ผู้มีหน้าที่จัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย
1. เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล(รวมถึงวิสาทกิจชุมชน ตามพระราชปัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548)
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
2. มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร
2.1 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)
- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
2.2 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6)
- การประกอบโรคศิลปะ
- กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การปัญชี ประณีตศิลปกรรม
- วิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
2.3 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7)
- เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดทาสัมภาร:ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
2.4 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)
- เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การขนส่งการอุตสาหกรรม หรือเงินได้อื่น ๆ ที่มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) - (7) แห่งประมวลรัษฎากร
รูปแบบรายงาน
คำอธิบาย รายงานเงินสดรับ-จ่าย
- ช่อง "วัน/ดือน/ปี" ใช้บันทึกวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ที่มีรายการรับเงินและจ่ายเงิน
- ช่อง "รายการ" ใช้บันทึกรายละเอียดของรายการรับเงิน และจ่ายเงินเช่น ขายสินค้า ค่าซื้อสินค้า ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ เงินเดือน เป็นต้น
- ช่อง "รายรับ" ใช้บันทึก "จำนวนเงิน" ที่ได้รับเข้ามาตามรายละเอียดในช่องรายการ
- ช่อง "รายจ่าย" เป็นการซื้อสินค้า ใช้ปันทึก "จำนวนเงิน" ที่จ่ายในการซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
- ช่อง "รายจ่าย" เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ใช้บันทึก "จำนวนเงิน"เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
- กรณีขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายค่าสินค้านั้น โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
หมายเหตุ รายงานเงินสดรับ-จ่ายนี้ หมายถึง บัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
*ต้องลงรายการในรายงานเงินสดรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย
วิธีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย
1.มีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
2.จัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย เป็นภาษาไทย หากทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาโทยกำกับ
3.ลงรายการในรายงานเงินสดรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย
4.รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย
- มีเอกสารประกอบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ฯลฯ
- เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ
- ลงรายการรายรับ-รายจ่ายให้ลงเป็นยอดรวมของแต่ละวันทำการหรือลงรายละเอียดรายการรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยมีเอกสารประกอบ
- ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้น นำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ได้ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ขายสินค้า/ให้บริการ ซื้อสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่น ๆเป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายชำระค่าสินค้า/บริการนั้นโดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
5.สรุปยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประโยชน์ของการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย
- เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายได้ รายจ่ายผลกำไรหรือขาดทุนจากการประกอบกิจการ
- ใช้วางแผนและควบคุมการบริหารงานภายในของกิจการ
- ใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณายื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
- ใช้เป็นหลักฐานในการแสดงรายได้และรายจ่าย เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรรมดา
โทษของการไม่จัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย
- ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร
ที่มา กรมสรรพากร