• ฝ่ายขาย 02-880-9700, 02-409-5409, 02-880-8800
  • ฝ่ายบริการ 02-880-8800
businessplus
businessplus
  • รายการจำนวนจำนวนเงิน
    ไม่มีรายการ
    สั่งซื้อสินค้า
    • รายการจำนวนจำนวนเงิน
      ไม่มีรายการ
      สั่งซื้อสินค้า
    1. Knowledge
    2. บทความการบริหารเงินสดย่อย เงินทดรองจ่ายสำหรับกิจการ

    บทความการบริหารเงินสดย่อย เงินทดรองจ่ายสำหรับกิจการ

    เงินทดรองจ่ายคืออะไร

    เงินทดรองจ่าย คือ เงินที่กิจการมีสำรองไว้ให้กับพนักงาน เพื่อให้มีเงินสำรองสำหรับการใช้จ่าย สำหรับการใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเดินทาง ค่าบริการอื่นๆ หรือ ใช้ซื้อสินค้าตามความจำเป็นให้ทันเหตุการณ์ เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบ ซึ่งต่างจากเงินสดย่อยที่ใช้ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กๆ น้อยๆ ภายในกิจการ

     

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อกำหนดขั้นตอนในการเบิกเงินทดรองจ่ายและเคลียร์เงินทดรองจ่ายภายในกิจการ
    2. มีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจะต้องจ่ายกรณีเร่งด่วน
    3. สามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นซึ่งมีเอกสารประกอบ และเงินทดรองจ่ายคงเหลือของพนักงานผู้รับผิดชอบ
    4. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินทดรองจ่ายครบถ้วน และถูกต้อง

    เงินทดรองจ่าย

    ก่อนจะทำการบันทึกข้อมูลตามกระบวนการทำงานของการเบิก/คืนเงินทดรองจ่าย มีสิ่งที่ต้องตั้งค่าก่อนการใช้งานดังนี้

     

    1.ตั้งค่าผังบัญชี เพิ่มเติมรหัสบัญชีเงินทดรองจ่ายพนักงาน

    วิธีการบันทึกข้อมูล 

            การตั้งค่า  > ฝ่ายบัญชี  >   ผังบัญชี   >    คลิกขวาเลือกแก้ไข หลังจากนั้นแก้ไขคุณสมบัติบัญชีของสมุดเงินทดรองจ่ายเป็นเงิน   

    1.ตั้งค่าสมุดเงินสด ตั้งค่าสมุดเงินสดแยกตามพนักงานผู้ขอเบิกเงินทดรองจ่าย เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบยอดตั้งเบิก และยอดเงินคงเหลือของผู้ถือเงิน ให้สามารถตรวจสอบได้ซึ่งทำให้สามารถทำการเบิกชดเชยส่วนต่างการใช้จ่ายกับยอดเงินเบิกทดรองจ่ายในภายหลังได้

    วิธีการบันทึกข้อมูล 

            การตั้งค่า  >  ฝ่ายการเงิน  >  เพิ่มสมุดเงินสด   

    เมื่อปรากฎหน้าจอให้ระบุรายการดังนี้

    ขั้นตอนการเบิก/เคลียร์เงินทดรองจ่าย

     

    1.เบิกเงินทดรองจ่ายให้กับพนักงาน บันทึกที่ GV.ใบสำคัญทั่วไป

    วิธีการบันทึกข้อมูล 

            งานประจำวัน > การเงิน > งานใบสำคัญรับจ่าย > เลือก GV.ใบสำคัญทั่วไป > คลิกขวา

    การลงบัญชี 

    Dr. เงินทดรองจ่าย-พนักงาน (มาจากการผูกบัญชีเงินทดรองจ่ายของสมุดเงินสด)

                Cr. เงินสดในมือ

    • หน้าจอลงบัญชีจะแสดงการลงบัญชีที่ได้จ่ายเงินทดรองจ่ายให้กับพนักงานนั้นๆ ซึ่งจะเชื่อมโยงมาจากแถบรายละเอียดการชำระ โดยเมื่อระบุยอดเงินสดด้านรับเข้า และ ตัดจ่ายแล้ว ให้คลิกขวาแล้วเลือกลงบัญชีตามรายละเอียด

    • หน้าจอรายละเอียดการชำระ ให้บันทึกรายละเอียดรับชำระ โดยเลือกสมุดเงินทดรองจ่ายของพนักงาน และ ระบุจำนวนเงินลงไป ส่วนรายละเอียดการจ่ายชำระให้เลือกประเภทการจ่ายชำระที่บริษัทได้จ่ายให้กับพนักงาน ซึ่งจากตัวอย่างเป็นการจ่ายโดยถอนเงินจากบัญชีให้กับพนักงาน จำนวน 10,000 บาท

    2.ขณะเคลียร์เงินทดรองจ่าย เมื่อพนักงานดำเนินการใช้จ่ายเรียบร้อยแล้ว นำเอกสารประกอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ใบกำกับภาษีซื้อ มาเคลียร์กับทางบริษัท สามารถบันทึกเคลียร์เงินทดรองจ่ายได้ 2 วิธี ดังนี้

    2.1 เคลียร์เงินทดรองจ่าย บันทึก GV. ใบสำคัญทั่วไป

    วิธีการบันทึกข้อมูล 

            งานประจำวัน  >   การเงิน   >  งานใบสำคัญรับจ่าย  >   ใบสำคัญทั่วไป   >  เลือก GV.ใบสำคัญทั่วไป  >   คลิกขวา เลือกเพิ่ม GV.ใบสำคัญทั่วไป

