จ่ายในการเช่าใช้บริการ 50,000 บาท จะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 50,000 บาท ในปีแรก
- รวมค่าใช้จ่ายในการเช่าใช้บริการ 300,000 บาท จะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 300,000 บาท ในปีแรก
- รวมคำใช้จ่ายในการเช่าใช้บริการ มากกว่า 300,000 บาท จะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 300,000 บาท ในปีแรก
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- ทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท
- มีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการ ในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
อ้างอิงข่าว กรมสรรพากร
ระยะเวลาของมาตรการฯ มีระยะเวลาโครงการเท่าใด และมีผลย้อนหลังหรือไม่?
- ระยะเวลาของมาตรการฯ ตั้งแต่วันที่ 24 มิฤนายน 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2570
- สามารถหักรายจ่าย ซึ่งจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2568 (ไม่มีผลย้อนหลัง)
รูปแบบของใบกำกับภาษีแบบใด ที่ท่านสามารถนำไปยื่นเพื่อขอขอใช้สิทธิ์กับกรมสรรพากรได้?
- ชื่อสินค้าหรือบริการที่ขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัลแล้ว
- ชื่อผู้ประกอบการในบัญชีบริการดิจิทัล
- ราคาสินค้าหรือบริการฯ คลิกดูรายละเอียด
Bplus เข้าร่วมโครงการ หนุน SMEs เต็มที่
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังมองหาโปรแกรมบริหารจัดการธุรกิจที่ครบวงจรและต้องการใช้สิทธิ์ จากมาตรการนี้ โปรแกรม Bplus ซึ่งเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์บริหารธุรกิจ ได้เข้าร่วมโครงการและได้รับการขึ้นทะเบียนจาก depa แล้ว ทำให้การลงทุนในโปรแกรม Bplus ของคุณมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทางภาษีนี้ทันที การตัดสินใจเลือกใช้ Bplus ไม่เพียงแต่จะช่วยยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ยังช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายด้านภาษีได้อย่างมหาศาล
ไม่พลาดโอกาสสำคัญนี้! ลงทะเบียนเลย คลิก
