การจัดทำงบกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชี มาเป็นงบกำไร (ขาดทุน) ทางภาษี

เพื่อประกอบการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50




 

คำถามที่มักถูกถามเป็นประจำๆ เกี่ยวกับงบกำไร (ขาดทุน)

 

      งบกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี และ งบกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษี  มีความแตกต่างกันอย่างไร ส่งผลต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ประจำปีของกิจการหรือไม่ หลายท่านยังมีข้อสงสัย และไม่เข้าใจในสิ่งที่นักบัญชีทำการสรุปออกมาให้ในการยื่นแบบ   ผู้บริหารบางรายไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ว่ามีรายการอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของงบกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชี กับงบกำไร (ขาดทุน) ทางภาษี โดยมากเรามักคุ้นชินกับงบกำไร (ขาดทุน) ที่แสดงรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย  เท่ากับ  กำไร (ขาดทุน) แต่มีรายได้ และค่าใช้จ่ายบางประเภทที่สรรพากรไม่ยอมรับ หรือได้รับการยกเว้นอีกหลายรายการ  มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

 
1.

รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้

รายได้บางรายการ หลักการบัญชีไม่ถือเป็นรายได้ แต่หลักภาษีอากรถือเป็นรายได้ มีผลทำให้กำไรทางภาษีจะสูงกว่ากำไรทางบัญชี เช่น  เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น

 

 
2.

รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น
 

รายได้บางรายการ หลักการบัญชีถือเป็นรายได้ แต่หลักภาษีอากรจะไม่ถือเป็นรายได้ มีผลทำให้กำไรทางภาษีจะต่ำกว่ากำไรทางบัญชี เช่น ค่าแห่งกู๊ดวิลล์   เงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เป็นต้น

 

 
3.

รายจ่ายต้องห้าม

รายจ่ายบางรายการ หลักการบัญชีถือเป็นรายจ่าย แต่หลักภาษีอากรไม่ถือเป็นรายจ่าย มีผลกำไรทางบัญชีจะต่ำกว่ากำไรทางภาษี เช่น ค่าเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร   ค่าปรับทางอาญา เป็นต้น ตาม ม.65 ตรี (6) รายจ่ายต้องห้าม

 

 
4.

รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น

รายจ่ายบางรายการ หลักภาษีอากรกำหนดให้หักเป็นรายจ่ายได้มากกว่าหลักการบัญชี มีผลทำให้กำไรทางภาษีต่ำกว่ากำไรทางบัญชี เช่น  เงินบริจาคให้แก่สถานศึกษา เงินส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และนันทนาการ เป็นต้น

 

 

              ซึ่งรายการดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์กรมสรรพากร “วิธีกรอกใบแนบรายได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิ์หักได้เพิ่มขึ้น”  ตามลิงค์ http://www.rd.go.th/publish/61491.0.html 

              เมื่อท่านทราบรายการแล้วว่า รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถบันทึกรายการทางภาษีหรือสามารถบันทึกรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ในส่วนของโปรแกรมบัญชีบริหาร สำเร็จรูป Business Plus ERP รองรับการทำงบกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชี เป็น งบกำไร (ขาดทุน) ทางภาษีได้ เพื่อให้การจัดทำ ภ.ง.ด.50 ของท่านไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป ทั้งนี้เรายังมีตัวอย่างรายการเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังต่อไปนี้

 

ตัวอย่างงบกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชี  บริษัท โปรแกรมตัวอย่าง อี-บิซิเนสพลัส จำกัด ปี 2561



              จากตัวอย่างงบกำไร (ขาดทุน) มีรายการที่ต้องปรับปรุงรายการตามหลักของสรรพากรที่กำหนดไว้ทั้งส่วนที่เป็นรายได้ และค่าใช้จ่ายเพื่อให้เป็นงบกำไร (ขาดทุน) ทางภาษี ได้ง่ายๆ เพียงแค่ท่านทำรายการปรับปรุงรายการตามที่สรรพากรกำหนด เพียงเท่านี้ท่านจะได้งบกำไร (ขาดทุน) ทางภาษี ได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างรายการปรับปรุง
บวกกลับ รายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่าย (ตาม ม.65 ทวิ, 65ตรี) 







หัก รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร







หัก รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น






          เมื่อตรวจสอบรายการปรับปรุงรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ และรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มครบถ้วนทุกรายการแล้ว ตามตัวอย่าง ท่านก็จะได้รูปแบบ งบกำไร (ขาดทุน) ทางภาษี เพื่อใช้ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ได้ตามตัวอย่าง





           จากรายละเอียดข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่า ในการปิดงบแต่ละครั้งท่านสามารถได้ทั้งงบกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชีและงบกำไร (ขาดทุน) ทางภาษี ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่าย ลงทุนครั้งเดียว ครอบคลุมได้ทั้งหมด


สำหรับท่านที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายบริการหลังการขายด้านผู้ชำนาญการโปรแกรมระบบบัญชี
โทร. : ฝ่ายบริการ 0-2880-8800, 0-2409-5409 ฝ่ายขาย 0-2880-9700
E-mail : support_account@businessplus.co.th
Web board : http://www.businessplus.co.th/forum/index.php
Line ID :
@bplusaccount

ขอแนะนำช่องทางการอบรมผ่าน Youtube สำหรับท่านที่ไม่สะดวกเข้าอบรมที่ศูนย์บริการ Business Plus ในทุก ๆ หลักสูตร ท่านสามารถสมัครการอบรมได้ที่ www.businessplus.co.th
ส่วนงานบริการ หรือท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือดาวน์โหลดอับเกรดโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันได้ที่ www.businessplus.co.th หรือ
ติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายบริการหลังการขาย 0-2880-8800, 0-2409-5409 ฝ่ายขาย 0-2880-9700
 

© Copyrights บริษัท อี-บิซิเนส พลัส จำกัด All Rights Reserved

12-14 ซอยบรมราชชนนี 39 ถ.บรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ฝ่ายขาย 02 880 9700 , 02 409 5409 ฝ่ายบริการและอื่น ๆ 02 880 8800
Mobile Call Center 080-915-5660 , 065-629-0509 , 094-997-3559