ERP Software , โปรแกรม ERP มีอะไรบ้าง

erp software เครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate) รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time ERP package

โดยทั่วไปจะจัดเตรียม Software module สำหรับงานหลักของธุรกิจต่าง ๆ ไว้ดังนี้

1. การตลาดและการขาย : ใน functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions ของการตลาด, Invoice/Sales Control ,กระบวนการสั่งซื้อสินค้า Purchase Order, การประชาสัมพันธ์กับลูกค้า, การรองรับลูกค้า, การคาดคะเนการขายและการจัดโปรโมชั่น แคมเปญ รวมทั้งการเชื่อโยงกับระบบขายหน้าร้าน Point of sale(POS)

2. การผลิตและการจัดการเรื่องวัตถุดิบ : functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions การซื้อ, การรับ, การขนส่ง, ตารางการผลิต,การผลิต และ การบริหารสินค้าคงคลัง ทั้งผลผลิต และ วัตถุดิบ เช่น

  • ควบคุมสินค้าคงคลัง – Receipt/Shipment Control, Parts Supply Control, Raw Material, Stocktaking
  • การจัดซื้อ – Outsourcing/Purchasing, Procurement, การรับ-การคืนสินค้า/วัตถุดิบ เป็นต้น

3. การบัญชีและการเงิน : functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions

บัญชีการเงิน-General, Account Receivable, Account Payable, Credit/Debit, Fixed Asset, Financial, Consolidated Accounts, Payroll, Currency Control(multi-currency) , อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratios) และการจัดการกระแสเงินสด (Cashflow)

บัญชีบริหาร – Budget Control, Cost Control, Profit Control, Profitability Analysis, ABC Cost Control, Management Analysis และ การวางแผนและการทำงบประมาณ

4. ทรัพยากรบุคคล : functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions การจัดหาและการจ้างใหม่, การอบรม, เงินเดือนและสิทธิประโยชน์ ,Personnel Management, Time Attendance, Employment, Training & HRD, Welfare Management เป็นต้น

ชนิดของ ERP package

1. ERP ชนิดที่ใช้กับทุกธุรกิจหรือเฉพาะบางธุรกิจ

ERP package โดยทั่วไปส่วนมากถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับงานแทบทุกประเภทธุรกิจ แต่งานหลักของธุรกิจซึ่งได้แก่ การผลิต การขาย Logistics ฯลฯ มักจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ดังนั้นจึงมี ERP package ประเภทที่เจาะจงเฉพาะบางธุรกิจอยู่ในตลาดด้วย เช่น ERP package สำหรับอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมยา เป็นต้น

2. ERP สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่หรือสำหรับ SMEs

แต่เดิมนั้น ERP package ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่อย่างแพร่หลาย ต่อมาตลาดเริ่มอิ่มตัว ผู้ผลิตจึงได้เริ่มหันเป้ามาสู่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดย่อม ระบบและเนื้อหาของระบบงานหลักต่างๆจะไม่แตกต่างกันมาก เพียงแต่ในธุรกิจขนาดใหญ่จะมีปริมาณของเนื้องานมากขึ้น ปัจจุบันมี ERP package ที่ออกแบบโดยเน้นสำหรับการใช้งานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะ ออกมาจำหน่ายมากขึ้น

ประโยชน์ ERP เป็นระบบที่วางแผน และแบบบูรณการแบบทั้งระบบสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละฝ่ายให้รวดเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มยอดขายและผลกำไร และที่สำคัญที่สุดข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารหรือองค์กรตัดสินใจได้ดี และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยประโยชน์ของ ERP มีดังนี้

  • ช่วยแก้ปัญหาสินค้าคงคลัง เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุดคลาสสิค สินค้าคงคลังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือ มีสินค้า Overstock ซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนการจัดเก็บ และต้นทุนผลิตสินค้าเป็นอย่างมาก ERP จะช่วย กำหนดรหัสสินค้า สถานะของสินค้า รอบการผลิตต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และเมื่อมีการจำหน่ายออก หรือตัดยอดสินค้าคงคลัง แผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะสามารถรับทราบการเปลี่ยนแปลงทันที โอกาสผิดพลาด เช่น ตัด Stock ผิด การขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ก็จะน้อยลง ซึ่งทำให้ต้นทุนที่อาจจะเกิดขึ้นกับ ต้นทุนสินค้าคงคลังก็จะลดลงด้วย
  • วางแผนและควบคุมการผลิต สามารถสร้างมาตรฐานขึ้น และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนและควบคุมการผลิต ทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการ และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้กิจกรรมต่างๆ ของบริษัทเร็วขึ้น การทำธุรกรรมและกระบวนการทำงานขององค์กรเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เน้นความถูกต้อง และรวดเร็ว
  • ลดความซ้ำซ้อน ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูล เนื่องจากนำข้อมูลเข้าระบบเพียงครั้งเดียว ทำให้ข้อมูลมีความเป็นมาตรฐาน และถูกต้องตรงกันทั่วทั้งองค์กร
  • เชื่อมโยงข้อมูลในองค์กรอย่างรวดเร็ว บริษัทที่มีหลายหน่วยธุรกิจ ซึ่งระบบ ERP จะสามารถลดปัญหาการสื่อสาร การเชื่อมโยงข้อมูล การวางแผนร่วมกันระหว่างแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกขาย ฝ่ายผลิต คลังสินค้า และแผนกจัดซื้อ ทำให้การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management) มีความสอดคล้องประสานกัน ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งองค์กร สามารถลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนดเวลาและสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  • ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง & ตัดสินใจได้แม่นยำ ซอฟต์แวร์ ERP ช่วยให้ผู้บริหารรับข้อมูลที่สมบูรณ์แบบในทุกด้านของการดำเนินธุรกิจ เช่นประสิทธิภาพการขายลูกค้ากำไรและขาดทุนหุ้นการเงินการเงินแรงงานและอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อมูลทั้งหมดที่สร้างขึ้นนั้นมีประโยชน์อย่างแน่นอนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประมาณการที่แม่นยำและการคาดการณ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดและรวดเร็วขึ้น

อ้างอิง

awirut554.blogspot.com

sgeprint.com

www.logisticafe.com