    การลงบัญชี 

    Dr. ค่าใช้จ่าย

                Cr. เงินทดรองจ่าย-พนักงาน

    • หน้าจอลงบัญชีจะแสดงการลงบัญชีที่ได้จ่ายโดยค้นหารหัสบัญชีค่าใช้จ่าย แถบรายละเอียดการชำระ โดยเมื่อระบุรายละเอียดการจ่ายชำระจากสมุดเงินทดรองจ่ายของพนักงาน ที่แถบลงบัญชีให้คลิกขวาแล้วเลือกลงบัญชีตามรายละเอียด

    • รายละเอียดการจ่ายชําระนั้นให้เลือกประเภทการจ่ายชําระเป็นสมุดเงินทดรองจ่ายและให้ระบุจํานวนเงินตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริง

    2.2 เคลียร์เงินทดรองจ่าย บันทึก PV.ใบสำคัญจ่าย

    วิธีการบันทึกข้อมูล 

              งานประจำวัน  >  การเงิน   >  งานใบสำคัญรับจ่าย  >   ใบสำคัญจ่าย   >   เลือก PV.ใบสำคัญจ่าย    >   คลิกขวา เลือกเพิ่ม PV.ใบสำคัญจ่าย

    การลงบัญชี 

    Dr. ค่าใช้จ่าย

                Cr. เงินทดรองจ่าย-พนักงาน

    • จากนั้นระบุรหัสค่าใช้จ่ายย่อย ซึ่งหากไม่ทราบรหัสค่าใช้จ่าย สามารถคลิกขวา ค้นหารหัสค่าใช้จ่าย (ตามตัวอย่างรหัส A42 : ค่าบำรุงรักษายานพาหนะ)

    • รายละเอียดการจ่ายชําระนั้นให้เลือกประเภทการจ่ายชําระเป็นสมุดเงินทดรองจ่ายและให้ระบุจํานวนเงินตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริง

    **ในกรณีที่ใช้เงินทดรองจ่ายไม่หมดให้ทำการคืนเงินทดรองจ่ายให้กับบริษัท บันทึกคืนได้จาก GV.ใบสำคัญทั่วไป

    การลงบัญชี 

    Dr. เงินสดในมือ

                Cr. เงินทดรองจ่าย-พนักงาน

    • แถบรายละเอียดชำระนั้นขึ้นอยู่กับว่าพนักงานจะจ่ายเงินคืนให้แก่บริษัทในรูปแบบใด แต่สำหรับเงินทดรองจ่ายพนักงานนั้นจะเลือกรายละเอียดการจ่ายชำระด้วยสมุดเงินสด-พนักงาน

    • แถบลงบัญชีให้คลิกขวาเลือกลงบัญชีตามรายละเอียด จะแสดงการลงบัญชีให้อัตโนมัติตามแถบรายละเอียดชำระ

    **ในกรณีที่เงินทดรองจ่ายเบิกไปใช้จ่ายไม่เพียงพอ การเบิกเงินทดรองจ่ายเพิ่มเติมให้กับพนักงานสามารถทำตามขั้นตอน 1. เบิกเงินทดรองจ่ายให้กับพนักงาน บันทึกที่ GV.ใบสำคัญทั่วไป

    วิธีตรวจสอบเงินทดรองจ่ายที่ยังไม่เคลียร์กับบริษัท

     

    รายงานเคลื่อนไหวสมุดเงินสด 

            งานประจำวัน   >   การเงิน  >   รายงาน   >  8.สมุดเงินสด   >   รายงานเคลื่อนไหวสมุดเงินสด

    **เงื่อนไขในการแสดงรายงาน**

    • ช่วงวันที่
    • สมุดเงินสด

    15 December 2023  View 2,985

    บทความที่น่าสนใจ

    สินค้าอื่นๆ

    สมัครสมาชิก

    ลงชื่อเข้าใช้งาน

    เข้าสู่ระบบ

    สร้างบัญชีใหม่ | ลืมรหัสผ่าน ?

    นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ยอมรับนโยบาย

    "Behind the success of customer business"

    บริษัท อี-บิซิเนส พลัส จำกัด และ บริษัท บิซิเนส แอนด์ เทคโนโลยี่ จำกัด มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ บริการ บุคลากร อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า

    11-14 ซอยบรมราชชนนี 39 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

    ADDRESS


    CONTACT US


    • ฝ่ายขาย HRM: 092-345-3681
    • ฝ่ายขาย ERP POS: 085-234-5980
    • Call Center ฝ่ายขาย: 02-880-9700, 02-409-5409, 02-880-8800
    • Call Center: 02-880-8800
    • Mobile Call Center: 080-915-5660, 065-629-0509, 094-997-3559
    • ฝ่ายบริการ: 02-880-8800 ฝ่ายบริการ HRM กด 2 , ฝ่ายบริการ ERP กด 3

    SOCIAL MEDIA


    • Bplus HRM โปรแกรมเงินเดือนสำเร็จรูป
    • Business Plus ERP MRP
    • โปรแกรมขายหน้าร้าน Bplus POS
    • Business Plus Food & Beverage
    • @salebplus
    • @businessplushrm
    • allsales@bplus.co.th

    Copyright © 2021. All rights reserved • คุ้กกี้ • นโยบายส่วนบุคคล • ยกเลิกรับข่าวสาร
    คุณชอบคุกกี้ไหม? 🍪 เราใช้คุกกี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ / เรียนรู้เพิ่มเติม