วิธีคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ประเภทต่างๆ แบบเข้าใจง่าย

มาตรา 3

ในการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินหากใช้วิธีการ และอัตราการหักแบบใดแล้วจะต้องใช้วีธีการ และอัตราการหักแบบนั้นตลอดไป

เว้นแต่ จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงได้ และให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบบัญชีที่ได้รับอนุมัตินั้น

มาตรา 4

การหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้

รายการ อัตรา

1.อาคาร

- อาคารถาวร เช่น ตึกแถว โรงเก็บเครื่องบิน อาคารต่างๆที่มีอายุการใช้งานเกิน 15 ปีขึ้นไป

- อาคารชั่วคราว เช่น อาคารที่มีกำหนดการรื้อถอน อาคารสนาม หรืออาคารที่มีอายุการใช้งาน 1-5 ปี

 

ร้อยละ 5

ร้อยละ 100

2.ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรรรรมชาติที่ สูญสิ้นไปได้ ร้อยละ 5

3.ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า

- กรณีไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาระบุให้ต่ออายุการเช่าได้ต่อไปเรื่อยๆ

- กรณีมีสัญญาเช่าระบุไม่ให้ต่ออายุการเช่า หรือระบุให้ต่อสัญญาการเช่าได้ภายในเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน

 

ร้อยละ 10

ร้อยละ 100

(หารด้วยจำนวนปีอายุการเช่าและอายุที่ต่อได้รวมกัน)

4.ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

- กรณีไม่จำกัดอายุ

- กรณีจำกัดอายุ

 

ร้อยละ 10

ร้อยละ 100

(หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้งาน)

5. ทรัพย์สินอย่างอื่น นอกจากที่ดินและสินค้า

ร้อยละ 20

กรณีใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งอัตราไม่เท่ากันในแต่ละปีหรือเกินกว่าในตาราง จำนวนปีจะต้องไม่น้อยกว่า100 หารด้วยอัตราที่กำหนดข้างต้น

ตัวอย่าง

บริษัทแห่งหนึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีปกติตามปีปฏิทิน ได้ซื้อเครื่องจักรมูลค่า 900,000 บาท เมื่อวันที่ 1 รันวาคม 2565 คำนวณค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร ดังนี้

ค่าเสื่อมราคาในปี 2565

                900,000 x 20/100 x 31/365 = 15,287.67 บาท

บูลค่าของสินทรัพย์ = 900,000 บาท

อัตราร้อยละที่ใช้คำนวณ = 20/100

(เป็นสินทรัพย์อื่นนอกจากที่ดินและสินค้า)

จำนวนวันที่ได้สินทรัพย์ในปี 2565 = 31 วัน

มาตรา 4 ตรี

การหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภท เครื่องบันทึกการเก็บเงินให้หักได้ดังต่อไปนี้

1.หักอัตราร้อยละ 100

2.หักค่าเสื่อมในวันที่ได้รับสินทรัพย์นั้นในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุนส่วนต้นทุนที่เหลือให้หักตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 โดยจะต้องมีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกหรือกิจการอย่างอื่นที่อริบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  • ลักษณะเครื่องเก็บเงินเป็นไปตามที่กำหนด (ไม่รวมถึงส่วนระบบควบคุมกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์)
  • ต้องแจ้งการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน

มาตรา 4 จัตวา

การหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภท คอมพิวเตอร์ที่บริษัทฯซื้อ ได้รับโอน หรือได้สิทธิการใช้ เพื่อมีไว้ประกอบกิจการของตนให้หักได้ดังต่อไปนี้

1.ภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา

2.กรณีบริษัทฯมีสินทรัพย์ดาวร(ไม่รวมที่ดิน)ไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน ให้หักค่าเสื่อมในวันที่ได้รับสินทรัพย์นั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของต้นทุน ส่วนที่เหลือให้หักตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 4

คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาทั้งที่ง่ายและชับซ้อน รวมถึงอุปกรณ์ ส่วนประกอบและโปรแกรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ด้วย

 

ที่มา Facebook GungGinkk School กุ๋งกิ๋ง สคูล

AssetManagement, assettrackingsoftware, Fixedassetmanagementsoftware, Fixedassetmanagementsystem, Fixedassetprogram,Fixedassetsoftware, FixedAssetTracking,  TrackingFixedAssets, การตรวจนับทรัพย์สิน, ซอฟต์แวร์จัดการทรัพย์สิน, ตรวจนับทรัพย์สิน, โปรแกรมจัดการทรัพย์สิน,  โปรแกรมตรวจนับทรัพย์สิน, โปรแกรมติดตามทรัพย์สิน, โปรแกรมทรัพย์สิน,โปรแกรมบริหารจัดการทรัพย์สิน, ระบบตรวจนับทรัพย์สิน,  แอปตรวจนับทรัพย์สิน,

Bplus Fixed asset  Control โปรแกรมที่ช่วยในการบริหารทรัพย์สินของกิจการ ช่วยจัดการครบตั้งแต่สั่งซื้อ ซื้อ ซ่อมแซม คำนวณค่าเสื่อมราคา ลงบัญชีอัตโนมัติ คำนวณ กำไร ขาดทุน จากการขายทรัพย์สิน หรือจากการเลิกใช้  ครบจบงานบัญชีภาษี Audit เชื่อถือ มั่นใจ ข้อมูลครบอ้างอิงได้ มีรายงานตรวจสอบเพื่องานบัญชี เชื่อมโยง Bplus ERP พร้อมอำนวยความสะดวกการตรวจนับ ยืนยันสภาพทรัพย์สินได้ด้วย Application Bplus Fixed Asset Tracking โปรแกรมตรวจนับทรัพย์สิน เปลี่ยนวิธีการตรวจนับทรัพย์สินแบบเดิมๆ